หอการค้าสั่งจับตา 5 อุตสาหกรรม

หอการค้าสั่งจับตา 5 อุตสาหกรรม

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ (15 ก.ค.) นายอัทธ์ พิศาลวานิช ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยผลการศึกษาผลกระทบของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) ต่อเศรษฐกิจการค้าของไทย 6 ปีข้างหน้า ใน 12 กลุ่มสินค้าว่า แม้ภาพรวมไทยจะได้ประโยชน์ทางการค้า แต่ก็จะมีการย้ายเงินทุนและแรงงานเกิดขึ้น จนทำให้ 5 อุตสาหกรรมในไทยมีความเสี่ยงต้องปิดกิจการ ได้แก่ อุตสาหกรรมประมง อาหารสัตว์แปรรูป สิ่งทอ แร่ธาตุ และปิโตรเลียม ที่อาจย้ายฐานการผลิตไปประเทศเพื่อนบ้านแทน เพราะประเทศเพื่อนบ้าน เช่น ลาว เวียดนาม กัมพูชา มีทรัพยากรธรรมชาติมากกว่า และมีค่าแรงงานต่ำกว่าไทย

ไม่ใช่แค่ภาคธุรกิจที่จะเสียหาย แรงงานใน 5 ภาคอุตสาหกรรมก็จะถูกปลด รวมถึงอาชีพวิศวกรรม บัญชี ของสิงคโปร์อาจเข้ามาแย่งงานไทย ทำให้มีปัญหาต่อภาคแรงงานในอนาคต ซึ่งรัฐบาลต้องเร่งประชาสัมพันธ์ และจัดทำยุทธศาสตร์การเปิดรับเออีซีในอีก 6 ปีอย่างจริงจัง เพราะตอนนี้เท่าที่สอบถามหอการค้าในหลายจังหวัด ยังไม่ทราบว่าการเปิดเออีซีจะเริ่มในปีหน้า และไม่รู้มีผลดี ผลเสียอย่างไร เพราะหากไม่ทำแล้วโอกาสที่ ประวัติศาสตร์จะซ้ำรอย สินค้าไทยโดนสินค้าราคาถูกจีนแย่งตลาด หรือเกิดความเสียหายในภาคเกษตรกรรมเหมือนในอดีตก็มีสูง รวมถึงการออกมาตรการที่ไม่ใช่ภาอ็นทีบี) ที่จะถูกใช้ และที่ใช้เพื่อดูแลอุตสาหกรรมภายในประเทศ

สำหรับการศึกษาผลกระทบต่อเศรษฐกิจการค้าไทยใน 6 ปีข้างหน้า พบว่าส่งผลดีต่อเศรษฐกิจไทยให้มีผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) ของไทยปี 58 ขยายตัวถึง 1.75% หรือเพิ่มขึ้น 203,951 ล้านบาท เติบโตเป็นอันดับสองรองจากสิงคโปร์ และทำให้การส่งออกของไทยไปยังอาเซียนเพิ่มขึ้น 2.7% มูลค่าเพิ่ม 22,925 ล้านบาทต่อปี การนำเข้าเพิ่มขึ้น 2.6% มูลค่าเพิ่ม 16,242 ล้านบาท ทำให้ไทยเกินดุลการค้าเฉลี่ย 46,786 ล้านบาทต่อปี โดยสินค้าเกินดุลการค้ามากที่สุด คือ กลุ่มสินค้ายานยนต์และชิ้นส่วนเกินดุล 14.9% และเกษตรแปรรูปเกินดุล 12.5% แต่กลับทำให้กลุ่มปิโตรเลียมขาดดุล 4.5% และกลุ่มผลิตภัณฑ์แร่ ขาดดุล 16.3%

ทั้งนี้ เมื่อแยกเป็นกลุ่มสินค้า พบว่า สินค้าเกษตรแปรรูป จะเกินดุลการค้าเพิ่มขึ้น 12.5% ได้ดุลการค้ามากสุดกับมาเลเซีย สินค้าเกษตรและปศุสัตว์เกินดุลการค้าเพิ่ม 16.5% ได้ดุลการค้ามากสุดกับเวียดนามและขาดดุลมากสุดกับมาเลเซีย สินค้าประมงเกินดุลเพิ่ม 6.7% ได้ดุลการค้ามากสุดกับเวียดนามและขาดดุลมากสุดกับอินโดนีเซีย เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ขาดดุลการค้าลดลง 84% โดยได้ดุลการค้ากับสิงคโปร์มากสุดและขาดดุลกับมาเลเซียมากสุด สิ่งทอ เกินดุลการค้าเพิ่ม 13.9% ได้ดุลการค้ากับสิงคโปร์มากสุดและขาดดุลการค้ากับอินโีเซียมากสุด เคมีภัณฑ์ ยาง และพลาสติก เกินดุลเพิ่มขึ้น 12.6% ได้ดุลกับมาเลเซียมากสุดและขาดดุลการค้ากับสิงคโปร์มากสุด ผลิตภัณฑ์ไม้ เกินดุลเพิ่มขึ้น 14.9% ได้ดุลการค้ามากสุดกับอินโดนีเซีย ปิโตรเลียม ขาดดุลเพิ่ม 4.5% โดยขาดดุลมากสุดกับพม่าและได้ดุลมากสุดกับสิงคโปร์ ผลิตภัณฑ์แร่ เหล็กและโลหะ ขาดดุลเพิ่มขึ้น 16.3% และ 7.2% โดยขาดดุลมากสุดกับอินโดนีเซีย

นายชัยนันท์ อุโฆษกุล ประธานคณะอนุกรรมการการค้าระหว่างประเทศ สภาหอการค้าไทยแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ภาคเอกชนมีความเป็นห่วงว่า เมื่อเปิดเสรีแล้วทุกประเทศจะมีการออกมาตรการที่ไม่ใช่ภาษีมากขึ้นเพื่อปกป้องอุตสาหกรรมภายในประเทศตัวเอง ซึ่งจะกลายเป็นอุปสรรคการค้ามากกว่าการเก็บภาษีอีก เช่น อินโดนีเซีย ได้ห้ามนำเข้าอาหารฮาลาล เพราะไทยมีกรรมาวิธีการผลิตที่ขัดหลักศาสนาอิสลาม ซึ่งต้องการให้รัฐบาลนำมาตรการที่ไม่ใช่ภาษีของแต่ละประเทศ ไปหารือระดับการค้าอาเซียน เพื่อเพิ่มความเป็นธรรมทางการค้า.

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook