คคบ.เรียก3บิ๊กมือถือคุยแก้smsโฆษณาขยะรำคาญใจ

คคบ.เรียก3บิ๊กมือถือคุยแก้smsโฆษณาขยะรำคาญใจ

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเวลา 12.00 น. ที่ทำเนียบรัฐบาล นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงผลการประชุมคณะกรรมการผู้บริโภค (คคบ.) ครั้งที่ 5/2552 ว่า ที่ประชุมคคบ.วันนี้ได้พิจารณาความเดือดร้อนของประชาชน ที่เกี่ยวข้องกับการโฆษณารวม 3 เรื่อง 1.การส่งเอสเอ็มเอสโฆษณาเข้าโทรทัพท์มือถือของประชาชนทั่วไป ซึ่งที่ประชุมได้เชิญผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือมาร่วมประชุมด้วย และได้มีมติว่า ผู้ใช้บริการโทรศัพท์มือถือของบริษัทใด หากไม่ต้องการรับเอสเอ็มเอสโฆษณาอีกก็ให้โทรไประงับที่คอลเซ็นเตอร์ของบริษัทนั้นๆ โดยสัปดาห์หน้าสำนักงานคุ้มครองผู้บริโภคจะนับ ผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือทั้ง เอไอเอส ดีแทค ทรู และฮัทช์ มาพูดคุยอย่างเป็นทางการ เชื่อว่าน่าจะสามารถแก้ปัญหาเอสเอ็มเอสโฆษณาได้ระดับหนึ่ง เพราะผู้ส่งต้องลงทะเบียนกับผู้ให้บริการด้วย อย่างไรก็ตาม ยังมีปัญหากรณีที่ผู้ส่งโฆษณาส่งเอสเอ็มเอสส่งข้ามเครือข่าย แต่เรื่องนี้ทางผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือแจ้งว่า ได้ร่วมมือกันพัฒนาโปรแกรมแอนตี้สแปมขึ้นมาแล้ว คาดว่าจะสามารถใช้ได้ต้นเดือนสิงหาคมนี้

นายสาทิตย์ กล่าวว่า 2.การขายประกันผ่านโทรศัพท์ทั้งโทรศัพท์บ้านและมือถือ เรื่องนี้ทางคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) แจ้งในที่ประชุมว่า ประชาชนคนใดที่รู้สึกเดือดร้อนรำคาญให้โทรศัพท์ไปที่หมายเลข 1186 พร้อมแจ้งหมายเลขที่ไม่ต้องให้โทรศัพท์มาขายประกันอีก ทั้งนี้ตนได้กำชับให้สคบ.และกรมประกันภัย เร่งประชาชนสัมพันธ์เรื่อง้ต่อประชาชน ซึ่งคปภ.ระบุว่า มีระเบียบซึ่งออกมาตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.2552 ว่า ผู้ขายกรมธรรมพ์จะต้องแจ้งชื่อและหมายเลขโทรศัพท์ที่สามารถติดต่อได้ ซึ่งผู้รับโทรศัพท์ก็สามารถปฏิเสธที่จะทำให้ผู้ขายไม่สามารถโทรศัพท์มาหาได้อีกเป็นเวลาอย่างน้อย 6 เดือน แต่เรื่องนี้ไม่ค่อยมีคนทราบ ดังนั้นตนจึงกำชับให้คปภ.เร่งประชาสัมพันธ์ให้คนรู้เกี่ยวกับระเบียบนี้

"ส่วนข้อสงสัยว่าทั้งผู้ส่งเอสเอ็มเอสและขายประกันผ่านโทรศัพท์นำเบอร์โทรศัพท์มาจากไหน เท่าที่ทราบการได้เบอร์โทรศัพท์ มี่ทั้งได้มาอย่างถูกต้อง คือการที่เราไปกรอกเอกสารตามงานแสดงสินค้าต่างๆ และได้มาอย่างไม่ถูกต้อง เช่นขายข้อมูลระหว่างกัน ซึ่งจากข้อมูลเชิงลึกที่ได้มีการขายข้อมูลกันกว่า 30 ล้านหมายเลข โดยเรื่องนี้ทางคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) มีบทลงโทษ ทั้งผู้ที่ขายข้อมูลและโอเปอเรเตอร์ที่โทรเข้ามาด้วย ดังนั้นประชาชนคนใดที่ได้รับความเดือดร้อนสามารถโทรแจ้งเข้าไปที่กทช.ได้ ขณะที่รัฐบาลจะเร่งผลักดันร่างพ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลที่จะเข้าสู่การประชุมสภาผู้แทนราษฎรสมัยนิติบัญญัตินี้ให้ออกมาให้เร็วที่สุดด้วย นายสาทิตย์ กล่าว

นายสาทิตย์ กล่าวอีกว่า 3.การโฆษณาทางโทรทัศน์ซึ่งมีทั้งโฆษณาเกินเวลาและโฆษณาแฝง ที่แต่เดิมทีเคยมีระเบียบของกรมประชาสัมพันธ์ให้สถานีโทรทัศน์โฆษณาได้ชั่วโมงละไม่เกิน 12 นาที มีการตั้งกบว.ขึ้นมาดูแล แต่ภายหลังรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2540 ก็ไปตัดอำนาจตรงนี้ ปัจจุบันนี้จึงไม่มีกฎหมายหรือหน่วยงานดมาคุ้มครองการโฆษณาโดยโทรทัศน์ แต่เป็นเรื่องที่ทางโทรทัศน์ร่วมกับสมาคมโฆษณาตั้งคณะกรรมการขึ้นมาดูแลกันเอง และพยายามควบคุมให้อยู่ที่ 12 นาที ซึ่งนายวิทวัส ชัยปราณี นายกสมาคมธุรกิจโฆษณาไทย ก็ยอมรับว่า มีการตั้งคณะกรรมการขึ้นมาเซ็นเซอร์กันเอง แต่ก็มีข้อเท็จจริงปรากฏว่า ยังมีการโฆษณาเกินกันอยู่ เบื้องต้นตนจึงจะให้สคบ.เชิญผู้อำนวยการสถานีโทรทัศน์แต่ละแห่งและสมาคมโฆษณามาพูดคุยเพื่อขอความร่วมมือให้โฆษณาได้ไม่เกินชั่วโมงละ 12 นาทีตามกำหนดเดิม ส่วนระยะถัดไปคือการเร่งรัดให้ออกกฎหมายตั้งองค์จัดสรรคลื่นความถี่เพื่อตั้งหน่วยงานมาดูแลโดยเฉพาะ

"ผมได้บอกกับสมาคมโฆษณาไปว่า เข้าใจว่าบริษัทโฆษณาต้องพยายามจะขายสินค้า แต่รัฐบาลต้องพยายามคุ้มครองผู้บริโภคด้วย จึงควรจะจัดเวลาให้เหมาะสม นายสาทิตย์ กล่าว

รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า เรื่องที่ให้กว่าคือการโฆษณาแฝง ที่มาทุกรูปแบบทั้งในเกมโชว์ ละคร ทีวี ฯลฯ ซึ่งที่ประชุมพบว่าไม่มีหลักเกณฑ์ขึ้นมาดูแลเรื่องนี้เลย ตนจึงขอให้สคบ.จับประชุมร่วมกับผู้อำนวยการสถานีโทรทัศน์และสมาคมโฆษณา เพื่อหาหลักเกณฑ์กลางในการควบคุมโฆษณาแฝง ก่อนเสนอเข้าสู่ที่ประชุมคคบ.ครั้งต่อไปในเดือนสิงหาคมนี้

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook