ผวา! คนไทยเกินครึ่ง อยู่แบบ "เดือนชนเดือน" แถม 15% ไม่มีเงินสำรองใช้ขณะตกงาน

ผวา! คนไทยเกินครึ่ง อยู่แบบ "เดือนชนเดือน" แถม 15% ไม่มีเงินสำรองใช้ขณะตกงาน

ผวา! คนไทยเกินครึ่ง อยู่แบบ "เดือนชนเดือน" แถม 15% ไม่มีเงินสำรองใช้ขณะตกงาน
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

โกแบร์ เว็บไซต์ด้านประกันภัยและผลิตภัณฑ์ทางการเงินข้ามชาติ เผยข้อมูลดัชนีวัดสุขภาพทางการเงิน วันนี้ (17 ต.ค.) ระบุว่า คนไทยอายุ 18-65 ปี 49.8% มีเงินเพียงพอครอบคลุมเฉพาะรายจ่ายในชีวิตประจำวัน หรือ เดือนชนเดือน เมื่อหักรายจ่ายอื่นๆ ไปแล้ว

ตัวเลขดังกล่าวน่าตกใจขึ้นไปอีกเมื่อพบว่า กลุ่มอายุที่อยู่แบบเดือนชนเดือนมากที่สุดคือ 36-45 ปี ที่สัดส่วน 53% รองลงมาคือกลุ่มอาย 56-65 ปี ที่ 51% เท่ากับกลุ่มอายุ 26-35 ปี ที่ 51%

นายเบญจรงค์ สุวรรณคีรี หัวหน้าคณะเจ้าหน้าที่บริหาร ME by TMB กล่าวในงานนี้ ว่า คนไทยมีสถานการณ์ "เงินชอร์ท (Shortage of money)" หรือชักหน้าไม่ถึงหลัง ถึง 25% สูงกว่าหลายประเทศในภูมิภาค อาทิ อินโดนีเซีย ทั้งที่เป็นประเทศที่มีรายได้ต่อหัวต่ำกว่าไทย 

ไม่ใช่แค่นั้น ผลสำรวจของโกแบร์ ระบุอีกว่า 15% ของคนไทย ไม่มีเงินสำรองใช้เมื่อตกงาน ทำให้หลายคนมองการตกงานเป็นเรื่องน่ากลัว

ออม-ลงทุนได้ แม้มีเงินไม่มาก

นายเบญจรงค์ กล่าวต่อไปว่า วิธีการแก้ปัญหาคือการเริ่มออมเงินตั้งแต่วันนี้ แต่หลายคนมักอ้างว่าไม่มีเงินลงทุนเลย เพราะค่าใช้จ่ายในแต่ละเดือนค่อนข้างสูง และแทบไม่เพียงพอสำหรับการใช้จ่าย แต่ตนอยากให้ทุกคนปรับมุมมองเสียใหม่ว่า การลงทุนไม่จำเป็นต้องใช้เงินเยอะ เพียงแค่มี 100 บาทก็เก็บออมไว้ใช้ในยามวิกฤตหรือยามฉุกเฉิน ผ่านรูปแบบกองทุนรวม ได้แล้ว

"ถ้าล้วงไปในกระเป่าตังค์ มีแบงก์ 100 แปลว่าเริ่มลงทุนได้" นายเบญจรงค์ กล่าว

นายภูศณัฎฐ์ การุณวงศ์วัฒน์ ผู้ก่อตั้งและผู้จัดการเพจเทพลีลา ที่มาร่วมพูดคุยในงานสืบฟินวินทุกเรื่องเงินของโกแบร์ บอกว่า ตัวเองเคยประสบภาวะชักหน้าไม่ถึงหลังในช่วงน้ำท่วมภาคกลางปี 2554 ซึ่งตอนนั้นตนเหลือเงินในบัญชีเพียงแค่หลักร้อย และไม่พอจ่ายให้กับพนักงานในธุรกิจของตัวเอง

บทเรียนในเรื่องดังกล่าว ตนจึงวางแผนให้บริษัทมีเงินเลี้ยงพนักงานไปถึงอย่างน้อย 6-12 เดือน เพื่อไม่ให้เกิดภาวะชักหน้าไม่ถึงหลังต่อบริษัท ที่อาจกระทบต่อไปยังพนักงานได้

คนไทยออมเงินช้า-ไม่พอใช้หลังเกษียณ

นายเบญจรงค์ พูดถึงเรื่องการออมเงินในวัยเกษียณ โดยอ้างอิงผลสำรวจของโกแบร์อีกว่า ค่าเฉลี่ยอายุที่คนไทยอยากเกษียณคือ 53 ปี ซึ่งถือว่าเร็วกว่าอีก 3 เขตเศรษฐกิจที่โกแบร์สำรวจ คือ ฮ่องกง ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย แต่จุดที่คนไทยยังตามหลังคนในพื้นที่เหล่านี้ คือ การออมเงินที่ช้ากว่า

การออมเงินที่ช้ากว่า ทำให้เงินเก็บน้อยกว่า ทำให้ยิ่งมีปัญหาเมื่อถึงเวลาเกษียณจริงๆ ที่หลายคนใช้เงินหมดไปก่อนที่จะหมดอายุขัย

"ตอนมีชีวิตใช้เงินไม่หมด ยังไม่น่ากลัวเท่ากับ ใช้เงินหมดก่อนตาย"

นายเบญจรงค์ ฝากคำแนะนำไว้ว่า การออมในบัญชีเงินฝากอาจไม่เพียงพออีกแล้ว เพราะขณะนี้ธนาคารให้ดอกเบื้ยน้อยมาก การฝากเงินรูปแบบนี้อาจไม่ตอบโจทย์อีกแล้ว แต่การจะให้ไปลงทุนในหุ้น ก็ต้องศึกษามากๆ และต้องมีเวลาดูความเคลื่อนไหวมากพอ ดังนั้นสำหรับคนทั่วไป แม้แต่ตัวเองก็ตาม อาจลงทุนในกองทุนรวม หรือผลิตภัณฑ์ทางการเงินอื่นๆ ที่ให้ค่าตอบแทนสูงกว่าการฝากเงินในบัญชีก็ได้ในเบื้องต้น

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook