ไวรัสโคโรนา: ชาวอเมริกันบางส่วนบนเรือ "ไดมอนด์พรินเซส" ปฏิเสธกลับสหรัฐฯ

ไวรัสโคโรนา: ชาวอเมริกันบางส่วนบนเรือ "ไดมอนด์พรินเซส" ปฏิเสธกลับสหรัฐฯ

ไวรัสโคโรนา: ชาวอเมริกันบางส่วนบนเรือ "ไดมอนด์พรินเซส" ปฏิเสธกลับสหรัฐฯ
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ชาวอเมริกันราว 300 คนเดินทางกลับประเทศด้วยเครื่องบิน 2 ลำ หลังถูกกักตัวบนเรือไดมอนด์พรินเซส ซึ่งตรวจพบผู้ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ขณะที่บางกลุ่มยืนยันจะอยู่บนเรือต่อเพื่อให้ครบตามกำหนดจำนวนวันที่ต้องเฝ้าดูอาการ พร้อมแสดงความไม่พอใจต่อมาตรการของสหรัฐฯ

สำนักข่าว BBC รายงานอ้างอิงข้อมูลจากเจ้าหน้าที่ทางการของญี่ปุ่นซึ่งระบุว่า ผู้โดยสารชาวอเมริกันราว 300 คน จากจำนวนผู้โดยสารชาวอเมริกันทั้งหมด 400 คน ที่ถูกกักตัวบนเรือไดมอนด์พรินเซสมาตั้งแต่วันที่ 3 ก.พ.ได้เดินทางออกจากเรือ เพื่อเดินทางกลับสหรัฐฯ ด้วยเครื่องบินจำนวน 2 ลำแล้ว โดยเดินทางออกจากสนามบินฮาเนดะของญี่ปุ่นช่วงเช้าวันนี้ (17 ก.พ.) และเดินทางถึงฐานทัพอากาศสหรัฐฯ ในมลรัฐแคลิฟอร์เนียแล้ว

นี่เป็นการเดินทางออกจากเรือลำดังกล่าวก่อนกำหนด เนื่องจากเรือไดมอนด์พรินเซสซึ่งมีผู้โดยสารและลูกเรือรวมทั้งสิ้น 3,700 คน มีกำหนดต้องถูกกักบริเวณที่ท่าเรือโยโกฮามะของญี่ปุ่นไปถึงวันที่ 19 ก.พ. หลังพบว่ามีผู้โดยสารชายคนหนึ่งที่ขึ้นเรือลำจากฮ่องกงติดเชื้อ COVID-19

ชาวอเมริกันหลายคนบนเรือไดมอนด์พรินเซสที่ปฏิเสธที่จะกลับประเทศ ร่วมกับผู้โดยสาร 300 คนแรก ยืนยันว่าต้องการอยู่บนเรือให้ครบตามกำหนดการกักตัวเพื่อดูอาการจนถึงวันที่ 19 ก.พ. โดย แมธทิว สมิธ นักกฎหมายชาวอเมริกัน ทวีตข้อความว่า เขาต้องการเดินทางกลับสหรัฐฯ ด้วยตัวเองหลังแน่ใจว่าไม่ติดเชื้อ

ดร.แอนโทนี ฟอซี ผู้อำนวยการสถาบันโรคภูมิแพ้และโรคติดเชื้อแห่งชาติสหรัฐฯ หรือ NIAID ให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าว CBS ของสหรัฐฯ ว่า มีผู้โดยสารชาวอเมริกันอย่างน้อย 40 คนติดเชื้อ COVID-19 และจะได้รับการรักษาตัวที่ญี่ปุ่นให้หายเป็นปกติก่อนส่งตัวกลับสหรัฐฯ

ขณะที่ กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ยืนยัน พบผู้ติดเชื้อ COVID-19 ทั้งหมด 14 คน จากกลุ่มชาวอเมริกัน 300 คนที่กำลังเดินทางกลับประเทศซึ่งถูกแยกตัวออกจากกลุ่มที่ไม่พบว่าติดเชื้อระหว่างการเดินทางกลับ และผู้โดยสารทั้งหมดจะถูกกักตัวอีก 14 วันหลังเดินทางถึงสหรัฐฯ เพราะทางการสหรัฐฯ ไม่ยอมรับว่า การกักตัวบนเรือไดมอนด์พรินเซสที่ญี่ปุ่นเป็นการสังเกตอาการที่ได้มาตรฐานความปลอดภัยด้านสาธารณสุขของสหรัฐฯ

ชาวอเมริกันหลายคนไม่พอใจกับมาตรการนี้

สำนักข่าว CNN รายงานว่า แผนการก่อนหน้าที่จะมีการพาผู้โดยสารชาวอเมริกัน 300 คนแรกกลับบ้านก่อนกำหนด ทางการสหรัฐฯและญี่ปุ่นตกลงกันไว้ว่า ผู้โดยสารทุกคนทุกเชื้อชาติจะเดินทางออกจากเรือในวันที่ 19 ก.พ. โดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุขญี่ปุ่นได้เริ่มตรวจเลือดของผู้โดยสารหาผู้ติดเชื้อ เริ่มจากกลุ่มที่มีอายุมากกว่า 80 ปีขึ้นไปแล้วไล่ลงมาเรื่อยๆ และจะตรวจจนครบทุกคน ก่อนอนุญาตให้มีการแยกย้ายเดินทางกลับบ้านในวันที่ 19 ก.พ. 'แต่กระบวนการตรวจและคัดกรองนี้ไม่รวมถึงผู้โดยสารชาวอเมริกัน'

"รัฐบาลสหรัฐฯ ต้องการพาเราออกจากเรือ ทั้งๆ ที่ยังไม่ได้รับการตรวจผลติดเชื้อให้ชัดเจน แต่จะพาเราบินกลับไปพร้อมๆ กับกลุ่มผู้ติดเชื้อจำนวนมาก แล้วจึงค่อยกักตัวเราเพื่อดูอาการอีก 2 สัปดาห์ภายหลัง มันสมเหตุสมผลตรงไหน?" แมธทิว สมิธ นักกฎหมายชาวอเมริกันทวีต

แคเรย์ แมนซีคาลโก นักธุรกิจด้านอสังหาริมทรัพย์ในยูทาห์ กล่าวกับ CNN ถึงกรณีที่ต้องถูกกักตัวอีกครั้งเมื่อเดินทางถึงสหรัฐฯ ว่าทำให้เธอต้องแบบรับค่าใช้จ่ายเอง เธอรู้สึกราวกับต้องติดคุกทั้งๆ ที่ไม่ได้ทำอะไรผิดเลย พวกเขาจับเธอไว้อย่างไร้เหตุผล และยิ่งถูกกักตัวนานเท่าไหร่สถานการณ์ก็ยิ่งแย่ลง เพราะไม่ใช่แค่เธอต้องแบกรับความรู้สึกสุดจะทนเช่นนี้ยาวนานขึ้น แต่มันหมายถึงการที่ เธอยังต้องแบกรับค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นอีกกว่า 50,000 ดอลลาร์ หรือราว 1.55 ล้านบาทในการอยู่ต่ออีก 2 สัปดาห์ด้วย

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook