ก.พ. วางมาตรการคุมเข้มรับมือการระบาดของไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ในการจัดสอบภาค ก. ประจำปีพ.ศ.25

ก.พ. วางมาตรการคุมเข้มรับมือการระบาดของไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ในการจัดสอบภาค ก. ประจำปีพ.ศ.25

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
สำนักงาน ก.พ. วางมาตรการคุมเข้มการจัดสอบภาค ก. ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 ซึ่งจะเริ่มขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 19 กรกฎาคมนี้ เพื่อรับมือสถานการณ์การระบาดของไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 นายนนทิกร กาญจนะจิตรา รองเลขาธิการ ก.พ. กล่าวว่า จากการที่สำนักงาน ก.พ. ได้เปิดรับสมัครสอบแข่งขันเพื่อบรรจุบุคคลเข้ารับราชการ โดย ก.พ. เป็นผู้ดำเนินการ สอบภาคความรู้ความสามารถทั่วไป (ภาค ก.) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ประกาศนียบัตรวิชาชีพเทคนิค อนุปริญญา ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ปริญญาตรี หรือปริญญาโท หรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกันในสาขาวิชาใดวิชาหนึ่งที่ ก.พ. รับรอง โดยจะเริ่มสอบเป็นวันแรกในวันที่ 19 กรกฎาคม 2552 ในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ และระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพเทคนิค อนุปริญญา ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ที่อิมแพ็ค เมืองทองธานี และมหาวิทยาลัยรามคำแหง (บางนา) เพื่อเป็นการรับมือกับสถานการณ์การระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 สำนักงาน ก.พ. ได้มีการประสานไปยังกระทรวงสาธารณสุข เพื่อร่วมหามาตรการป้องกัน ประกอบด้วย การแนะนำให้ผู้เข้าสอบสวมหน้ากากอนามัยหากรู้สึกว่าตนเองมีไข้ต่ำ ไอ เจ็บคอ มีน้ำมูก และแจ้งให้กรรมการคุมสอบทราบ การคัดกรองผู้เข้าสอบ หากพบว่ามีไข้หรือมีอาการน่าสงสัยจะจัดที่นั่งสอบแยกออกจากผู้เข้าสอบคนอื่นๆ ส่วนแนวทางป้องกันการทุจริตการสอบ รองเลขาธิการ ก.พ. กล่าวว่า สำนักงาน ก.พ. มีการกำหนดไว้อย่างรัดกุมทุกขั้นตอน เริ่มตั้งแต่การสมัครซึ่งเปิดให้สมัครสอบได้ทางอินเตอร์เน็ตเท่านั้น พร้อมกันนี้ยังได้รับความร่วมมือจากเจ้าหน้าที่ตำรวจในการตรวจตราและเฝ้าระวังการทุจริตต่างๆ เป็นอย่างดี นอกจากนี้ ในส่วนของแบบทดสอบจะมีการรักษาความปลอดภัยอย่างรัดกุม ทั้งก่อนและหลังวันสอบ อาทิ การจำกัดบุคคลที่รับรู้ การวางระบบรักษาความปลอดภัยในการจัดพิมพ์ และทันทีที่ผลิตแบบทดสอบเสร็จ จะถูกนำมาสนามสอบในทันที โดยถือเป็นเอกสารลับมาก ห้ามเปิดเผยทั้งก่อนและหลังวันสอบ ซึ่งในวันสอบผู้สอบต้องนำบัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรประจำตัวเจ้าหน้าที่ของรัฐที่มีรูปถ่าย ลายมือชื่อ และเลขประจำตัวประชาชน 13 หลักอย่างชัดเจน นำไปแสดง หากไม่มี จะไม่ได้รับอนุญาตให้เข้าห้องสอบโดยเด็ดขาด ขณะเดียวกัน ห้ามนำเครื่องมือสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์ทุกชนิด อาทิ โทรศัพท์เคลื่อนที่ วิทยุติดตามตัว วิทยุสื่อสาร เครื่องคำนวณ อุปกรณ์ที่ใช้คำนวณได้ เครื่องบันทึกภาพ หรือเครื่องบันทึกเสียง เข้าห้องสอบโดยเด็ดขาด หากเจ้าหน้าที่ตรวจพบ จะถือว่ามีเจตนาทำการทุจริตสอบและจะให้ยุติการสอบสำหรับบุคคลนั้น ทั้งนี้ ผู้ที่ไม่ปฏิบัติตามระเบียบการสอบ ผู้ทุจริต หรือพยายามทุจริตจะไม่ได้รับอนุญาตให้เข้าสอบหรือให้ยุติการสอบ โดยผู้เคยกระทำการทุจริตในการสอบเข้ารับราชการ หรือสอบ เข้าปฏิบัติงานในหน่วยงานของรัฐ ถือเป็นลักษณะต้องห้ามในการเข้ารับราชการตามมาตรา 36 ข. (11) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook