ความเร็วบรอดแบนด์ ไม่สะใจเท่าที่คาด

ความเร็วบรอดแบนด์ ไม่สะใจเท่าที่คาด

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
ประเทศอังกฤษได้มีการวิจัย เรื่องการใช้บรอดแบนด์ ปรากกฏว่า ผู้ใช้ยังไม่พอใจกับความเร็วอินเทอร์เน็ตที่ ได้รับจากผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต หรือ ไอเอสพี หรือ Internet Service Providers

กลุ่มผู้วิจัยได้พบว่า หนึ่งในห้าหรือ 20% ของผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ต เช่า ซื้อบริการรายเดือนด้วยความเร็ว 8 เมกะบิทต่อวินาที แต่ความเร็วที่ได้รับคือ 2 เมกะบิทต่อวินาที

และรายงานการวิจัยยังระบุอีกว่า มี 9% ของผู้ใช้เท่านั้นที่ได้รับความเร็วมากกว่า 6 เมกะบิทต่อวินาที นอกจากนี้ ความเร็วเฉลี่ยที่เชื่อมต่อกันทั่วประเทศอังกฤษเท่ากับ 4.1 เมกะบิทต่อวินาทีในเดือนกรกฎาคมนี้ เมื่อเทียบกับเดือนมกราคมที่ผ่านมาคือ 3.6 เมกะบิทต่อวินาที

เรื่องความเร็วเฉลี่ยอินเทอร์เน็ตแต่ละประเทศของโลกหาอ่านได้จาก บทความ แข่งกันเป็นประเทศผู้นำความเร็วเน็ต วันพฤหัสบดีที่ 9 กรกฎาคม 2552

รัฐบาลอังกฤษอยากให้ประชาชนทุกบ้านในประเทศมีบรอดแบนด์ความ เร็วเฉลี่ยที่ 2 เมกะบิทต่อวินาทีในปี ค.ศ. 2012 แต่ความเร็วที่วัดและกล่าวมาข้างต้นเป็นความเร็วที่บริเวณเขตในหัวเมืองของอังกฤษเท่านั้น

ซึ่งตามเขตหัวเมืองนั้นก็จะเป็นไอเอสพีขนาดใหญ่ของอังกฤษ 9 บริษัท ส่วนบริติชเทเลคอม (British Tele- com) ซึ่งเป็นบริษัทของรัฐบาลอังกฤษ รั้งท้ายเพราะต้องให้บริการอินเทอร์เน็ตในเขตชนบท ซึ่งแน่นอนความเร็วย่อมต่ำกว่าในเมืองมาก

ในรายงานยังระบุว่า โดยลักษณะการให้บริการอินเทอร์เน็ต เพื่อการอุตสาหกรรมบริการในเมือง และบริการประชาชนในชนบท ยังแตกต่างกันมากเรื่องความเร็วเฉลี่ย ซึ่งทำให้ความหวังของรัฐบาลที่จะให้ความเร็วเฉลี่ยให้ได้ถึง 2 เมกะบิท ต่อวินาที ก็ยังไม่ง่ายอย่างที่คิด

ผู้บริหารสูงสุดของบริษัทออฟ คอม นายเอ็ด ริชาร์ดส์ ได้กล่าวว่า การตั้งราคาของบรอดแบนด์นั้นง่าย แต่จะให้ได้ความเร็วตามที่ลูกค้าต้องการนั้นยาก

นายปีเตอร์ ฟิลลิปส์ ผู้ร่วมหุ้นด้านการตลาดของบริษัทออฟคอม ได้ระบุว่า การวัดความเร็วของการใช้อินเทอร์เน็ตมา จาก 2 เรื่องด้วยกันคือ เรื่องเทคโนโลยีที่ใช้ และจำนวนผู้ใช้หรือลูกค้าของไอเอสพีนั้น ๆ เพราะฉะนั้นเป็นเรื่องดีที่ไอเอสพีเกือบ 200 แห่ง ของประเทศอังกฤษจะต้องแข่งขันกันเรื่องเทคโนโลยีเพื่อให้บริการแข่งขันกันด้วยความเร็วเฉลี่ยเพื่อให้เป็นที่พอใจของลูกค้า

บางทีท่านผู้อ่านก็ต้องฟังไอเอสพีให้ดีและพิจารณาด้วยว่าความเร็วที่จะได้จริงหรือเปล่า เพราะถ้าหากบอกความเร็วสูงสุดตามความสามารถของเทคโนโลยีที่ใช้ละก็ เมื่อใช้งานจริง ๆ อาจจะถึงขั้นใช้เลขสองหลัก เตรียมหารไว้ได้เลย จึงจะได้ความเร็วที่ใช้งานจริง.

รองศาสตราจารย์

ดร.บุญมาก ศิริเนาวกุล

boonmark@rsu.ac.th

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook