8 ปีป.ป.ง.สอบธุรกรรมสถาบันการเงิน6.3ล้านรายการ เป็นเงินสด2.9ล้านรายการ ต้องสงสัย3แสนรายการ

8 ปีป.ป.ง.สอบธุรกรรมสถาบันการเงิน6.3ล้านรายการ เป็นเงินสด2.9ล้านรายการ ต้องสงสัย3แสนรายการ

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
เผย 8 ปี สำนักงานป.ป.ง. ตรวจสอบธุรกรรมสถาบันการเงินทะลุ 6.3 ล้านรายการ เงินสดมากสุด 2.9 ล้านรายการ ธุรกรรมน่าสงสัย 3 แสนรายการ

เกือบ 10 ปีมาแล้ว ที่พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 กำหนดว่า สถาบันการเงิน ต้องรายงาน ธุรกรรม 3 ประภท ต่อ สำนักงานป.ป.ง. คือ หนึ่ง ธุรกรรมเงินสดตั้งแต่ 2 ล้านหรือกว่านั้นขึ้นไป สอง ธุรกรรมมีมูลค่าทรัพย์สินตั้งแต่5 ล้านหรือกว่านั้นขึ้นไป สาม ธุรกรรมที่มีเหตุน่าสงสัย

ทั้งนี้ สถาบันการเงินที่ต้องรายงานมีแค่ 6 ประเภท คือ 1.ธนาคาร 2.บริษัทเงินทุน และบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ 3.บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรม 4.บริษัทประกันชีวิต บริษัทประกันวินาศภัย 5. สหกรณ์ 6 นิติบุคคลที่ดำเนินธุรกิจอื่นที่เกี่ยวข้องกับการเงิน

ทั้งนี้ จากสถิติของสำนักงานป.ป.ง. พบว่า ผลการดำเนินงานในการรับรายงานธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ตั้งแต่ 27 ตุลาคม 2543 - 31 ธันวาคม 2551 ปรากฎรายงานการทำธุรกรรมที่ใช้เงินสด 2 ,929,040 รายการ รายงานการทำธุรกรรมที่เกี่ยวกับทรัพย์สิน 3 ,139,318 รายการ รายงานการทำธุรกรรมที่มีเหตุอันควรสงสัย 311,341 รายการ รวม 6 ,379,699 รายการ

สำหรับ สถิติการรายงานธุรกรรมทางการเงินของกลุ่มสรเงิน ตั้งแต่ กรกฎาคม -ธันวาคม 2551 พบว่า ธนาคาร รายงานธุรกรรมที่มีเหตุสงสัย 87,024 รายการ รายงานธุรกรรมเกี่ยวกับทรัพย์สิน 271,882 รายการ ธุรกรรมเกี่ยวกับเงินสด 281,783 รายการ ประกันภัยประกันวินาศภัย รายงานธุรกรรมเกี่ยวกับทรัพย์สิน 100 ครั้ง บริษัทเงินทุน รายงานธุรกรรมเกี่ยวกับทรัพย์สิน 368 รายการ บริษัท หลักทรัพย์ รายงานธุรกรรมที่มีเหตุสงสัย 184 รายการ ธุรกรรมเกี่ยวกับทรัพย์สิน 382 รายการ สำนักงานที่ดิน รายงานธุรกรรมเกี่ยวกับทรัพย์สิน 21,097 รายการ สหกรณ์ รายงานธุรกรรมที่ใช้เงินสด 303 รายการ นิติบุคคลอื่น ๆรายงานธุรกรรมเงินสด 53 รายการ ทรัพย์สิน 281 รายการและธุรกิจที่มีเหตุน่าสงสัย 10 ครั้ง

ล่าสุด พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2552 ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม โดยจะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 18 พฤศจิกายน 2552 ประเด็นสำคัญที่มีการแก้ไขเพิ่มเติมคือ การกำหนดให้ผู้ประกอบอาชีพ 9 ประเภทมีหน้าที่ต้องรายงานการทำธุรกรรม

ทั้งนี้ 9 ธุรกิจใหม่ ประกอบด้วย 1. ผู้ประกอบอาชีพเกี่ยวกับการดำเนินการ การให้คำแนะนำ หรือการเป็นที่ปรึกษาในการทำธุรกรรมที่เกี่ยวกับการลงทุนหรือการเคลื่อนย้ายเงินทุน 2. ผู้ประกอบอาชีพค้าอัญมณี เพชรพลอย ทองคำ หรือเครื่องประดับที่ประดับด้วยอัญมณี เพชรพลอย หรือทองคำ 3. ผู้ประกอบอาชีพค้าหรือให้เช่าซื้อรถยนต์4. ผู้ประกอบอาชีพเกี่ยวกับนายหน้าหรือตัวแทนซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ 5. ผู้ประกอบอาชีพค้าของเก่าตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมการขายทอดตลาดและค้าของเก่า 6. ผู้ประกอบอาชีพเกี่ยวกับสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับสำหรับผู้ประกอบธุรกิจที่มิใช่สถาบันการเงิน 7. ผู้ประกอบอาชีพเกี่ยวกับบัตรเงินอิเล็กทรอนิกส์ที่มิใช่สถาบันการเงิน 8.ผู้ประกอบอาชีพเกี่ยวกับบัตรเครดิตที่มิใช่สถาบันการเงิน และ9. ผู้ประกอบอาชีพเกี่ยวกับการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook