3 นักปรัชญาชื่อก้องโลกเชื่อมาพันปีแล้ว! ผู้ปกครองที่ดีนำประชาชนสู่ "ความยุติธรรม-ความสุข"
คำที่ถูกค้นบ่อย
    Sanook//s.isanook.com/sr/0/images/logo-new-sanook.png60060
    //s.isanook.com/ns/0/ud/1612/8064931/good-ruler-philosophy.jpg3 นักปรัชญาชื่อก้องโลกเชื่อมาพันปีแล้ว! ผู้ปกครองที่ดีนำประชาชนสู่ "ความยุติธรรม-ความสุข"

    3 นักปรัชญาชื่อก้องโลกเชื่อมาพันปีแล้ว! ผู้ปกครองที่ดีนำประชาชนสู่ "ความยุติธรรม-ความสุข"

    2020-03-28T09:20:18+07:00
    แชร์เรื่องนี้

    มีการพูดกันเรื่องคนดีกันมากเหลือเกินโดยเฉพาะอย่างยิ่งกับเรื่องที่จำเป็นและสำคัญมากคือ การหาคนดีมาปกครองบ้านเมืองเพื่อความสงบสุขและความเจริญรุ่งเรืองของประเทศ จนกระทั่งเกิดกลุ่มคนที่ถูกเรียกขานกันว่าเป็น “คนดีย์” ขึ้นมาเป็นจำนวนมาก จึงอยากจะอ้างอิงถึงทางวิชาปรัชญาซึ่งนักปราชญ์ชาวกรีก 3 คน ซึ่งเป็นบุคคลที่อยู่ร่วมสมัยกับพระพุทธเจ้าของเราได้กล่าวถึงความดีอันสูงสุดซึ่งบรรดาผู้ปกครองบ้านเมืองจะต้องทำเพื่อประชาชนนั้นคืออะไร? 

    วิชาปรัชญาแบ่งความดีกับความงามออกจากกัน กล่าวคือ วิชาที่เกี่ยวกับความดีคือ จริยศาสตร์ (Ethics) ส่วนวิชาที่เกี่ยวกับความงามคือ สุนทรียศาสตร์ (Aesthetics) ในที่นี้จะกล่าวถึงเฉพาะจริยศาสตร์เพราะจริยศาตร์เป็นวิชาที่จะใช้ประเมินค่าของมนุษย์ว่า ดี ชั่ว ถูก ผิด ควรทำ ไม่ควรทำ เป็นต้น

    ครับ! นักปราชญ์ชาวกรีกโบราณ 3 คนนี้เป็นอาจารย์-ลูกศิษย์กัน โดยมี โสกราตีส ชาวเมืองเอเธนส์ผู้เกิดก่อนคริสตกาล 470 ปี ซึ่งถือกันว่าเป็นผู้วางรากฐานของปรัชญาตะวันตกเป็นอาจารย์ใหญ่ และมีลูกศิษย์ชื่อ เพลโต ผู้เป็นนักเขียนและเป็นผู้ก่อตั้งอาคาเดมีซึ่งเป็นสำนักวิชาในกรุงเอเธนส์ ซึ่งมีลูกศิษย์เอกชื่อ อริสโตเติล ผู้ที่ต่อมากลายเป็นอาจารย์ของพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชที่เรารู้จักชื่อเสียงกันเป็นอย่างดีนั่นเอง

    จากหลักฐานงานเขียนของเพลโตอ้างว่าความดีอันสูงสุดในความเห็นของโสกราตีสคือ ความยุติธรรม (Justice) ส่วนอริสโตเติลในฐานะลูกศิษย์ผู้มีความคิดเป็นของตัวเองกลับเห็นว่า ความสุข (Happiness) คือ ความดีอันสูงสุด ดังนั้นเมื่อนำมาประยุกต์กับปรัชญาการเมืองแล้วก็คือ ผู้ปกครองที่ดีที่สุดก็คือผู้ปกครองที่นำมาซึ่งความยุติธรรมและความสุขมาสู่ประชาชนนั่นเอง

    แต่ทว่า คนดีต้องพิสูจน์ด้วยการกระทำ ไม่สามารถอ้างความเป็นคนดีด้วยการไม่กระทำ ดังนั้นในแง่ของความยุติธรรมต้องกระทำตามหลักความยุติธรรมตามธรรมชาติ (Natural Justice) โดยถือว่าความยุติธรรมอันเป็นสากลไม่ขึ้นอยู่กับมาตรการที่มนุษย์ตกลงกำหนดขึ้น หากสิ่งใดที่เป็นสิทธิตามธรรมชาติของมนุษย์อยู่แล้ว ผู้ใดก็มิอาจจะลิดรอนได้

    ความยุติธรรมจึงต้องสอดคล้องกับธรรมชาติเพื่อไม่เป็นการตัดทอนความเป็นธรรมอันมนุษย์พึงต้องมี นอกจากนี้ ยังต้องตระหนักในกลักการที่ว่า “ความยุติธรรรมที่ล่าช้าก็คือความไม่ยุติธรรม” (justice delayed is justice denied) มีความหมายว่า ถ้ากฎหมายจัดให้มีการเยียวยาผู้เสียหาย แต่การเยียวยานั้นมาไม่ทันเวลา ส่งผลให้ผู้เสียหายและสังคมไม่มีความยอมรับในความยุติธรรม ก็ถือว่าไม่แตกต่างกับการที่ไม่ได้เยียวยา หากการพิจารณาคดีความชักช้ายืดยาดจนเกินไปก็ถือว่าเป็นความยุติธรรมอันไม่สมบูรณ์

    ส่วนเรื่องของความสุขนั้น อริสโตเติลใช้คำว่า eudaimonia (ยู-ได-โม-เมีย) ซึ่งมีวิธีการดำรงชีวิตที่เหมาะสมตามแต่ละบุคคล เนื่องจากอริสโตเติลเชื่อว่า รูปแบบชีวิตที่ดีที่สุดสำหรับมนุษย์คือ การพัฒนาลักษณะนิสัยที่ถูกต้อง เรียกง่ายๆ คือ “ความพอดี” (Golden Mean) หรือความพอเพียงนั่นเอง

    ครับ! ผู้ปกครองที่ดีที่สุดก็คือผู้ปกครองที่นำมาซึ่งความยุติธรรมและความสุขมาสู่ประชาชนนั่นเอง

    ขอขอบคุณ

    ภาพ :AFP