ออกหมายจับชาวอาหรับผู้ต้องหาฆ่านักการฑูตซาอุฯ-คดีค้างเกือบ20 ปี

ออกหมายจับชาวอาหรับผู้ต้องหาฆ่านักการฑูตซาอุฯ-คดีค้างเกือบ20 ปี

ออกหมายจับชาวอาหรับผู้ต้องหาฆ่านักการฑูตซาอุฯ-คดีค้างเกือบ20 ปี
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ศาลอาญาอนุมัติให้กรมสอบสวนดคีพิเศษออกหมายจับชาวอาหรับ ผู้ต้องหาฆาตกรรม 3 นักการทูตซาอุฯแล้ว หลังค้างมานานเกือบ 20 ปี เผยเหตุเป็นความขัดแย้งระหว่างประเทศ เผยสำนักงานตำรวจแห่งชาติตั้งประเด็นสืบสวนสอบสวนผิดทาง จนศาลสั่งยกฟ้องทุกประเด็น

พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ(ดีเอสไอ)แถลงเมื่อวันที่ 5 สิงหาคม ว่า ศาลอาญาได้อนุมัติให้ออกหมายจับนายอาบู อาลี ชาวอาหรับ ซึ่งเป็นคนร้ายที่ใช้อาวุธปืนยิงนายอัลลุเลาะห์ เอ อัล เบซารีห์ เลขานุการโท ของสถานเอกอัครราชฑูตซาอุดิอาระเบีย เหตุเกิดเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2533 บริเวณด้านหน้าศรีวัฒนาอพาร์ตเม้นท์ เลขที่ 34/3(บ้านสุทธิพงษ์) ตรงข้ามซอยเย็นอากาศ2 ถนนเย็นอากาศ แขวงทุ่งมหาเฆม เขตสาธร กรุงเทพมหานคร

พ.ต.อ.ทวีกล่าวว่า คดีดังกล่าว ดีเอสไอได้รับโอนสำนวนการสอบสวนคดีที่เกี่ยวกับการฆาตรกรรมนักการทูตซาอุดิอาระเบีย ซึ่งเกิดเหตุมาตั้งแต่ปี 2533 มาดำเนินการตั้งแต่ปี 2547 และได้มอบหมายให้ พ.ต.อ. ทรงศักดิ์ รักศักดิ์สกุล ผู้บัญชาการสำนักกิจการต่างประเทศและคดีอาชญากรรมระหว่างประเทศร่วมกับพนักงานอัยการคดีพิเศษดำเนินการสืบสวนสอบสวนเรื่องนี้มาโดยตลอด

อธิบดีดีเอสไอกล่าวว่า จากการสืบสวนสอบสวน กได้พยานสำคัญจากต่างประเทศ พร้อมทั้งประจักษ์พยาน ยืนยันตัวบุคคลที่กระทำความผิดในคดีนี้ จนนำมาสู่ความเห็นชอบร่วมกันระหว่างพนักงานอัยการและคณะพนักงานสอบสวนคดีพิเศษ และได้ยื่นคำร้องต่อศาลอาญาขอออกหมายจับดังกล่าว ซึ่งพนักงานสอบสวนคดีพิเศษ จะได้สืบสวนติดตามจับกุมตัวมาดำเนินคดีต่อไป

สำหรับคดีฆาตกรรมนายอัลลุเลาะห์ เอ อัล เบซารีห์ เหตุเกิดเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2533 บริเวณด้านหน้าศรีวัฒนา อพาร์ตเม้นท์ ซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของสถานีตำรวจนครบาลทุ่งมหาเมฆ โดยก่อนหน้าที่จะเกิดเหตุดังกล่าวประมาณ 10 นาที มีคนร้ายกลุ่มหนึ่งใช้อาวุธปืนยิงนายฟาฮัด เอแซด อัลบาฮลี เลขานุการโทและนายอาหะหมัด เอ.อัลชาอีพ ผู้ช่วยเลขานุการ สถานทูตซาอุฯ เสียชีวิต ซึ่งทางการสืบสวนเชื่อว่า น่าจะเป็นคนร้ายกลุ่มเดียวกัน

ต่อมาในวันที่ 28 พฤษภาคม 2547 คณะกรรมการคดีพิเศษมีมติรับเรื่องดังกล่าวเป็นคดีพิเศษ จากการสืบสวนของพนักงานสอบสวนคดีพิเศษ ซึ่งได้เก็บรวบรวมพยานหลักฐานต่าง ๆ ประจักษ์พยานและพยานแวดล้อม รวมถึงพยานผู้เชี่ยวชาญยืนยัน นำเสนอต่อศาลว่า นายอาบู อาลี เป็นคนร้ายที่ก่อเหตุในคดีนี้ ศาลพิจารณาแล้วมีคำสั่งหมายจับผู้ต้องหาดังกล่าว ดีเอสไอจึงส่งสำนวนคดีดังกล่าวต่อพนักงานอัยการคดีพิเศษเพื่อพิจารณาสั่งคดีต่อไป

พ.ต.อ.ทวีกล่าวว่า ก่อนหน้าที่จะโอนสำนวนการสอบสวนมายังดีเอสไอ สำนวนดังกล่าวได้ถูกดำเนินการโดยกรมตำรวจหรือสำนักงานตำรวจแห่งชาติในปัจจุบัน โดยมีการตั้งประเด็นการสอบสวนสาเหตุการฆาตรกรรม เนื่องมาจาก

1. การขัดแย้งผลประโยชน์ในการส่งแรงงานไปทำงานยังประเทศซาอุดิอาระเบีย

2. เจ้าหน้าที่สถานทูตบางคนร่วมกับบุคคลภายนอก ส่งสินค้าผิดกฎหมาย เช่น กัญชาอัดแท่ง ไม้หอมและน้ำมันไปประเทศซาอุดิอาระเบีย โดยใช้เอกสิทธิทางการทูต

3. การขัดผลประโยชน์ของกลุ่มแก๊งค์พัทยาที่มีนายมุนีย์ อาหะหมัด เป็นหัวหน้า

พ.ต.อ.ทวีกล่าวว่า เป็นที่น่าสังเกตว่า ประเด็นทั้ง 3 เรื่องที่กรมตำรวจตั้งเป็นประเด็นการสืบสวน นำไปสู่การจับกุมและดำเนินการคดีกับผู้ต้องหาบางราย ต่อมาพนักงานอัยการมีคำสั่งไม่ฟ้อง ส่วนคดีความที่ส่งขึ้นพิจารณาในชั้นศาล ศาลได้มีคำสั่งยกฟ้องทั้งหมด

อธิบดีดีเอสไอกล่าวว่า ส่วนการสืบสวนของดีเอสไอ ได้ตั้งประเด็นแตกต่างไปจากกรมตำรวจ โดยพิจารณาจากพยานหลักฐานต่างๆ แล้ว เห็นว่า ประเด็นสาเหตุการฆาตรกรรมน่าจะมาจากความขัดแย้งระหว่างประเทศซาอุดิอาระเบียกับกลุ่มประเทศในภูมิภาคเดียวกัน ซึ่งพบว่า ก่อนหน้าที่จะมีการฆาตรกรรมเจ้าหน้าที่สถานทูต ประเทศซาอุดิอาระเบีย เคยมีหนังสือขอความร่วมมือมายังประเทศไทย ให้ช่วยดูแลเจ้าหน้าที่และประชาชนชาวซาอุดิอาระเบียในประเทศไทย เนื่องจากเกรงว่าจะไม่ได้รับความปลอดภัย เช่นเดียวกับในประเทศอื่นๆ ซึ่งเกิดเหตุขึ้นมาแล้ว

พ.ต.อ.ทวีกล่าวว่า คดีฆาตรกรรมนักการทูตซาอุดิอาระเบียที่ได้รับการคลี่คลาย จนนำไปสู่การอนุมัติหมายจับผู้ต้องหาในคดีนี้ ถือว่า เป็นความคืบหน้าอีกระดับหนึ่งในความพยายามของกรมสอบสวนคดีพิเศษที่จะแสดงให้รัฐบาลซาอุดิอาระเบียเชื่อมั่นว่า รัฐบาลไทยมีความจริงใจที่จะรื้อฟื้นความสัมพันธ์อันดีระหว่างทั้งสองประเทศขึ้น

ข่าวแจ้งว่า ความขัดแย้งที่ดีเอสไออ้างถึงหมายถึงความขัดแย้งกับกลุ่มชาวอาหรับบางประเทศเนื่องจากในช่วงวันที่ 31 กรกฎาคมและต้นเดือนสิงหาคมเกิดการจลาจลที่นครเมกกะ ทำให้มีผู้เสียชีวิตเป็นช่าวอาหรับกว่า 400 คน ในจำนวนนี้มีชาวอาหรับประเทศดังกล่าวถึง 275 คน ซึ่งหลังจากนั้นมีนักการทูตซาอุฯหลายประเทศถูกฆาตกรรม จนรัฐบาลซาอุฯทำหนังสือถึงรัฐบาลไทยในเดือนตุลาคม 2532 ให้ช่วยระมัดระวังในความปลอดภัยของนักการทูตชาวซาอุฯด้วย

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังเกิดการฆาตกรรมนักการทูตชาวซาอุฯ3 คนและนักธุรกิจชาวซาอุฯอีก 1 คน ส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างไทยและซาอุนอย่างรุนแรง จนมีการสั่งระงับไม่หใส่งแรงงานไทยไปทำงานในซาอุฯและมีการลดระดับความสัมพันธ์ทางการทูตให้เหลือแต่เพียงส่งอุปทูตมาประจำสถานทูตในประเทศไทย

 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook