น้ำเมากับเยาวชน

น้ำเมากับเยาวชน

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
เลาะเลียบคลองผดุงฯ

ตุลย์ ณ ราชดำเนิน Tulacom@gmail.com

ผลสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติ พบว่า ในปี 2550 คนไทย 10.3 ล้านคน เป็นผู้ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ โดยมีถึง 3.3 ล้านคนที่ดื่มทุกวันหรือเกือบทุกวัน

ในจำนวนนี้ พบเยาวชนอายุ 15-24 ปี ล้วนเป็นวัยที่อยู่ในช่วงศึกษาเล่าเรียนอันเป็นกำลังสำคัญของประเทศในอนาคต ซึ่งมีอยู่ 51.2 ล้านคน เป็นผู้ที่ดื่มสุราถึง 14.9 ล้านคน

จะไม่ให้เยาวชนในวัยศึกษาหลงใหลในเครื่องดื่มประเภทนี้ได้อย่างไร ในเมื่อร้านเหล้า ป้ายโฆษณาน้ำเมาเชิญชวนในรูปแบบต่างๆ รอบๆ สถานศึกษา นี่ยังไม่นับรวมเส้นทางเดินทางกลับที่พัก เห็นเต็มตาเย้ายวนใจอยู่ตลอด

จะไม่มีผลต่อการกระตุ้นให้อยากดื่มอยากลองได้อย่างไร ในเมื่อโฆษณาที่ว่านั้นป็นการชักจูง ล้วนส่งเข้าสู่ระบบการจำ เป็นสิ่งยั่วยุ ชักจูง ชี้นำ ส่งเสริมให้อยากลิ้มลองทั้งทางตรงและอ้อม

ข้อมูลที่น่าเป็นห่วงแสดงถึงการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอ ฮอล์ของคนไทยมีแนวโน้มสูงขึ้น ทั้งในแง่ของปริมาณการดื่มและจำนวนผู้ดื่ม โดยมีเยาวชนอายุน้อยติดอยู่ในกลุ่มหันมาดื่มแอลกอฮอล์ เพิ่มขึ้นในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา เฉลี่ย 2.6 แสนคน ย่อมเป็นที่เข้าใจได้ว่าเงินที่จ่ายไปนั้นมาจากไหน

นอกจากเม็ดเงินที่คิดได้จากการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอ ฮอล์ในภาพรวมคนไทยทั้งประเทศ 125,000 ล้านบาทต่อปีแล้ว ยังก่อให้เกิดผลกระทบทั้งในเชิงคุณภาพและสุขภาวะที่แทรก ซ้อนด้วยโรคมากมาย

ชัดเจนที่สุด คือ การเกิดอุบัติเหตุจราจรมากกว่าร้อยละ 50 ของอุบัติเหตุที่เกิดทั้งหมด ตามด้วยลักษณะของการก่ออาชญา กรรม ก่อการทะเลาะวิวาท และโรคร้ายที่รุมเร้าชีวิตตามมาภายหลัง

การรณรงค์ก็เป็นส่วนหนึ่งที่จำเป็นดำเนินต่อไปเพื่อให้สังคมได้ตระหนักถึงพิษร้ายจากการดื่มน้ำเมา และเป็นการกระตุ้นเตือนผู้ที่มีหน้าที่รับผิดชอบให้ทำงานอย่างเข้มแข็งจริงจังมากกว่าที่ผ่านมา

คงต้องขอชื่นชมกับทุกฝ่ายที่ออกมาทำงานด้วยการร่วมรณรงค์อย่างต่อเนื่อง ขนาดมีทั้งหลักฐานข้อมูล ระบุพิกัดทั้งสถานที่ มีภาพและเสียงชัดเจนว่าที่ไหน ตรงไหน ทำผิดกฎหมายบ้าง

ทุกอย่างยังไม่ขยับ หรือเป็นเพราะเรามีคนติดน้ำเมาเข้าไปบริหารบ้านเมืองคอยขยิบตา

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook