สธ.ยันหวัด 2009 ตาย 65 ติดเชื้อไข้เกิน 5 แสน

สธ.ยันหวัด 2009 ตาย 65 ติดเชื้อไข้เกิน 5 แสน

สธ.ยันหวัด 2009 ตาย 65 ติดเชื้อไข้เกิน 5 แสน
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

สธ. แถลงหวัด 2009 รอบสัปดาห์ ตายเพิ่มอีก 21 รวมเป็น 65 รายแล้ว ส่วนยอดผู้ป่วยไม่เปิดเผยอ้างไม่จำเป็นตามคำแนะนำองค์การอนามัยโลก แต่ทะลุเกิน 5 แสนคนไปแล้ว ออกมาตรการคุมการกระจายยาต้านไวรัสให้กับคลินิก

เมื่อเวลา 11.00 น. วันที่ 29 ก.ค. น.พ.ไพจิตร์ วราชิต รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวถึงสถานการณ์ผู้ป่วยโรคไข้หวัดใหญ่ 2009 ว่า มีผู้ป่วยเสียชีวิตใหม่ในรอบสัปดาห์ 21 ราย ทำให้ยอดผู้ป่วยเสียชีวิตสะสมจำนวน 65 ราย ส่วนการรายงานยอดผู้ป่วยนั้นสืบเนื่องจากขณะ นี้องค์การอนามัยโลก ยืนยันว่าไม่จำเป็นต้องรายงานเพราะไม่สะท้อนความเป็นจริง ในส่วนของไทยขณะนี้คาดว่ามียอดผู้ป่วยจริงเกิน 5 แสนรายแล้ว โดยการตรวจเชื้อของห้องปฏิบัติการพบว่าร้อยละ 50 เป็นผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่ 2009 การตรวจทางห้องปฏิบัติการขณะนี้จึงทำเพื่อเฝ้าระวังในกลุ่มที่มีการแพร่ ระบาด เช่น โรงเรียน ที่ทำงาน และผู้ป่วยในร.พ.ที่มีอาการหนัก

น.พ.ไพจิตร์กล่าวอีกว่า สำนักระบาดวิทยารายงานข้อมูลรอบสัปดาห์ตั้งแต่วันที่ 22-28 ก.ค. มีผู้เสียชีวิตทั้งหมด 65 ราย ใน 27 จังหวัด แยกเป็นภาคกลาง 13 จังหวัด ภาคอีสาน 6 จังหวัด ภาคเหนือ 4 จังหวัด และภาคใต้ 4 จังหวัด เป็นหญิง 30 ราย ชาย 35 ราย พบทุกกลุ่มอายุ โดย 41 ราย เป็นผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงเกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรงมากที่สุด คือ โรคหัวใจและหลอดเลือด 14 ราย เบาหวาน 9 ราย อ้วนน้ำหนักตัวมากกว่า 100 ก.ก. 9 ราย โรคปอดหรือสูบบุหรี่จัด 7 ราย ไตวายเรื้อรัง 6 ราย กินยากดภูมิต้านทาน 4 ราย โรคระบบเลือดและตั้งครรภ์อย่างละ 3 ราย โรคตับและพิการแต่กำเนิดอย่างละ 2 ราย ส่วนอีก 24 รายไม่มีโรคประจำตัว แต่เข้ารับการรักษาช้าหลังป่วยแล้ว 6 วัน ทำให้ยาต้านไวรัสไม่ได้ผลดี และมีการตัดยอดผู้ป่วยจาก 66 ราย เหลือ 65 ราย เนื่องจากพบว่าผู้ป่วย 1 รายเสียชีวิตจากโรคมะเร็ง

น.พ.ไพจิตร์กล่าวต่อว่า คณะอนุกรรมการที่ปรึกษาวิชาการและยุทธศาสตร์ด้านการแพทย์และสาธารณสุขระดับ ชาติ ซึ่งมีศ.เกียรติคุณ น.พ.ประเสริฐ ทองเจริญ เป็นประธาน ให้คำแนะนำเพื่อเตรียมพร้อมป้องกันและควบคุมแก้ ไขสถานการณ์การระบาดของไข้หวัดใหญ่ โดย 1.เร่งให้ความรู้กับแพทย์ทุกคนในการดูแลรักษาตามแนวทางการรักษาพยาบาลผู้ ป่วยไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ให้เป็นไปในทางเดียวกันทั้งภาครัฐและเอกชน ซึ่งจะเร่งส่งให้แพทย์ทุกจังหวัด เชื่อว่าจะทำให้ผู้ป่วยได้รับยาและการรักษาที่ถูกต้อง และ 2.กระจายยาต้านไวรัสโอเซลทามิเวียร์ให้คลินิกทั่วประเทศ ตามมาตรฐานการดำเนินงาน 8 ข้อ คาดว่าจะดำเนินการเร็วที่สุดหลังจากอบรมให้ความรู้แล้ว ส่วนโครงการนำร่องที่จ.ราชบุรี จะดำเนินต่อไป โดย ไม่ต้องรอประเมินผลเพื่อทำในระดับประเทศ ต่อไป

"ต่อจากนี้กรณีที่มีผู้ป่วยเสียชีวิตจากโรคไข้หวัดใหญ่ 2009 จะตั้งคณะทำงาน ประกอบด้วยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญการรักษา ผู้เชี่ยวชาญด้านไวรัส ผู้เชี่ยวชาญจากห้องปฏิบัติการ เพื่อติดตาม ศึกษาเชิงลึก คอยให้คำปรึกษาแพทย์ที่ดูแลผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว มีข้อสงสัย รวมถึงพิจารณาสาเหตุการตาย ว่าเกิดจากโรคไข้หวัดใหญ่ 2009 จริงหรือไม่ รวมทั้งขอความร่วมมือญาติเพื่อขอนำศพมาพิสูจน์เพื่อศึกษาลักษณะและความ รุนแรงของโรคในประเทศไทย" น.พ. ไพจิตร์ กล่าว

ศ.เกียรติคุณ น.พ.ประเสริฐ ทองเจริญ ประธานคณะอนุกรรมการฯ กล่าวว่า แนวทางการกระจายยาต้านไวรัสไปยังคลินิกต่างๆ จากการประชุมเมื่อวันที่ 27 ก.ค.ที่ผ่านมา คณะอนุกรรมการหลายท่าน ซึ่งเป็นผู้ทรงคุณวุฒิ พิจารณาร่วมกันว่าสามารถกระจายยาทั่วประ เทศได้ โดยมีการวิพากษ์และพิจารณาอย่างละเอียด เห็นว่า การที่คนไข้ได้ยาเร็วเป็นสิ่งดี แต่การให้ยาตามคลินิกทุกแห่ง ที่ประชุมเป็นกังวลว่า ต้องคิดอย่างละเอียดถึงข้อดีข้อเสีย แต่อย่างไรก็จำเป็นต้องดำเนินการเพื่อลดความสูญเสียให้ได้มากที่สุด จึงเห็นร่วมกันว่ากระทรวงสาธารณสุขจำเป็นต้องพิจารณาว่าที่ใดควรมีหรือ ไม่ควรมียา จึงกำหนดเกณฑ์เพื่อปฏิบัติขึ้น

ศ.เกียรติคุณ น.พ.ประเสริฐ กล่าวอีกว่า หลัก เกณฑ์การกระจายยา 1.ต้องเป็นคลินิกที่มีแพทย์เป็นผู้สั่งจ่ายยาเท่านั้น 2.คลินิกต้องส่งรายงานหลักฐานการจ่ายยาและอาการไม่พึงประสงค์ คล้ายกับเวชระเบียน ให้สำนักงานสาธารณสุข จังหวัด หรือกระทรวงสาธารณสุขทุกวัน 3.คลิ นิกต้องมีมาตรการป้องกันการติดเชื้อในคลินิกทุกแห่ง 4.คลินิกที่เข้าร่วมต้องได้รับการอบรม มีความรู้ความเข้าใจอย่างเพียงพอ 5.คลินิกนั้นๆ ต้องมีเครือข่ายหรือสามารถส่งต่อผู้ป่วยไปยัง ร.พ.ได้ ดังนั้นจึงต้องเป็นคลินิกที่สมัครใจเข้าร่วมโครงการ 6.มีกลไกติดตามผู้ป่วยทุกรายหลังการรักษาถือเป็นกระบวนการ เฝ้าระวัง 7.ให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมีระบบการควบคุมตรวจสอบคลินิกที่เข้าร่วม โครงการ ทั้งเรื่องมาตรฐาน การสั่งจ่ายยา การป้องกันการติดเชื้อในคลินิกทุกเดือน 8.คลินิกที่เข้าร่วมโครง การต้องปฏิบัติตามคำแนะนำในการดูแลผู้ป่วยอย่างเคร่งครัด เพราะโรคเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา

"หากสธ.ทำอะไรโดยไม่รอบคอบจะขาดความน่า เชื่อถือที่สุด คิดว่าไม่ใช่เรื่องเหลือบ่ากว่าแรงที่สธ.จะทำได้ในการปฏิบัติตามเกณฑ์ที่ กำหนดไว้ และหากสธ.มีปัญหาสำคัญ ก็ควรส่งคณะอนุกรรมการฯ หารือก่อน การทำการอะไรอาจคิดว่าจำเป็นต้องทำ คิดแล้วว่าเหมาะสม แต่นักวิชาการ ซึ่งมีความคิดหลากหลายอาจคิดเห็นคนละมุมก็ได้" ศ.เกียรติคุณ น.พ.ประเสริฐ กล่าว

ศ.เกียรติคุณ น.พ.ประเสริฐ กล่าวด้วยว่า ในสถานการณ์ที่มีโรคระบาดเกิดขึ้นนั้น เป็นไปไม่ได้ที่จะไม่เกิดความสูญเสียเลย แต่สิ่งที่ต้องทำคือลดความสูญเสียให้ได้มากที่สุด กรณีคนตายนั้นแม้จะมีเพียงคนเดียวก็ไม่มีใครสบายใจ สิ่งสำคัญที่ต้องทำวันนี้ คือ ช่วยกันคิด ไม่ใช่มีคนตายก็มาถล่มกัน สิ่งที่ต้องการ คือ อยากให้ประชาชนตระหนักว่าจะป้องกันตัวเองได้อย่าง ไร ซึ่งสธ.ออกคำแนะนำมาตลอดว่าประชาชนควรปฏิบัติอย่างไร

ด้านน.พ.คำนวณ อึ้งชูศักดิ์ ผู้ทรงคุณวุฒิระดับ 10 กรมควบคุมโรค กล่าวว่า ขณะนี้กลุ่มนักเรียนยังคงเป็นกลุ่มป่วยมากที่สุด แต่จากการใช้มาตรการหลายอย่างของสธ.และกระทรวงศึกษาธิการ(ศธ.) รวมถึงความร่วมมือจากโรง เรียน และหน่วยงานต่างๆ ทำให้แนวโน้มเริ่มลดลงบ้าง โดยเมื่อพิจารณาจำนวนผู้ป่วยที่มีอาการไข้หวัด ซึ่งเข้ารักษาในร.พ.ทั่วประเทศครึ่งเดือนแรกของเดือนก.ค.พบว่ามีจำนวนผู้ ป่วยถึง 25,000 คนต่อวัน แต่ครึ่งเดือนหลังพบจำนวนผู้ป่วย 18,000 คนต่อวัน

ส่วน น.พ.มาร์ก ซิมเมอแมน หัวหน้าฝ่ายไข้หวัดใหญ่ โครงการโรคติดเชื้อระหว่างประเทศ ศูนย์ป้องกันและควบคุมโรค สหรัฐอเมริกา กล่าวว่า ในสหรัฐให้ความสำคัญกรณีติดเชื้อจากแม่สู่ลูกมาก โดยพบว่ามีอัตราการเสียชีวิตของหญิงตั้งครรภ์ประมาณร้อยละ 6 ของจำนวนผู้เสียชีวิตทั้งหมด กำลังตีพิมพ์เรื่องติดเชื้อจากแม่สู่ลูกลงในวารสารทางการแพทย์ และถกเถียงกันต่อไปในระดับวิชาการ อย่างไรก็ ตามกรณีติดเชื้อจากแม่สู่ลูกถือเป็นกรณีที่เกิดขึ้นยากมาก

ขณะที่น. พ.วิทิต อรรถเวชกุล ผอ.องค์การเภสัชกรรม (อภ.) กล่าวว่า ยาต้านไวรัสโอเซลทามิเวียร์ที่อภ.จะผลิตเพิ่มอีก 40 ล้านเม็ด ได้สั่งซื้อวัตถุดิบเรียบร้อยแล้ว คาดว่าอีก 2 สัปดาห์จะมาถึง อภ.จะผลิตแล้วเสร็จจำนวน 20 ล้านเม็ดภายในเดือนส.ค.นี้และจะทยอยออกมาอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ อภ.ได้รับมอบหมายรับผิดชอบการกระจายยาต้านไวรัสโอเซลทามิเวียร์ไปทั่วประเทศ ดำเนินการผ่านสหภาพอภ.ในจ.เชียง ใหม่ อุดรธานี และอ.หาดใหญ่ จ.สงขลา ที่รับผิดชอบอย่างน้อยแห่งละ 6 จังหวัด แต่ละแห่งจะมียาสำรองแห่งละ 5 หมื่นเม็ด ทั้งนี้การที่ต้องสำรองยาจำนวนดังกล่าว ได้คิดแล้วว่าต้องสำรองยาไม่น้อยกว่า 50% ของจำนวนประชา กรทั้งประเทศ จึงจะจัดอยู่ในภาวะปลอดภัย

"ยาต้านไวรัสโอเซลทามิเวียร์ที่ผลิตโดยอภ . ภายใต้ชื่อการค้าจีพีโอ เอ-ฟลู มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการรักษาผู้ป่วยได้เช่นเดียวกับยาทามิฟลู ที่ผลิตโดยบริษัทยาต่างชาติ และไม่เพียงแต่ได้กระจายยาของอภ.ไปให้กับโรงพยาบาลของรัฐเท่านั้น สถานพยาบาลเอกชนก็ให้ความเชื่อมั่นในยาของอภ.เช่นกัน โดยรอบ 1-2 เดือนที่ผ่านมา สถานพยาบาลเอกชนสั่งซื้อยาจีพีโอ เอ-ฟลูแล้วมากกว่า 6 แสนเม็ด ใช้รักษาผู้ป่วยได้ 6 หมื่นคน เพราะ 1 คนต้องใช้ยานี้ 10 เม็ด โดยขายให้ราคาเดียวกับภาครัฐ เม็ดละ 25 บาท" น.พ.วิทิตกล่าว

ศ.น.พ. ยง วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ร.พ.จุฬาลงกรณ์ กล่าวว่า ปัญหาดื้อยาต้านไวรัสโอเซลทามิเวียร์ ขณะนี้ทั่วโลกพบจำนวน 5 ราย ใน 4 ประเทศ คือ ญี่ปุ่น 2 ราย แคนาดา เดนมาร์ก และฮ่องกง แห่งละ 1 ราย จำนวนนี้มีฮ่องกงประเทศเดียวที่ผู้ป่วยไม่มีประวัติรับยาโอเซลทามิเวียร์มา ก่อน แต่ไปติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ 2009 ที่ซานฟราสซิสโก สหรัฐ ขณะที่อีก 4 ราย ได้รับยาโอเซลทามิเวียร์ทั้งหมด จากการติดตามอาการผู้ป่วยพบว่า ไม่มีรายใดแพร่เชื้อโรคดื้อยาไปสู่ผู้อื่น เนื่องจากสามารถควบคุมการกระจายของเชื้อดื้อยาได้มีประสิทธิภาพ

ศ. น.พ.ยง กล่าวต่อว่า ส่วนไทยขณะนี้ยังไม่พบการดื้อยาโอเซลทามิเวียร์ และไทยมีมาตรการรองรับอยู่แล้ว โดยเฝ้าระวังอย่างเข้มข้นและสุ่มตรวจแบบคัดกรองเชื้อว่าดื้อยาหรือไม่ สามารถ ทำได้ปริมาณมากและรวดเร็ว ที่ผ่านมาตรวจเชื้อดื้อยาในกลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับยาโอเซลทามิเวียร์หลาย พื้นที่ เช่น จ.ขอนแก่น และกรุงเทพฯ ยืนยันว่ายังไม่พบการดื้อยาในไทยขอให้สบายใจได้

ด้านนายวิทยา แก้วภราดัย รมว.สาธารณสุข กล่าวว่า ขณะนี้มีนโยบายพัฒนาศักยภาพห้องปฏิบัติการร.พ.ศูนย์ทั่วประเทศ 25 แห่งให้เป็นรูปแบบห้องปฏิบัติการเครือข่าย โดยให้กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์จัดทำคู่มือแนวทางปฏิบัติงานและฝึกอบรมบุคลากร ให้สามารถตรวจยืน ยันเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ 2009 อย่างรวดเร็ว ถูกต้องด้วยเทคนิค PCR เนื่องจากร.พ.ศูนย์หลายแห่งมีเครื่องตรวจ PCR และ real-time PCR สำหรับโรคเอดส์และโรคธาลัสซีเมียอยู่แล้ว ขั้นตอนตรวจวิเคราะห์คล้ายกัน สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ 2009 หรือเชื้อไวรัสที่กลายพันธุ์อื่นๆ รวมถึงเชื้ออุบัติใหม่และเชื้อปกติที่รุนแรงได้

"จากรายงานการให้ บริการตรวจวิเคราะห์เชื้อไวรัสสายพันธุ์ใหม่ทางห้องปฏิบัติการของกรมวิทยา ศาสตร์การแพทย์ในส่วนกลางตรวจเฉลี่ยวันละ 150 ตัวอย่าง ส่วนภูมิภาคศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ 14 แห่ง ตรวจได้แห่งละ 60-80 ตัวอย่างต่อวัน รวมแล้วกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์มีปริมาณการตรวจประมาณ 1,500 ตัวอย่างต่อวัน นอกจากนี้ยังมีหน่วยงานอื่นๆ ที่ให้บริการตรวจตัวอย่างผู้ป่วย เช่น ร.พ. รามาธิบดี ร.พ.ศิริราช และร.พ.จุฬาฯ ซึ่งการพัฒนารูปแบบห้องปฏิบัติการเครือข่ายจะส่งผลให้กระทรวงสาธารณสุข สามารถเฝ้าระวัง พยา กรณ์แนวโน้มของโรค รวมทั้งการควบคุมโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น" นายวิทยา กล่าว

เวลา 13.00 น. นายวิทยา แก้วภราดัย รมว. สธ. กล่าวในการประชุมเพื่อมอบนโยบายเร่งรัดบทบาท อสม.และแนวทางดำเนินการสร้างความพร้อมในการรับมือโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ ใหม่ 2009 ว่า พื้นที่ในชนบทของประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระดับหมู่บ้านและชุมชนจะต้องปลอดจากผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่ สายพันธุ์ใหม่ 2009 เนื่องจากบริบทสภาพบ้านเรือนและพื้นที่มีลักษณะที่อยู่ห่างกันไม่แออัดยัด เยียด อย่างในพื้นที่เมือง จึงไม่เอื้อต่อการแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 หากมีการคัดกรองเร็วก็จะสามารถควบคุมการแพร่ระบาดได้ง่าย

นายวิทยา กล่าวด้วยว่า ในการดำเนินการค้นหาและคัดกรองผู้ป่วยในพื้นที่ ทุกภาคส่วนต้องร่วมมือกันดำเนินการอย่างจริงจัง ถ้ามีผู้ป่วยในหมู่บ้านจะต้องถือเป็นเรื่องใหญ่ระดับจังหวัด ที่จะต้องซักประวัติผู้ป่วยอย่างละเอียด เพื่อติดตามผู้ป่วยทันทีว่าไปที่ไหนและเกี่ยวข้องกับใครมาบ้าง เพื่อจำกัดวงไม่ให้เชื้อไวรัสแพร่ระบาด ในระดับหมู่บ้าน

"3 เดือนที่ผ่านมา กระทรวงสาธารณสุขดำเนินการมาตรการต่างๆ ภายใต้คำแนะนำของนักวิชาการมาโดยตลอด ไม่เคยออกนอกเส้นทาง เพิ่งจะมีกรณีเดียว คือ ที่ให้จ.ราชบุรีนำร่องในการให้คลินิกจ่ายยาโอเซลทามิเวียร์ให้กับผู้ป่วย ซึ่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณ สุขก็ยอมรับและจะไม่ดำเนินการเช่นนั้นอีก" นาย วิทยากล่าวแขวะสื่อล้วงลูกเก่ง ยอมรับทำงานลำบาก

ส่วนกรณีที่นายกรัฐมนตรีไม่พอใจกับการที่มีรายงานตัวเลขผู้ติดเชื้อและผู้เสียชีวิตปรากฏบนสื่อก่อนที่จะมีการแถลงรอบสัปดาห์ นายวิทยา กล่าวว่า เป็นประสิทธิภาพของสื่อที่ล้วงลูกเก่ง ตนคงดำเนินการอย่างใดไม่ได้ แต่ยอม รับว่าทำให้การทำงานลำบาก

สำนักระบาดวิทยา แจ้งว่า ข้อมูลล่าสุดขององค์การอนามัยโลก เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม รายงานสถานการณ์โรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ว่า ภูมิภาคอเมริกามีผู้เสียชีวิตสูงสุด 707 ราย ป่วย 87,965 ราย ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีผู้เสียชีวิตเป็นอันดับ 2 คือ 44 ราย ป่วย 7,356 ราย ยุโรปเสียชีวิต 34 ราย ป่วย 16,556 ราย ภูมิภาคแปซิฟิกตะวันตกเสียชีวิต 30 ราย ป่วย 21,577 ราย ภูมิภาคเมดิเตอร์ เรเนียนตะวันออก เสียชีวิต 1 ราย ป่วย 890 ราย ส่วนภูมิภาคแอฟริกายังไม่มีผู้เสียชีวิต พบผู้ป่วย 157 ราย รวมทั่วโลกมีผู้เสียชีวิต 816 ราย มีผู้ป่วย 134,503 ราย อย่างไรก็ตาม องค์การอนา มัยโลกระบุด้วยว่า ตัวเลขผู้ป่วยโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ที่มีการรายงานในแต่ละภูมิภาคอาจไม่ใช่ตัวเลขการป่วยที่เป็นจริงในแต่ ละประเทศ เนื่องจากองค์การอนามัยโลกไม่ได้บังคับให้ต้องตรวจพิสูจน์หรือรายงานจำนวน ผู้ป่วยแต่อย่างใด

ที่รัฐสภา นายวิชาญ มีนชัยนันท์ ส.ส.กทม. พรรคเพื่อไทย อดีตรมช.สาธารณสุข แถลงว่า ล่าสุดบุตรชายที่เรียนอยู่ชั้นป.6 ป่วยเป็นไข้ ผลตรวจออกมาชัดเจนว่าเป็นไข้หวัด 2009 และยังมีเพื่อนนักเรียนอีกรวม 5 คนติดเชื้อด้วย อย่าง ไรก็ตามได้ให้ทานยาทามิฟลูทันที เพราะมีไข้สูงถึง 39 องศา ทำให้หายปกติแล้ว ส่วนโรง เรียนที่บุตรชายศึกษาอยู่ได้ปิดชั้นเรียนทันที แสดงให้เห็นว่าโรคนี้แพร่ระบาดทุกพื้นที่แล้ว แม้รัฐบาลจะมีมาตรการป้องกันแต่ไม่สามารถหยุดยั้งได้ เพราะความเลินเล่อแต่แรก

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook