"บิ๊กตู่" ยัน ไม่ยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ถ้าสถานการณ์โควิด-19 ไม่ดีขึ้น ประเมินทุก 1 เดือน

"บิ๊กตู่" ยัน ไม่ยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ถ้าสถานการณ์โควิด-19 ไม่ดีขึ้น ประเมินทุก 1 เดือน

"บิ๊กตู่" ยัน ไม่ยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ถ้าสถานการณ์โควิด-19 ไม่ดีขึ้น ประเมินทุก 1 เดือน
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม แถลงผลกการประชุม ครม. โดยกล่าวถึง มาตรการเงินเยียวยาจากรัฐบาล รายละ 5,000 บาท ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการลงทะเบียนนั้น ว่า ได้สั่งการให้กระทรวงการคลัง ไปดำเนินการตรวจสอบอย่างรอบคอบ ซึ่งการตรวจสอบและการคัดกรองผู้ได้รับผลกระทบนั้น ใช้ระบบเอไอตรวจสอบ ตามคุณสมบัติที่กระทรวงการคลังได้ระบุไว้ หลังจากได้รับการยืนยัน กระทรวงคลังก็จะโอนเงินเข้าในระบบของผู้ได้รับผลกระทบภายใน 7 วัน ดังนั้นผู้ที่ลงทะเบียนถึง 20 ล้านคน ไม่ได้หมายความว่าจะได้รับการพิจารณาทั้งหมด แต่คนที่ไม่คุณสมบัติไม่ครบก็ต้องถูกคัดแยกออกไป หากใครมีการลงทะเบียนและกรอกข้อมูลอันเป็นเท็จ และถูกตรวจสอบได้ภายหลัง ก็จะถูกเรียกเงินคืนได้ จึงขอให้ทุกคนเข้าใจในสิทธิประโยชน์ที่แต่ละคนจะได้รับด้วย

ดังนั้นอยากให้ทุกคนเห็นใจซึ่งกันและกัน อย่าตัดโอกาสผู้ที่ได้รับผลกระทบโดยตรง ส่วนกลุ่มคนที่ไม่ได้รับการช่วยเหลือจากมาตรการขั้นต้นนี้ รัฐบาลเตรียมหามาตรการช่วยเหลือ เพื่อให้ครอบคลุมประชาชน โดยเชื่อว่าสถานการณ์นี้จะดำเนินการไปอีกระยะหนึ่ง ดังนั้นรัฐบาลจึงต้องพิจารณาเตรียมมาตรการช่วยเหลือเยียว ระยะสามและสี่ไว้ ซึ่งมาตรการที่ออกมาจะมีวงรอบ 3 เดือน โดยรัฐบาลก็จะพิจารณาจัดหางบประมาณทั้งภายในและภายนอก ซึ่งจะเป็นงบประมาณประจำปี 2563 รวมถึง การพิจารณา พ.ร.ก.เงินกู้ ที่กำลังดำเนินการอยู่ เพื่อให้มีเม็ดเงินเพียงพอ และรัฐบาลจะดำเนินการอย่างเต็มที่ และเป็นไปตามกฎหมายทุกประการ 

นายกรัฐมนตรี ยังกล่าวถึงกรณี ที่ประชาชนเดินทางออกจาก กทม. ไปยังภูมิลำเนาครบ 7 วันแล้ว จะมีตัวเลขผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นหรือไม่นั้น ว่า การที่พบผู้ติดเชื้อรายใหม่เพิ่มขึ้น แสดงให้เห็นว่า สามารถตรวจสอบคัดกรองผู้ติดเชื้อได้มากขึ้น ซึ่งประชาชนที่รู้ว่าตนเองอยู่ในกลุ่มเสี่ยง มาพบแพทย์มากขึ้น ทำให้มีโอกาสพบผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้น ขณะที่ประชาชนที่ไม่ได้เป็นกลุ่มเสี่ยง และดูแลสุขภาพตนเองดี ก็ไม่จำเป็นต้องไปตรวจคัดกรอง เพราะต้องเข้าใจว่ารัฐบาลต้องควบคุมงบประมาณค่าใช้จ่ายทางการแพทย์ เพื่อที่จะได้ดูแลกลุ่มผู้ติดเชื้อ และกลุ่มที่มีความเสี่ยงอย่างแท้จริง

ในส่วนของการปรับมาตรการเพื่อประสิทธิภาพในหารลดการแพร่ระบาด ทางกระทรวงมหาดไทย ซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบทางกฎหมาย ตาม พรก.ฉุกเฉินก็มีอำนาจพิจารณา มาตรการต่างๆ เช่น จังหวัดที่มีตัวเลขติดเชื้อมากขึ้น หรือ พื้นที่ที่มีการแพร่ระบาดมาแล้วก่อนหน้านี้ ก็ดำเนินมาตรการ ปิดร้านค้า ห้ามจำหน่ยสุรา ห้ามเล่นกีฬา ที่สำคัญห้ามเล่นการพนันทุกรูปแบบ พร้อมได้กำชับเจ้าหน้าที่ พลเรือน ตำรวจทหาร เข้มงวดการลักลอบเล่นการพนันทุกพื้นที่ รวมถึงเตือนรานค้าจำหน่ายสินค้า เกินราคา สามารถแจ้งเจ้าหน้าที่ประจำจุดสะกัดต่างๆได้ เพราะมีอำนาจตาม พรก.ที่ประกาศใช้ รวมถึงการปล่อยกู้นอกระบบที่ได้กำชับให้เจ้าหน้าที่ เข้าไปดำเนินการแก้ไข และป้องกันไม่ให้ทำผิดกฎหมาย ดำเนินการกับผู้ทำผิดอย่างไม่ละเว้น 

ส่วนการดูแลคนเดินทางเข้าประเทศ สำหรับชาวต่างชาติ มีเฉพาะผู้ที่มีใบอนุญาตทำงานในประเทศไทยเท่านั้น ส่วนคนไทยที่มาจากประเทศกลุ่มเสี่ยงที่มีการแพร่ระบาดจำนวนมาก ได้นำเข้าสถานกักกันของรัฐแล้ว ทุกคนจะต้องถูกกักตัว 14 วัน โดยการกักตัวมี 2 รูปแบบ ทั้งการกักตัวกับสถานที่ของรัฐ และที่บ้าน ก่อนกลับภูมิลำเนาโดยกระทรวงสาธารณสุขจะบันทึกข้อมูล ร่วมกับกระทรวงมหาดไทย ในการลงข้อมูลบนแอฟพริเคชั่น

นายกฯ ยังให้กระทรวงคมนาคมไปประเมินการเดินทางของประชาชนซึ่งยังพบว่ามีการเคลื่อนย้ายประชาชนเป็นจำนวนมาก จึงให้ทางขนส่งภาครัฐ ดูถึงความจำเป็นในการลดจำนวนเที่ยวบริการลง ซึ่งหากยังไม่สามารถควบคุมกันเองได้ หากยังพบการเดินทางจำนวนมาก ก็จะสั่งหยุดบริหารทั้งหมด เพื่อลดการแพร่เชื้อ  โดยในส่วนของการใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ยังไม่มีแนวโน้มที่จะยกเลิก โดยในภาพรวม พ.ร.ก.ฉุกเฉิน จะใช้ได้ใน 3 เดือน แต่จะมีการประเมินใน 1 เดือนแรกก่อน หากจำเป็นต้องดำเนินการต่อ ในเดือนที่สอง และสาม มาตรการต่างๆ ก็จะเข้มข้นขึ้นตามลำดับ

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook