อุ้มลูกหนี้ติดคดีบัตร-ผ่อนบ้าน ศาลนนทบุรีนำร่องเป็นตัวกลางไกล่เกลี่ย คืนค่าธรรมเนียมศาล/หนุนแบงก์แก้

อุ้มลูกหนี้ติดคดีบัตร-ผ่อนบ้าน ศาลนนทบุรีนำร่องเป็นตัวกลางไกล่เกลี่ย คืนค่าธรรมเนียมศาล/หนุนแบงก์แก้

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
แบงก์ขานรับแนวทางแก้ปัญหาหนี้เสีย ประสานมือศาลจังหวัดนนทบุรีจัดมหกรรมไกล่เกลี่ยและระงับข้อพิพาทคดีแพ่ง ทั้งบัตรเครดิต สินเชื่อบ้าน เช่าซื้อ เอสเอ็มอี และสินเชื่อธุรกิจขนาดใหญ่ ชี้คดีเสร็จเร็วภายใน 2-3 เดือน และลดภาระกันสำรองหนี้สูญ ด้านศาลยอมคืนค่าธรรมเนียมศาล 2,500 บาทจนถึง 200,000 บาทให้ลูกหนี้

นางพนิดา รัตนะวรรธนะ หัวหน้าศาลจังหวัดนนทบุรี เปิดเผย ฐานเศรษฐกิจว่า ในวันที่ 30-31 กรกฎาคมนี้ ศาลจังหวัดนนทบุรีกำหนดจัดมหกรรมไกล่เกลี่ยครั้งที่ 2 ร่วมกับสถาบันการเงินและธนาคาร 20 แห่ง โดยจะคัดเลือกคดีแพ่งเกี่ยวกับสถาบันการเงินจำนวน 500 คดี ทุนทรัพย์เบื้องต้น 500-600 ล้านบาท เข้าสู่กระบวนการไกล่เกลี่ย เพื่อให้ลูกหนี้และสถาบันการเงินเจ้าหนี้ที่เป็นโจทย์ยื่นฟ้องได้เจรจากันในการระงับข้อพิพาทหรือยอมความกัน จากครั้งแรกที่จัดโครงการนี้เมื่อ 29-30 มิถุนายนและได้รับการตอบรับจากคู่ความจำนวนมาก ทำให้มีแนวคิดที่จะจัดโครงการนี้ 2 เดือนครั้ง โดยที่ในครั้งต่อไปจะจัดขึ้นเดือนกันยายน

นอกเหนือจากปัจจุบันซึ่งคดีแพ่งที่เกี่ยวกับสถาบันการเงินที่ค้างศาล (ทั้งคดีใหม่และคดีเก่า) จะมีปริมาณ 70-80% ของคดีทั้งหมดแล้ว สถาบันการเงินที่เป็นเจ้าหนี้ยังเห็นว่าคดีเหล่านี้เป็นภาระให้ธนาคารต้องกันสำรองหนี้สูญเป็นจำนวนมากในแต่ละปี ซึ่งยิ่งศาลพิจารณาคดีล่าช้า ก็จะไม่เป็นผลดีทั้งต่อลูกหนี้และเจ้าหนี้ เพราะลูกหนี้เหล่านี้มีรายชื่อติดอยู่ในเครดิตบูโร และในบางคดี

ถึงแม้ว่าลูกหนี้จะค้างเงินต้น 1 ล้านบาท แต่สถาบันการเงินยื่นฟ้องคดีทุนทรัพย์สูงถึง3-4 ล้านบาท

สำหรับคดีสถาบันการเงินที่ศาลคัดเลือกขึ้นมาไกล่เกลี่ย มีทั้งคดีบัตรเครดิต สินเชื่อบ้าน คดีกู้ยืม สินเชื่อเช่าซื้อ สินเชื่อเอสเอ็มอีและสินเชื่อธุรกิจขนาดใหญ่ ซึ่งภายใต้โครงการดังกล่าว ศาลจะคืนค่าธรรมเนียมในการขึ้นศาลทั้งจำนวนให้ลูกหนี้ จากปกติการฟ้องคดีจะมีค่าธรรมเนียมศาลตั้งแต่ 2,500-200,000 บาทต่อคดี เริ่มต้นจากทุนทรัพย์ 100,000 บาท ซึ่งธนาคารเจ้าหนี้จะเรียกเก็บจากลูกหนี้

รวมถึงการเจรจาเพื่อขอเงื่อนไขพิเศษให้กับลูกหนี้ เช่น จากที่คิดดอกเบี้ยผิดนัดที่อัตรา 13-14%ขอลดเหลือเท่ากับ MLR หรือ 6%เศษ กรณีหนี้บัตรเครดิตที่มีดอกเบี้ยก็ขอให้ทางธนาคารตัดทิ้ง หรือขอยืดระยะเวลาในการผ่อนชำระหนี้ออกไป การชะลอการจ่ายหนี้เงินต้นชั่วคราว ซึ่งมาตรการเหล่านี้เคยได้รับความร่วมมือจากธนาคารหลายแห่ง

นายอุกฤติ ธนพัฒน์ไพบูลย์ ผู้อำนวยการอาวุโส ผู้บริหารฝ่ายควบคุมคดี ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ธนาคารพอใจกับโครงการไกล่เกลี่ยเพราะทำให้งานฟ้องคดีเสร็จเร็ว และอยากให้ศาลจังหวัดทั่วประเทศใช้เป็นแนวทาง เพราะเมื่อเริ่มฟ้องทางศาลก็นัดไกล่เกลี่ย หากตกลงกันได้ทั้งธนาคารและลูกหนี้ก็ไม่ต้องนัดสืบพยานอาจทำให้คดีจบภายใน 2-3เดือนแทนที่จะต้องใช้เวลาเป็นปี โดยในส่วนของธนาคารกรุงไทยนั้นในรอบแรกที่ไกล่เกลี่ย นัดเจรจากับลูกหนี้ 23 รายทุนทรัพย์เกือบ 200 ล้านบาท ซึ่งนอกจากคดีที่มีทุนทรัพย์สูงสุดประมาณ 160 ล้านบาท (อุตสาหกรรมยานยนต์) ที่เหลือเป็นคดีรายย่อย

หนี้รายย่อยหรือคดีเกี่ยวกับผู้บริโภค เป็นหนี้ชั้นเดียวไม่ซับซ้อน ทำให้เกิดผลสำเร็จเร็ว ส่วนคดีธุรกิจรายใหญ่นั้นต้องเจรจาหลายครั้ง แต่ก็ช่วยให้งานเจรจาเร็วขึ้นได้ แต่ขณะเดียวกันเงื่อนไขที่ธนาคารให้แก่ลูกหนี้ ก็ยังต้องดูผลกระทบต่อธนาคารด้วย

แหล่งข่าวจากธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ธนาคารประสบความสำเร็จจากโครงการไกล่เกลี่ยระงับข้อพิพาทที่ร่วมมือกับศาลจังหวัดนนทบุรี ซึ่งดีต่อเจ้าหนี้และลูกหนี้ เพราะเป็นการนัดเจรจาทุกประเภทและทุกวงเงิน โดยที่ในครั้งแรกที่จัดโครงการธนาคารสามารถเจรจาโดยทำสัญญายอมความกันเป็นการคุยครั้งเดียวจบ 40-50 ราย และบางคดีไม่ต้องฟ้อง อีกทั้งการใช้ช่องทางศาลเรียกลูกหนี้ทำให้ลูกหนี้ตื่นตัวที่จะมาเจรจา จากก่อนหน้าที่ธนาคารเคยเชิญแต่ลูกหนี้ไม่สนใจ ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะลูกหนี้มองว่าวิธีการแก้ไขหนี้ไม่มีอะไรใหม่ แต่เมื่อช่องทางศาลช่วยให้การงานคดีความง่ายขึ้น

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook