อุทยานฯ พาสื่อไทย-เทศ เทถังดองเสือวัดป่าหลวงตาบัว ยืนยันซากอยู่ครบ

อุทยานฯ พาสื่อไทย-เทศ เทถังดองเสือวัดป่าหลวงตาบัว ยืนยันซากอยู่ครบ

อุทยานฯ พาสื่อไทย-เทศ เทถังดองเสือวัดป่าหลวงตาบัว ยืนยันซากอยู่ครบ
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

กรมอุทยานฯ พาสื่อไทย-ต่างประเทศ เปิดถังดองเสือโคร่ง หลังเกิดความแคลงใจปมเสือตาย 86 ตัว หวั่นถูกนำไปชำแหละขายราคาสูง ยืนยันหัวและเขี้ยวและหนังเสือยังอยู่ครบ

(20 ก.ย.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายสมโภชน์ มณีรัตน์ โฆษกกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป้าและพันธุ์พืช ได้นำสื่อมวลชนจากสำนักข่าวต่างๆ ทั้งไทยและต่างประเทศ ลงพื้นที่พิสูจน์ซากเสือโคร่งของกลางจากวัดป่าหลวงตาบัว ญาณสัมนโน จ.กาญจนบุรี ที่ป่วยตาย 86 ตัว จาก 147 ตัว ที่ยึดมาดูแลที่ตายจากไข้หัดสุนัขและอาการอัมพาตลิ้นกล่องเสียง ที่แช่ฟอร์มาลีน บรรจุในถังพลาสติก ขนาด 200 ลิตร ที่สถานีเพาะเลี้ยงสัตว์เขาประทับช้าง อ.จอมบึง จ.ราชบุรี

หลังจากนำมาดูแล 85 ตัว ได้ป่วยตายตั้งแต่ปี 2559 จนถึงปัจจุบัน จำนวน 54 ตัว เหลือมีชีวิตรอดเพียง 31 ตัว ส่วนที่ถูกส่งไปดูแลที่สถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าเขาสน จังหวัดราชบุรี อีกจำนวน 62 ตัว ตายไปจำนวน 31 ตัว เหลือมีชีวิตรอดเพียง 31 ตัว หลังถูกตั้งข้อสงสัย โดยหลังหลวงตาจันทร์ วัดป่าหลวงตาบัว ญาณสัมนโน จ.กาญจนบุรี ห่วง หัวเสือ เขี้ยว และหนังเสือหาย

นายสมโภชน์ กล่าวว่า การพาสื่อมวลชนลงพื้นที่ในวันนี้ เป็นการให้สื่อมวลชนและสาธารณชนได้ทราบข้อเท็จจริงในพื้นที่ สถานที่ที่นำเสือของกลางมาเลี้ยงดูแล เพื่อให้สื่อมวลชนได้เห็นสภาพสิ่งแวดล้อมของสถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าเขาประทับช้าง จังหวัดราชบุรี หนึ่งในสถานที่เก็บรักษาสัตว์ป่าของกลางของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช และเป็นสถานที่เลี้ยงดูแลเสือของกลางที่ยึดจากวัดป่าหลวงตาบัว ญาณสัมปันโน

พร้อมกับเปิดให้สื่อมวลชนได้ชมการเปิดถังเก็บซากเสือของกลางแช่ฟอร์มาลีน 10% ก่อนฝังซากพร้อมกับถังลงพื้นดิน ความลึกไม่น้อยกว่า 3 เมตร โดยให้สื่อมวลชนได้เห็นกระบวนการเก็บรักษาและทำลายซากสัตว์ป่าของกลางที่กรมอุทยานแห่งชาติฯ เก็บรักษาไว้ มีกระบวนการเก็บรักษาตลอดจนทำลายซากอย่างไร โดยการปฏิบัติการจริงกับซากเสือของกลางที่ยึดมาจากวัดป่าหลวงตาบัว ญาณสัมปันโน ตามที่เป็นข่าว เพื่อนำเสนอข่าวข้อเท็จจริง ต่อสาธารณชนให้ได้รับทราบต่อไป

ทางด้าน นายบรรพต มาลีหวล หัวหน้าสถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าเขาประทับช้าง อ.จอมบึง จ.ราชบุรี ได้ตอบข้อซักถามของสื่อมวลชน จากประเด็นที่ทางหลวงตาจันทร์ เจ้าอาวาสวัดป่าหลวงตาบัวฯ ที่ จ.กาญจนบุรี ตั้งข้อสังเกตเรื่องเสือตายว่า เกิดจากการเลี้ยงดู ที่แต่งต่างเมื่อครั้งที่เสือถูกเลี้ยงอยู่ภายในวัด

และหลังจากที่มีการเคลื่อนย้ายออกจากวัดมาเลี้ยงดูที่ราชบุรี พบว่ามีการตายจำนวนมาก พร้อมทั้งชี้ว่าอวัยวะเสือที่สำคัญอาจจะหายไป เพราะเป็นชิ้นส่วนที่มีราคาสูง และเป็นที่นิยม ซึ่งนายบรรพต ยืนยันว่า สถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าเขาประทับช้าง มีการดูแลเสืออย่างดี กรงเลี้ยงมาตรฐานการดูแลตามหลักวิชาการ และมีสัตวแพทย์ดูแลอย่างใกล้ชิดโดยตลอด

นายบรรพต กล่าวเพิ่มเติมว่า การดูแลเสือโคร่งของกลางนี้ ยืนยันว่า งบประมาณที่ได้รับเพียงพอ กรงเสือบางส่วนปรับปรุงพื้นที่ให้เสืออยู่ในพื้นที่ที่กว้างขึ้นสามารถรีแลคได้เต็มที่เพื่อลดความเครียด ส่วนเสือโคร่งที่เหลือทางสัตวแพทย์ได้แบ่งอาการออกเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มที่มีอาการน้อย อาการปานกลางและอาการมาก เพื่อติดตามอาการป่วย

โดยเสือที่มีอาการมากทางทีมแพทย์อาจจำเป็นต้องผ่าตัดเพื่อให้มีชีวิตที่ยืนยาวมากขึ้น สำหรับเสือที่อาการน้อยทางสัตว์แพทย์ได้ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยมหิดล เข้ามาเก็บตัวอย่างไปวิเคราะห์เพื่อที่จะวางแผนในการให้วัคซีนรักษาให้ตรงกับโรคหัดสุนัข

สำหรับปัจจัยที่จะทำให้เกิดโรค ทางสัตวแพทย์และทางสถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่า เขาประทับช้าง จะดูแลอย่างใกล้ชิด กันพื้นที่ไม่ให้คนเข้าไปในพื้นที่หรือบริเวณกรงเสือ นอกจากจะได้รับการอนุญาต และสกรีนคนเป็นพิเศษ เพื่อไม่ให้เสือเกิดสภาวะเครียด โดยเฉพาะกรณีที่อากาศร้อนชื้นเสือจะมีผลกระทบหายใจติดขัดได้

จากนั้น นายบรรพต มาลีหวล หัวหน้าสถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่า เขาประทับช้าง ได้ให้สื่อมวลชน จากสำนักข่าวต่างและสื่อมวลชนจากต่างประเทศ ได้ตรวจพิสูจน์ซากเสือโคร่งที่ล้มตาย โดยให้ทางสื่อมวลชนเลือกถังที่บรรจุซากเสือโคร่งที่แช่ฟอร์มาลีนความเข้มข้น 10% ในถังขนาด 200 ลิตร

โดยแต่ละถังจะมีการเขียนชื่อและวันที่เสือตายกำกับไว้ด้านข้างถัง แต่ในขณะที่บางส่วนถูกนำฝังดินพร้อมถังในระดับความลึก 3 เมตร เนื่องจากฟอร์มาลีนมีการระเหยเสื่อมสภาพจนแห้งทำให้ชากเสือโคร่งเปิดการเน่าเปื่อยและส่งกลิ่นเหม็น และเป็นการป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อโรคภายในสถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าฯ

เจ้าหน้าที่และสัตวแพทย์ได้เปิดถังที่มีชื่อติดไว้ข้างถังว่า "พายุ" ซึ่งเจ้าหน้าที่ได้สวมชุดเพื่อป้องกันสารเคมีอีกทั้งมีกลิ่นฟอร์มาลีนค่อนข้างเหม็นรุนแรงและทำให้เกิดการแสบตาโดย พร้อมทั้งกันพื้นที่ให้สื่อมวลชนสังเกตการณ์ในระยะประมาณ 10-15 เมตร

จากนั้นเจ้าหน้าที่และสัตวแพทย์ได้นำถังออกมาเทซากเสือ พบว่าเสือถูกตัด แบ่งออกเป็นส่วน และมีการคว้านนำไส้และเครื่องในออก และชำแหละออกเป็นชิ้น เนื่องจากเป็นเสือขนาดใหญ่ เพื่อให้สามารถบรรจุภายในถังได้ทั้งหมด

หลังจากที่เจ้าหน้าที่พยายามนำซากออกมาจากถังได้ทั้งหมด พบว่าซากยังมีความสมบูรณ์ เช่น ลำตัว หนังสือยังมีขน อุ้งเท้าครบ ส่วนหางยังสมบูรณ์ ขณะที่ หัวเสือพบว่ายังมีเขี้ยวติดอยู่ครบทุกซี่ ส่วนอวัยวะภายใน เจ้าหน้าที่อธิบายว่าได้นำเอาเอาออกเพื่อไม่ให้เกิดการเน่าเสีย

นายบรรพต กล่าวเพิ่มเติมว่า การทำลายซากเสือ จะต้องทำลายไม่ให้เหลือชิ้นส่วนที่จะนำไปใช้ประโยชน์ได้ โดยจะเลือกใช้วิธีการเผา ซึ่งกระบวนการทำลายซากจะต้องมีการตั้งกรรมการขึ้นมาตรวจสอบและส่งเรื่องไปยังอธิบดีกรมอุทยานฯ เพื่อขออนุมัติ เมื่อสังคมไม่คลางแคลงใจ และคดีสิ้นสุดก็จะทำเรื่องขออนุมัติทำลายซากทันที

แต่ตอนนี้ยืนยันว่า ซากเสือที่ตายทั้งหมด ทั้ง 2 สถานี ยังคงเก็บรักษาไว้ครบทุกตัว และมีระบบการดูแลควบคุมเป็นอย่างดี ทั้งเรื่องระบบการคั่นกรองคนเข้าออก การติดตั้งกล้องวงจรปิด เพราะซากเสือทั้งหมดยังเป็นของกลางที่ต้องเก็บรักษา

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook