อัดการเมืองทุบท่องเที่ยวไร้อนาคต เอกชนบี้รัฐหาเจ้าภาพ-โวยเงื่อนไขปล่อยกู้จุกจิก

อัดการเมืองทุบท่องเที่ยวไร้อนาคต เอกชนบี้รัฐหาเจ้าภาพ-โวยเงื่อนไขปล่อยกู้จุกจิก

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
น.ส.มัยรัตน์ พีระญาณ์โกเศส นายกสมาคมธุรกิจท่องเที่ยวภายในประเทศ (สทน.) เปิดเผยว่า ช่วงที่เหลือของปีนี้ยังมองไม่เห็นอนาคตภาคการท่องเที่ยวจะฟื้นตัวได้ง่าย ตราบที่ปัญหาการเมืองในประเทศยังไม่นิ่ง เพราะจะทำให้ไม่มีใครเป็นเจ้าภาพในการนำภาคท่องเที่ยวเป็นวาระแห่งชาติจริงจังตามที่รัฐบาลประกาศไว้ ประกอบกับขณะนี้ผู้ประกอบการภาคท่องเที่ยวกำลังประสบปัญหาสภาพคล่องที่ธนาคารพาณิชย์เข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อ โดยมีเพียง 9 รายที่ได้รับสินเชื่อจากผู้ประกอบการที่ยื่นคำขอสินเชื่อ 191 ราย

ทั้งนี้ ก่อนหน้านี้คณะกรรมาธิการการท่องเที่ยวและกีฬา รัฐสภา ได้เชิญสมาคมฯ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อม (ธพว.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าไปชี้แจงเกี่ยวกับปัญหาและผลกระทบในภาคท่องเที่ยวจากวิกฤตเศรษฐกิจโลก อันเป็นอุปสรรคต่อการผลักดันให้ การท่องเที่ยวเป็นวาระแห่งชาติ ซึ่งพบว่าปัจจุบันผู้ประ กอบการยังประสบปัญหาการขอสินเชื่อจากธนาคารที่ไม่สามารถปล่อยกู้ได้ เพราะติดขัดเรื่องหลักเกณฑ์และเงื่อน ไขที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กำหนดไว้

ธพว.ชี้แจงต่อที่ประชุมคณะกรรมาธิการฯ ว่า ทางธนา คารไม่สามารถปล่อยกู้ให้ผู้ประกอบการภาคท่องเที่ยวได้ เนื่องจาก ธปท.กำหนดเงื่อนไขการปล่อยกู้จุกจิกมากเกินไป ทำให้คุณสมบัติของผู้ประกอบการไม่ผ่านเงื่อนไขดังกล่าว ซึ่งที่ประชุมก็เห็นพ้องกันว่า ธปท.เท่านั้นที่จะเป็นคนปลดล็อกปัญหานี้ โดยตัดหลักเกณฑ์ที่ไม่จำเป็นออกไป เพราะ ธพว.ก็รู้สึกอึดอัด เช่น ระบุว่าธุรกิจต้องมีผลกำไรจึงจะให้กู้ แต่ถ้าธุรกิจมีกำไรจริงใครจะมากู้ ทำไมไม่พิจารณาข้อเท็จจริงว่า ผู้ประกอบการที่มาขอกู้ต้องการนำเงินไปประคับประ คองธุรกิจให้ผ่านพ้นภาวะวิกฤตปีนี้ และเมื่อปีหน้าทุกอย่างเข้าสู่ภาวะปกติ ธุรกิจก็ปรับตัวดีขึ้น น.ส.มัยรัตน์กล่าว

นอกจากนี้ ธปท.ควรผ่อนปรนหลักเกณฑ์กรณีที่ผู้ประ กอบการติดเครดิตบูโร หรือเป็นหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ทำให้ไม่สามารถกู้เงินได้ โดยให้พิจารณาตามความเหมาะสมว่าผู้ประกอบการรายนั้นติดเครดิตบูโรเรื่องอะไร จำนวนมากน้อยแค่ไหนอย่างสมเหตุสมผล

ด้านนางอมรา ศรีพยัคฆ์ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายเศรษฐกิจในประเทศ ธปท. กล่าวว่า การระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่ 2009 อาจมีผลกระทบต่อภาคการท่องเที่ยวบ้าง แต่เป็นความเสี่ยงที่กระทบต่อเศรษฐกิจทั่วโลกไม่ใช่เฉพาะไทย เนื่องจากมีผลต่อความรู้สึกของคนทำให้ไม่อยากเดินทางไปในพื้นที่ที่เกิดโรคระบาด แต่ในภาพรวมเชื่อ ว่าจะไม่กระทบอย่างเห็นได้ชัดทั้งต่ออัตราการเติบโตของเศรษฐกิจ การใช้จ่าย การลงทุนของประชาชน ทั้งนี้ ธปท. จะนำปัจจัยลบจากการระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่ 2009 เข้าหารือในที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ในวันที่ 15 ก.ค.นี้

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook