เปิดถังพิสูจน์ ซากเสือโคร่งวัดหลวงตาบัวอยู่ครบทุกตัว ชำแหละแช่ฟอร์มาลีนแล้วฝังดิน

เปิดถังพิสูจน์ ซากเสือโคร่งวัดหลวงตาบัวอยู่ครบทุกตัว ชำแหละแช่ฟอร์มาลีนแล้วฝังดิน

เปิดถังพิสูจน์ ซากเสือโคร่งวัดหลวงตาบัวอยู่ครบทุกตัว ชำแหละแช่ฟอร์มาลีนแล้วฝังดิน
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า บ่ายวันนี้ (16 ก.ย.62) เวลา 13.00 น. นายชยาวุธ จันทร ผู้ว่าราชการจังหวัดราชบุรี ได้นำหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ ฝ่ายปกครอง นายอำเภอจอมบึง, ปศุสัตว์จังหวัดราชบุรี, เจ้าหน้าที่ตำรวจภูธรจอมบึง ทีมสัตว์แพทย์อำเภอจอมบึง เข้าตรวจสอบเสือโคร่งของกลางจากวัดป่าหลวงตาบัว ที่ป่วยและทยอยล้มตาย จำนวน 86 ตัว ท่ามกลางความแคลงใจของสังคม และจากประเด็นที่ทางหลวงตาจันทร์ เจ้าอาวาสวัดวัดป่าหลวงตาบัว ญาณสัมปันโน หรือวัดเสือ มีการถามถึงเสือที่ล้มตายไปว่าถูกชำแหละ มีการถอดเขี้ยวเสือไปเป็นอื่น

>> เปิดใจหลวงตาจันทร์ สมเพชเสือโคร่งของกลางตาย 80 กว่าตัว ถามเขี้ยวเสือยังอยู่ไหม?

โดยนายชยาวุธ ได้นำทีมสื่อมวลชนเข้าตรวจสอบและตั้งโต๊ะสอบถามจาก นายบรรพต มาลีหวล หัวหน้าสถานเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าเขาประทับช้าง ตำบลปากช่อง อำเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรี ได้รับเสือโคร่งมาดูแลตั้งแต่เดือน มิถุนายน 2559 จำนวน 85 ตัว และเริ่มล้มตายตั้งแต่ปี 2559 ตัวแรก และเริ่มทอยล้มตายตามมาอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน ตายไปแล้ว 54 ตัว โดยที่ยืนยันว่าเสือทุกตัวที่ล้มตายนั้นเกิดจากสาเหตุด้วยโรคเดียวกัน ซึ่งไม่เกิดหลังจากที่มาอยู่ภายในสถานเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าเขาประทับช้าง ซึ่งตรงนี้เรารอผลการตรวจพิสูจน์ที่แน่ชัดอีกครั้ง จากผลสรุปละเอียดจากทีมนักวิชาการของ ม.มหิดลก่อน

โดยซากเสือทั้งหมดทางเจ้าหน้าที่ได้ทำการแยกชิ้นส่วนใส่บรรจุไว้ในถังและแช่น้ำยาฟอร์มาลีน และ ยาฆ่าเชื้อ จากนั้นนำลงไปฝังไว้ในดินมีความลึก 3 เมตร ซึ่งตรงนี้ทางสถานเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าเขาประทับช้าง ไม่อนุญาตให้บุคคลที่ไม่เกี่ยวข้องเข้าไปในด้านในที่เลี้ยงเสือโคร่งของกลางดังกล่าว รวมไปถึงการเข้าบันทึกภาพของสื่อมวลชนด้วย ทั้งนี้เพื่อป้องกันการเกิดโรคติดต่อที่จะเป็นพาหะจากคนสู่สัตว์ได้

จากนั้นผู้ว่าราชการจังหวัดราชบุรีได้นำทีมสื่อมวลชนและหัวหน้าส่วนที่เกี่ยวข้องเดินทางเข้าตรวจเยี่ยมเสือโคร่งของกลาง ภายในสถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าเขาสน จ.ราชบุรี ซึ่งทราบว่าปัจจุบันได้ล้มตายแล้วจำนวน 32 ตัว โดยสาเหตุเกิดจากกลุ่มโรคเดียวกัน เกิดจากภาวะติดเชื้อจากอาการโรคหัดสุนัขในกลุ่มเสือ และจะเกิดอาการอัมพาตลิ้นกล่องเสียง ทำให้เสือนั้นชักและมีเลือดออก ก่อนจะล้มตาย ซึ่งเจ้าหน้าที่ได้ทำการจัดการดูแลสุขภาพเสือโคร่งอย่างต่อเนื่อง แต่ก็พบว่าเสือโคร่งสายพันธุ์ไซบีเรียส่วนใหญ่ทยอยล้มตาย เพราะเสือเหล่านี้เกิดจากการเพาะพันธุ์สายเลือดเดียวกันและภูมิคุ้มกันโรคน้อย โดยโรคดังกล่าวเป็นโรคที่มักพบได้กลุ่มเสือและแมว

>> "หมอล็อต" ตอบข้อสงสัย เสือวัดหลวงตาบัวตาย 86 ตัว ป่วยเพราะผสมพันธุ์เลือดชิด

ในการนี้นายวินันท์ วิระนะ หัวหน้าสถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าเขาสน ต.รางบัว อ.จอมบึง จ.ราชบุรี ได้ให้เหตุผลว่าปัจจัยที่ทำให้เสือโคร่งเหล่านี้พากันล้มตาย เนื่องจากเกิดภาวะเครียดในกลุ่มเสือโคร่ง เนื่องจากเสือเหล่านี้ถูกเพาะพันธุ์คล้ายกับสัตว์เลี้ยง กลายเป็นสัตว์ป่าที่ไม่มีสัญชาตญาณของความเป็นสัตว์ป่า ต้องดูแลและให้ความใกล้ชิดประหนึ่งสัตว์เลี้ยง เมื่อพวกมันกลายของกลาง ก็เลี้ยงดูอาจจะไม่เหมือนเดิม ทำให้เสือโคร่งเกิดภาวะเครียดและล้มตายได้ โดยเจ้าหน้าที่พบมีการตรวจพบอาการของโรคอัมพาตลิ้นกล่องเสียงในเสือโคร่งมาตั้งแต่แรก ซึ่งแม้จะมีการจัดการสุขภาพและดูแลสุขอนามัยเสือ แต่พบว่ากลุ่มเสือโคร่งที่ตายส่วนใหญ่เป็นสายพันธุ์ไซบีเรีย ที่เกิดจากการเพาะพันธุ์ในครอบครัวเดียวกันจนเลือดชิดที่ไม่มีภูมิคุ้มกันตัวเองที่ดีพอ



นายชยาวุธ จันทร ผู้ว่าราชการจังหวัดราชบุรี กล่าวว่า จากการที่สถานเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าเขาประทับช้าง ตำบลปากช่อง อำเภอจอมบึง และ สถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าเขาสน ตำบลรางบัว อำเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรี ได้รับสำหรับเสือโคร่งของกลางจากวัดป่าหลวงตาบัวญาณสัมปันโน ถูกตรวจสอบ และยึดเป็นของกลาง ตั้งแต่ 12 มิถุนายน 2544 เนื่องจากวัดครอบครองเสือโคร่ง สัตว์ป่าคุ้มครองภายใต้พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2535 โดยไม่ได้รับอนุญาต กรมป่าไม้ และภายหลังมีการร้องเรียนจากนานาชาติ เรื่องการทรมานเสือด้วยการล่ามโซ่ การเลี้ยงดูเสือที่ไม่ดี และความปลอดภัยของเสือ จนรัฐบาลไทยถูกไซเตสตั้งคำถาม

ต่อมาในเดือน มิถุนายน 2559 กรมอุทยานฯจึงได้ย้ายเสือโคร่งมาดูแลที่สถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าเขาประทับช้าง 85 ตัว และเสือโคร่งอีก 62 ตัวส่งไปดูแลที่สถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าเขาสน จ.ราชบุรี รวมเป็น 147 ตัว โดยเสือที่นำมาไม่ได้เป็นถิ่นกำเนิดในภูมิภาคนี้ ไม่สอดคล้องต่อสุขภาพของเสือ และในชั้นการเคลื่อนย้ายมีปัญหา เนื่องจากต้องเคลื่อนย้ายมาไกลและจำนวนมาก ประกอบกับข้อสันนิษฐานว่ามีการผสมพันธุ์กันเองทำให้เกิดความอ่อนแอได้ และเกิดอาการป่วยด้วยโรคอัมพาตลิ้นกล่องเสียงในเสือโคร่ง ซึ่งก็ไม่รู้ว่าติดมาจากตรงไหน เริ่มมีการอ่อน มีความเครียดและทยอยตายมาอย่างต่อเนื่อง ส่วนซากเราได้มีการเก็บไว้เป็นอย่างดีเพราะเป็นของกลางไม่สามารถทำไรได้มาก ของกลางทุกชั้นยังอยู่ครบสามารถตรวจสอบได้

 


 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook