''ฟอร์เวิร์ดเมล'' ผิด ก.ม.เสี่ยงติดคุกได้

''ฟอร์เวิร์ดเมล'' ผิด ก.ม.เสี่ยงติดคุกได้

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
หลังจากที่พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิว เตอร์ พ.ศ. 2550 มีผลบังคับใช้ไปแล้วส่งผลให้การใช้คอมพิวเตอร์เพื่อสื่อสารใน ชีวิตประจำวันต้องมีความระมัดระวังมากขึ้น ทางสมาคมนิสิตเก่าบัญชีจุฬาฯ จึงได้จัดเสวนาโต๊ะกลม เรื่อง ฟอร์เวิร์ดเมล...อาจติดคุกได้ยังไง โดยมีวิทยากร คือ นายเสนีย์ วัชรศิริธรรม ผู้จัดการตรวจสอบเทคโนโลยีสารสนเทศ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) และนายสิริยศ ศรีสุขสวัสดิ์ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารอาวุโส บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน)

นายสิริยศ ศรีสุขสวัสดิ์ กล่าวว่า พ.ร.บ.ว่าด้วย การกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ เป็นกฎหมายที่ออกมาใช้ดำเนินการกับผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ซึ่งการกระทำความผิดก็มีหลายอย่าง อาทิ การนำเข้าข้อมูลและเผยแพร่ข้อมูลที่ไม่เหมาะสม การนำภาพตัดต่อ ดัดแปลง เข้าสู่ระบบจนทำให้ผู้อื่นเสียหายได้รับความอับอาย การแฮกระบบคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการป้องกัน เข้าไปดูหรือขโมยข้อมูลของผู้อื่น แอบดักรับข้อมูลของผู้อื่นระหว่างส่งข้อมูลในระบบคอมพิวเตอร์ ส่งข้อมูลหรืออีเมล ที่ปลอมแปลงที่มา ( เมล) ทำให้รบกวนการใช้ระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่น ฯลฯ

อย่างไรก็ตามปกติผู้ที่ใช้คอมพิวเตอร์มักจะ ต้องใช้อีเมลเพื่อติดต่อสื่อสาร ซึ่งอีเมลที่เราได้รับอาจมีทั้งได้จากคนรู้จักและไม่รู้จัก เนื้อหาที่สื่อสารก็แตกต่าง กันไป เราจึงต้องกลั่นกรองก่อนหากจะส่งต่อ ซึ่งการฟอร์เวิร์ดเมลที่เข้าข่ายผิดกฎหมาย ได้แก่ อีเมลที่มีเนื้อหาก่อให้เกิดความเสียหายให้ผู้หนึ่งผู้ใด อีเมลที่สร้างความตื่นตระหนก ตกใจ แก่คนทั่วไป อีเมลที่เป็นภัยต่อความมั่นคงของชาติ สถาบัน หรือเป็นความผิดด้านก่อการร้าย และอีเมลที่มีเนื้อหา ภาพลามกอนาจาร

ด้านนายเสนีย์ วัชรศิริธรรม กล่าวว่า ในการใช้งานอีเมลให้ปลอดภัยมีหลักง่าย ๆ ที่สามารถปฏิบัติได้ คือ ให้ระวังอีเมลที่ส่งมาจากคนที่ไม่รู้จัก ถ้าไม่แน่ใจให้ลบทิ้งทันที อย่าเปิดไฟล์ที่แนบมากับอีเมล หากมาจากแหล่งที่ไม่น่าไว้วางใจ

อย่าฟอร์เวิร์ดเมล หรือคลิป ภาพลามกหรือข้อความที่อาจทำให้ผู้อื่นเสียหาย หรือเป็นข้อมูลที่เป็นภัยต่อความมั่นคงของชาติและสถาบัน และหลีกเลี่ยงส่งข้อมูลที่เป็นความลับทางอีเมล และอย่าใข้อมูลส่วน ตัวทางเว็บไซต์ที่ไม่น่าไว้วางใจ ในกรณีที่จำเป็นต้องส่งควรจะมีการเข้ารหัส หรือใช้พับลิค คีย์ อินฟราสตรัค เจอร์ และหากไม่จำเป็นไม่ควรใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ที่เป็นสาธารณะ ต่างถิ่น ต่างประเทศ เพราะมีโอกาสที่จะถูกดักจับข้อมูลจากคีย์บอร์ด

นอกจากนี้หากจะเข้าใช้งานในเว็บไซต์ใด ควรจะพิมพ์ชื่อเว็บไซต์นั้น ๆ ด้วยตนเองมากกว่ากดจากลิงก์ ที่มีคนส่งมา เพื่อป้องกันการโดนไวรัส ในส่วนขององค์กรสามารถลดความเสี่ยงด้วยการออกกฎระเบียบในการใช้ อีเมล เพื่อไม่ให้พนักงานใช้อีเมลแบบผิดกฎหมาย ซึ่งในบางองค์กรอาจมีการทำอีเมล คอนเทนต์ มอนิเตอริ่ง เพื่อป้องกันการนำข้อมูลที่สำคัญส่งผ่านอีเมลออกไปภายนอกจากคนขององค์กร

อีเมลหากใช้งานถูกวิธีก็มีประโยชน์มาก ก่อนที่จะฟอร์เวิร์ดเมลอะไรควรกลั่นกรองดูซักนิด เพื่อให้เราไม่ต้องเสี่ยงต่อการกระทำผิดกฎหมาย.

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook