จะสู้กับ “COVID-19” บุคลากรทางการแพทย์ต้องมีอะไรบ้าง

จะสู้กับ “COVID-19” บุคลากรทางการแพทย์ต้องมีอะไรบ้าง

จะสู้กับ “COVID-19” บุคลากรทางการแพทย์ต้องมีอะไรบ้าง
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ขณะที่ไวรัสโคโรนากำลังแพร่ระบาดทั่วโลก บุคลากรทางการแพทย์ถือเป็น “ทัพหน้า” ในการต่อสู้กับโรคร้ายเพื่อรักษาชีวิตของประชาชน อย่างไรก็ตาม สุขภาพอนามัยและความปลอดภัยของแนวหน้าเหล่านี้ก็ถือเป็นสิ่งสำคัญ ดังนั้น ปัจจัยที่จะสนับสนุนให้การทำงานของบุคลากรทางการแพทย์เป็นไปอย่างราบรื่นจึงถือเป็นความจำเป็นอย่างเร่งด่วน

“เราต้องนึกถึงแนวทางที่ถูกต้องในการดูแลผู้ป่วย ขณะเดียวกันก็ต้องใส่ใจผู้ที่ดูแลผู้ป่วยเหล่านี้ด้วย เพื่อให้มั่นใจว่าพวกเขาจะไม่ติดเชื้อ” ดร.เอมี คอมพ์ตัน-ฟิลลิปส์ หัวหน้าเจ้าหน้าที่คลินิกของเดอะโพรวิเดนซ์ เซนต์โจเซฟ เฮลธ์ กล่าว และเนื่องจาก เดอะโพรวิเดนซ์ เซนต์โจเซฟ เฮลธ์ เป็นเครือข่ายโรงพยาบาลที่มีสำนักงานใหญ่อยู่ในรัฐวอชิงตัน และรับผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสโคโรนากว่า 400 คน จาก 7 รัฐ นั่นหมายความว่าจะมีความต้องการอุปกรณ์ป้องกันและพื้นที่สำหรับแยกตัวผู้ป่วยเพิ่มเป็นจำนวนมาก

สิ่งที่จำเป็นต้องมีในการทำงานของบุคลากรทางการแพทย์ เพื่อรับมือกับโรคระบาดจากเชื้อไวรัสโคโรนา ได้แก่

อุปกรณ์ป้องกันตนเอง: เสื้อคลุม ถุงมือ แว่นตากันลม และหน้ากากป้องกันสารพิษ หรือหน้ากากทางการแพทย์

แม้จะยังไม่มีความชัดเจนว่าไวรัสโคโรนาแพร่ระบาดได้อย่างไร แต่ผู้เชี่ยวชาญก็เห็นตรงกันว่า วิธีที่เป็นไปได้มากที่สุดคือการติดต่อผ่านการสัมผัสกับผู้ติดเชื้อ โดยเฉพาะละอองฝอยที่กระจายออกมา เมื่อผู้ป่วยไอหรือจาม ดังนั้น ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคของสหรัฐอเมริกา หรือ C.D.C. จึงแนะนำให้บุคลากรทางการแพทย์สวมอุปกรณ์ป้องกัน ได้แก่ เสื้อคลุม ถุงมือ แว่นตากันลม และหน้ากาก เมื่อต้องดูแลผู้ป่วยโรค COVID-19 เพื่อป้องกันการติดเชื้อ

แต่เนื่องจากขณะนี้ อุปกรณ์เหล่านี้ขาดแคลนในสหรัฐอเมริกา ตัวแทนจากโรงพยาบาลต่างๆ ทั่วประเทศระบุว่า พวกเขาต้องพยายามใช้อุปกรณ์เหล่านี้อย่างประหยัด ประกอบกับทางโรงพยาบาลได้จัดกลุ่มผู้ป่วยเข้าไว้ด้วยกัน ทำให้บุคลากรทางการแพทย์ไม่ต้องเปลี่ยนอุปกรณ์ทุกครั้งที่มีการติดต่อกับผู้ป่วย และบางคนต้องใช้หน้ากากซ้ำเป็นเวลาหลายวัน ในขณะที่ในสถานการณ์ปกติ แพทย์จะเปลี่ยนทั้งหน้ากากและอุปกรณ์อื่นๆ ก่อนที่จะพบผู้ป่วยแต่ละราย

“โรคระบาดใหญ่นี้ไม่ใช่การวิ่งเร็วในระยะสั้น แต่เป็นวิ่งมาราธอน และเราพยายามทำให้ผู้คนแข็งแรงให้มากที่สุดเท่าที่เราจะทำได้” ดร.เทเรซา อมาโต หัวหน้าแผนกการแพทย์ฉุกเฉินจากลอง ไอแลนด์ จิววิช ฟอเรสต์ ฮิลส์ โรงพยาบาลในควีนส์ ที่รับผู้ป่วยโรค COVID-19 กว่า 100 คน

การแยกตัวผู้ป่วย COVID-19

C.D.C. มีคำแนะนำให้ผู้ป่วยโรค COVID-19 แยกตัวจากผู้ป่วยคนอื่นๆ อยู่ในห้องเดี่ยว มีประตูปิด แต่จะมีผู้ป่วยหนักที่ต้องการห้องพิเศษ ที่มีความดันอากาศเป็นลบ ซึ่งมีอากาศไหลเข้าแต่ไม่ระบายออกตามปกติ ห้องลักษณะนี้มีไว้สำหรับขั้นตอนพิเศษ ซึ่งอาจจะมีละอองอณูของไวรัสขนาดเล็ก เช่น การใส่ท่อเข้าไปในร่างกาย เพื่อช่วยในการหายใจ หรือการส่องกล้องตรวจหลอดลม โดยขั้นตอนเหล่านี้จำเป็นต้องใช้หน้ากากกันสารพิษด้วย

คนส่วนใหญ่ที่ติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ไม่จำเป็นต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล แต่ระบบการแพทย์ในหลายๆ เมืองและหลายรัฐต่างก็กำลังตึงเครียด เนื่องจากการระบาดเพิ่มสูงขึ้น ดังนั้น โรงพยาบาลหลายแห่งจึงยกเลิกการรับผู้ป่วยที่ไม่จำเป็นต้องรับการรักษาในโรงพยาบาล เพื่อให้มีเตียงสำหรับรองรับผู้ป่วยใหม่ที่จะเข้ามา

การกำหนดมาตรการป้องกันที่เหมาะสม

โรคบางชนิด เช่น โรคหัดและวัณโรค สามารถแพร่กระจายได้ไกลและมีวงกว้างผ่านทางอากาศ สามารถลอยอยู่ในอากาศได้นานหลายชั่วโมง และเดินทางได้ไกลจากการจามหรือไอ ดังนั้น จึงต้องมีมาตรการป้องกันในระดับสูง โดยบุคลากรทางการแพทย์จะต้องสวมหน้ากากกันสารพิษ และผู้ป่วยต้องแยกตัวอยู่ในห้องที่มีความดันอากาศเป็นลบ เพื่อไม่ให้เชื้อโรคแพร่กระจาย

อย่างไรก็ตาม ผู้เชี่ยวชาญคิดว่า โรคทางเดินหายใจอื่นๆ เช่น ไข้หวัด ไม่ได้อาศัยอยู่ในอากาศเป็นเวลานาน แต่ละอองฝอยไวรัสจะออกจากปากหรือจมูกของคน และร่วงหล่นสู่พื้นในระยะไม่เกิน 6 ฟุต ซึ่งองค์การอนามัยโลกระบุว่าเชื้อไวรัสโคโรนาก็แพร่กระจายในลักษณะนี้เช่นกัน โดยแพร่เชื้อจากการสัมผัสใกล้ชิดในครอบครัวหรือกลุ่มคนที่มีขนาดใหญ่ รวมทั้งการสัมผัสพื้นผิวที่มีเชื้อโรคอยู่
โดยทั่วไป บุคลากรทางการแพทย์มักจะมองว่าโรคที่เกิดจากละอองฝอยนี้มีการป้องกันในระดับต่ำกว่าโรคที่กระจายอยู่ในอากาศ และใช้หน้ากากทางการแพทย์แทนที่จะใช้หน้ากากกันสารพิษ แต่สำหรับโรคใหม่อย่าง COVID-19 องค์กรทางการแพทย์ได้แนะนำให้ใช้มาตรการป้องกันขั้นสูงขึ้น

อย่างไรก็ตาม แนวทางล่าสุดของ C.D.C. ได้แนะนำให้ใช้หน้ากากทางการแพทย์ในการรักษาผู้ป่วยโรค COVID-19 ในกรณีที่หน้ากากกันสารพิษมีไม่เพียงพอ ส่งผลให้เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์ในหมู่บุคลากรทางการแพทย์และพยาบาล

“นี่ไม่ใช่เวลาที่เราจะลดมาตรฐานและการป้องกัน หรือทำอะไรมักง่าย” บอนนี คาสเตลโล พยาบาลวิชาชีพและผู้บริหารสหภาพพยาบาลแห่งชาติ กล่าว “หากพยาบาลและบุคลากรทางการแพทย์ไม่ได้รับการป้องกัน หมายความว่าผู้ป่วยและประชาชนคนอื่นๆ ก็จะไม่ได้รับการป้องกันเช่นกัน”

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook