ผู้เชี่ยวชาญด้านภัยพิบัติ ไขข้อสงสัย ทำไมไทยยังใช้เคอร์ฟิว 24 ชั่วโมงไม่ได้

ผู้เชี่ยวชาญด้านภัยพิบัติ ไขข้อสงสัย ทำไมไทยยังใช้เคอร์ฟิว 24 ชั่วโมงไม่ได้

ผู้เชี่ยวชาญด้านภัยพิบัติ ไขข้อสงสัย ทำไมไทยยังใช้เคอร์ฟิว 24 ชั่วโมงไม่ได้
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

รายการโหนกระแสวันที่ 3 เม.ย. "หนุ่ม กรรชัย กำเนิดพลอย" ในฐานะผู้ดำเนินรายการ ผลิตในนามบริษัท ดีคืนดีวัน จำกัด ออกอากาศทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 12.20 น. ทางช่อง 3 กดเลข 33 ยังเกาะติดสถานการณ์โควิด-19 กรณีนายกรัฐมนตรี ใช้มาตรการเคอร์ฟิว หลายคนสงสัยว่าทำไมต้อง 4 ทุ่มถึงตี 4 ทำไมไม่ปิดตอนกลางวันด้วย วันนี้เปิดใจสัมภาษณ์ "ผศ.ทวิดา กมลเวชช" คณบดีรัฐศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการความเสี่ยงภัยพิบัติ

ตอนนี้ถือว่าเป็นภัยพิบัติมั้ย?

"ใช่แล้วล่ะค่ะ"

ล่าสุด ประกาศเคอร์ฟิว ตั้งแต่ 4 ทุ่มถึงตึ 4 เรื่องนี้ในมุมอาจารย์มองยังไง?

"ท่ามกลางความรู้สึกเราที่อยากจะให้การประกาศมันยาวนาน ตัดตอนไปเลยดีมั้ย ทำให้มันดูรุนแรงไปเลย แต่การลืมไปเรื่องนึงนะคะ ถ้าเราประกาศปิดทุกสิ่งอย่าง มันไม่ใช่แค่น้ำไหลหลาก ไม่ใช่แค่สามสี่วันจะรู้ว่าไปทางไหน งวดนี้คือเชื้อโรค มาตรการต่างๆ ก็เป็นลำดับขั้น หยุดให้รักษาระยะห่างเยอะหน่อย เดี๋ยวจะเริ่มไปจำกัดเวลา ถามว่าทำไมเป็นแบบนี้ ถ้าเราหยุดทุกอย่าง 10 วัน เราอยู่กันยังไง มันก็ยากเหมือนกันนะ ถ้า 24 ชม. 10 วันจะอยู่ยังไง งวดนี้ไม่ใช่สั้นๆ แน่ๆ อย่างที่เห็นพ.ร.ก.ฉุกเฉินออกมามันกี่วันแล้ว งวดนี้มาตรการทุกอย่างที่เกี่ยวกับการสกัดกั้นมันจะยาว เมื่อยาวมันก็กระทบการใช้ชีวิต การให้หยุดเลยในระยะเวลานานมันไม่ง่ายนะ มีหลายเรื่องต้องคิด คนไม่มีรายได้จะรู้สึกยาวนานมาก อาหาร การดำเนินชีวิตอยู่ในบ้าน เราพูดถึงคนที่มีกำลังอยู่ในสต็อก แล้วคนไม่มีล่ะ มันต้องมีการออกแบบวิธีการจัดการจากภาครัฐมาร่วมด้วย ในการทำมาตรการระยะยาวแบบนั้น"

นี่เราวิเคราะห์กันเอง เราไม่รู้หรอกว่าภาครัฐคิดในมุมไหน?

"ถูกต้องค่ะ โดยปกติแล้วที่ผ่านมาเรารู้ว่าการใช้ พ.ร.ก. ฉุกเฉิน ขอความร่วมมือ การประกาศหยุดทุกอย่างเลย 100 เปอร์เซ็นต์อาจจัดการได้ยาก ก็จะเห็นว่าในหลายพื้นที่มีการไปรวมตัวกันในเวลากลางคืน ดังนั้นวิธีการกักตัวในช่วงกลางคืน เป็นการหยุดช่วงเวลาที่มีพฤติกรรมเสี่ยงใดก็ตามในช่วงกลางคืน มันอาจจะลดการติดเชื้อเพิ่มได้ในจำนวนหนึ่ง ปัญหาเดียวคือเวลากลับบ้านคุณจัดการตัวเองได้มากน้อยแค่ไหน ดิฉันเข้าใจว่านี่คือการลดจำนวนลงให้ได้"

แค่จำนวนหนึ่ง?

"ใช่ค่ะ นี่ไม่ได้หวังผลมหาศาลแน่นอน ช่วงกลางคืนมันคุมยากกว่า เมื่อเปรียบเทียบกับกลางวัน กลางคืนมันรู้เห็นได้ยากกว่า แล้วกิจกรรมช่วงกลางวันเป็นกิจกรรมที่มีผลกับการดำรงชีพสูงกว่า ดังนั้นจึงเขยิบมาตรการได้ง่ายกว่า เพื่อลดจำนวนการติดลงบ้าง"

ในมุมชาวบ้านก็ถามว่ากลางวันก็เป็นเวลาที่คนออกมาทำงาน ไปขึ้นรถ ลงเรือ ล่าสุดขอความร่วมมือคลองแสนแสบ แต่พอเอาเข้าจริง ทุกอย่างก็เหมือนเดิม คนก็ยังโหนเรือเพราะต้องไปทำงานหาเงิน แบบนี้จะทำยังไง แล้วอย่างคุณทราย เจริญปุระ แกก็ถามว่าเชื้อโรคเข้ากะดึกเหรอ นี่โควิดหรือกระสือ?

"จริงๆ ที่คุณทรายโพสต์ไม่ได้ผิดอะไรเลยนะ การปิดกลางคืนไม่กี่ชม. นี่คิดจากฐานคุณทราย การปิดตอนกลางคืนอาจไม่ช่วย แต่อย่าลืมว่าเราปิดทุกคืน การปิดทั้งวันไม่ได้มันปิดยากมากจริงๆ คนที่ยังพอมีรายได้อยู่ คนที่ต้องออกไปซื้อกับข้าว คนที่ต้องดูแลพ่อแม่ ในช่วงกลางวันเยอะกว่า การปิดในช่วงกลางคืนอาจมีเป้าหมายหยุดคนเกเรบางคนบางกลุ่ม หยุดกิจกรรมบางอย่าง มันอาจลดได้จำนวนน้อยเมื่อเทียบกับกลางวัน แต่เราหยุดทุกคืน เพราะเราไม่สามารถหยุดทั้งวันได้ 10 วัน เป็นไปไม่ได้"

แล้วจะช่วยลดจำนวนคนติดโควิดได้จริงๆ?

"ถ้ารัฐคุมเข้มจริง นี่คือปัจจัยแรก คุมจริง คุมทุกพื้นที่หรือเปล่า ขณะเดียวกันประชาชนต้องช่วย งานนี้เราต้องช่วยด้วย ตัวเราทุกคนเป็นพาหะได้หมดถ้าเราออกไปข้างนอกและไม่ระวังตัว ถามว่างานนี้จะลดได้ ครึ่งนึงมาจากการปฏิบัติตัวของเราเลย"

กรณีนี้มีโอกาสมั้ยที่ภาครัฐจะเลื่อนมาปิดให้เร็วขึ้นมั้ย เช่นเช้าถึงบ่ายสองขึ้นไป หรือทำงานบ่ายสองถึงหกโมงเย็น?

"การหยุดแบบนี้อาจหยุดในพื้นที่ที่จำกัดก่อนเช่นมีความเสี่ยงสูงมากๆ ปิดงดกิจกรรมในช่วงกลางวันเหลื่อมเวลาบ้าง ร่นเวลาในการทำงานลง หรือแม้แต่การยืดหยุ่นเวลาเข้างานเพื่อลดใช้รถสาธารณะ พูดง่ายๆ เป็นเรื่องของเราต้องตั้งอยู่ในหลักที่ว่าการทำให้เราแยกห่างจากคนอื่นให้ได้มากที่สุด ต้องอยู่ในใจเราก่อนหน้าที่ของเรา ต้องคิดมากกว่านั้น รัฐก็ทำหน้าที่ของรัฐ อย่างเราขึ้นรถลงเรือ เห็นคนไอจามไม่ปิดหน้ากากก็ต้องระวังแล้ว ถ้าหยุดได้ก็ทำให้มาตรการของรัฐดีขึ้น แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นรัฐต้องเข้มกว่านี้อีก ตอนนี้รัฐยังเข้มงวดไม่แรงพอ มาตรการจังหวะนี้คือมาตรการค่อยๆ เขยิบเพื่อให้เราค่อยๆ ตั้งหลักเตรียมตัว เชื่อว่าตอนนี้คนก็มีข้าวของในบ้านมากขึ้นเพื่อให้ออกไปข้างนอกน้อยลง ก็ดีมากนะคะ เอาแค่จำเป็นในแต่ระยะ ขณะเดียวกันก็ลดการออกไปเจอคนให้น้อยลง ขณะเดียวกันบางพื้นที่ต้องเข้มงวดกว่านี้ การขึ้นรถลงเรือต้องไม่เป็นที่รัก เท่าที่เห็นการที่เรายังมีร้านขายของ ร้านชุมชน เซเว่นเปิดอยู่ พูดอย่างนี้ไม่ได้เอาใจนายทุนนะคะ แต่การที่เรามีจุดจำหน่ายของอยู่กระจายๆ ก็ลดการกระจุกในพื้นที่ อาจคำนึงว่าเข้าร้านได้ทีละกี่คน ของจำเป็นบางอย่าง ออกมานอกร้านหน้าร้านมั้ยซื้อขายในอากาศร่มๆ แดดส่องๆ ได้บ้าง อย่าเข้าไปแช่ จริงๆ อยู่ในอากาศอุ่นๆ ลมโกรกๆ หน่อยมันดีกว่าด้วยซ้ำ"

เป็นไปได้มั้ยภาครัฐจะมีโอกาสเคอร์ฟิว 24 ชม. ไม่ออกไปไหน?

"โห มันทำยากมาก การปิดแบบร้อยเปอร์เซ็นต์ หยุดทุกอย่างมันไม่ใช่แค่วันสองวัน เราเห็นตัวอย่างที่อู่ฮั่นหรือบางเมืองในเกาหลี กรณีเขาจะปิด สังเกตว่าเขาจะเอาคนออกก่อน เขาพยายามจัดสรรพื้นที่เป็นรพ. เพื่อรักษา เอาง่ายๆ คนไหนยังอยู่ เขาก็เอาไปอยู่ในพื้นที่ที่เขาจะเซอร์วิสได้ง่ายๆ ส่งข้าวส่งน้ำได้ จีนกับเกาหลีเหมือนกัน คือกรณีตรวจแล้วหาผู้ที่เป็นความเสี่ยงเยอะที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ เอาไปไว้ในพื้นที่ที่จัดสรร และให้มีการดูแลส่งข้าวส่งน้ำ บริการจากภาครัฐ เพราะคนกลุ่มนั้นคือกลุ่มที่ถูกกัก รัฐเป็นคนจัดการและเขาทำได้"

กรณีตอนนี้ สมมติเราปิดขึ้นมา แล้วงานไม่มี แล้วต้องอยู่ในห้องเช่า แอร์ไม่มี เยอะแยะมากมาย ชีวิตลำบาก เราจะทำยังไง?

"ถึงได้บอกว่าถ้าปิดต้องเลือกบางพื้นที่ที่มีความจำเป็น คงไม่ใช่ภาพรวมทั้งหมด และถ้าทำแบบนั้นกลุ่มในสังคมจะมีหลายกลุ่ม ซึ่งเขาเดือดร้อนทันที เช่นคนขาดรายได้มายาวนานมากแล้ว และคนที่ไม่สามารถหาปัจจัยมาใช้ชีวิตได้ ตอนนี้กรณีเราหยุดช่วงกลางคืน จะมีแรงงานจำนวนหนึ่งคือพวกแม่ค้ากะดึก เขาทำงานอยู่จะขาดรายได้ตรงนี้ไป ซึ่งรัฐมีมาตรการอะไรบ้างที่จะช่วยเหลือเยียวยา ที่พูดนี่คือคนจำนวนนี้เขาจะเริ่มอยู่นิ่งๆ แล้วเขาอยู่ได้มั้ย พื้นที่ก็น้อย อยู่ในชุมชุมที่อาจแออัดหน่อย มันไม่ใช่เรื่องมีรายได้หรือไม่มีรายได้ ถ้ารัฐมีพื้นที่กลางในการกักกัน เห็นตอนนี้มีโรงแรมบางโรงแรมเข้ามาช่วยคัดคนรอผลตรวจแต่ยังไม่มีอาการ หรือรอผล ผลน้อย รักษาแล้วรอพักฟื้นก็อาจไปโรงพยาบาลสนาม ซึ่งต้องใช้แรงงานและคนจำนวนหนึ่งช่วยจัดการ เราอาจจ้างงานคนเหล่านี้ที่เขาหยุดกิจกรรมไป แต่นั่นหมายถึงเขาเองก็ต้องกลับบ้าน เขาก็ต้องจัดการตัวเองให้ได้มากที่สุดเท่าที่เราจะมากได้"

กรณีที่ภาครัฐปิดไปแล้ว มองว่าตัวเลขน่าจะลดมั้ย?

"ตัวเลขที่จะติดเพิ่ม ควรจะลดค่ะ เอาจริง ตอนประกาศพ.ร.ก. ตั้งแต่ 27 เป็นต้นมา มันไม่ควรมีคนติดเพิ่ม ถ้าเราทำทุกอย่างกัน 100 เปอร์เซ็นต์ ที่ยังมากเพราะเหตุผลสองอย่าง เราไม่สามารถกวาดหาคนที่เป็นได้เยอะ จะดีมากถ้าเรามีมาตรการหลายอย่าง เช่น ถ้าเรามีพื้นที่พักให้ หลายคนเป็นภาวะเสี่ยงเราบอกว่าเราจะมีมาตรการจ้างงานใดๆ ทำให้เขามีรายได้ เราก็จะหาคนพวกนี้เจอได้"

ถ้าการเคอร์ฟิวไม่ได้ผล คิดว่าจะทำยังไงต่อ?

"ตอนนี้ยังมีคนออกมาทำงานอยู่ ประเด็นอยู่ตรงที่คนที่ออกมา มีกิจกรรมชุกที่สุดคือเรื่องอะไร บางทีอาจไม่ใช่เรื่องการปิดทุกสิ่งอย่าง แต่คือการหยุดกิจกรรมเหล่านั้น ตอนนี้ยังมีคนที่จะต้องแออัดออกมาทำงาน แสดงว่ายังมีภาคส่วนบางภาคส่วนที่ยังหยุดไม่ได้จริงๆ เหรอ รัฐต้องเข้าไปแก้ให้เขาว่าที่ทำไม่ได้เพราะอะไร ต้องไปปลดล็อกตรงนั้นให้เขา"

ในมุมสาธารณสุขควรระดมเงินสร้างรพ.ในอนาคตมั้ย?

"สร้างรพ.หรือไม่นั้นอาจไม่ทัน แต่เงินงบประมาณตอนนี้ต้องจัดการ พระราชบัญญัติทั้งหลายที่คุมงบประมาณอยู่ตอนนี้ ต้องเริ่มคุยว่าเราจะสามารถใช้เงินจำนวนหนึ่งไปให้กับการจัดการทางการแพทย์ให้ได้มากที่สุดจะทำยังไง หากต้องไปใช้โรงแรมหรือที่ที่พร้อม ก็ทุ่มไปแปลงสภาพให้เป็นโรงพยาบาลให้ได้"

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook