นักวิจัยมหาวิทยาลัยอุบลราชธานีค้นพบโมเลกุลสารอินทรีย์สร้างพลังไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์

นักวิจัยมหาวิทยาลัยอุบลราชธานีค้นพบโมเลกุลสารอินทรีย์สร้างพลังไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
นักวิจัยมหาวิทยาลัยอุบลราชธานีค้นพบโมเลกุลจากสารอินทรีย์ใช้เคลือบวัสดุสร้างพลังไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ เตรียมนำมาใช้เชิงพาณิชย์ในราคาถูก รศ.ดร.วินิช พรมอารักษ์ อาจารย์ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี เปิดเผยว่า เป็นความสำเร็จของมหาวิทยาลัยที่ค้นพบการแยกโมเลกุลจากสารอินทรีย์ที่มีอยู่ในพืช ซึ่งมีคุณสมบัติสามารถสร้างพลังงานไฟฟ้าให้กับพืช เมื่อนำมาทำเป็นสารสกัดแล้วนำกลับไปเคลือบบนโลหะชนิดต่างๆ เซลล์จะทำหน้าที่สร้างพลังงานไฟฟ้าให้กับโลหะ เช่น แบตเตอร์รี่โทรศัพท์มือถือ หรือแบตเตอร์รี่โน้ตบุ๊คพลังงานแสงอาทิตย์ แม้ปัจจุบันมีใช้อยู่แล้วในเชิงพาณิชย์ แต่การสร้างพลังงานไฟฟ้าจากเซลล์แบบเก่าเป็นชนิดผ่านรอยต่อพีเอ็นของซิลิคอน ทำให้ต้องใช้เทคโนโลยีชั้นสูงในการผลิต และอุปกรณ์เซลล์ผลิตพลังงานไฟฟ้าโดยแสงอาทิตย์มีราคาสูงไม่เหมาะแก่การใช้งานทั่วไป เซลล์ที่ใช้สร้างพลังงานไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ชนิดสารอินทรีย์ที่นักวิจัยมหาวิทยาลัยอุบลราชธานีค้นพบครั้งนี้ เป็นเซลล์ที่ให้ประสิทธิภาพการสร้างพลังงานไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ได้ใกล้เคียงกับเซลล์ชนิดรอยต่อพีเอ็มแบบเก่าได้ แต่กระบวนการผลิตง่ายกว่าและต้นทุนต่ำกว่า จึงเป็นทางเลือกในการผลิตพลังงานกระแสไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ในราคาถูก และสารชนิดนี้ยังเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม มองให้เข้าใจกันง่าย ๆ คือ คล้ายกับการสังเคราะห์แสงของพืชที่มีคลอโรฟิลล์เป็นตัวสร้างพลังงานแสง ก่อนปล่อยอิเล็กตรอนให้พืชไปผลิตเป็นแป้ง ซึ่งหลักการการทำงานของสารชนิดนี้ จะมีโมเลกุลที่รับพลังงานแสง ก่อนปล่อยอิเล็กตรอน ทำให้เกิดกระแสไฟฟ้า รวมทั้งโครงสร้างของเซลล์แสงอาทิตย์ชนิดนี้ ทำได้ง่าย จึงผลิตใช้ในประเทศได้ในราคาถูก สำหรับโครงการดังกล่าวนี้ได้รับการสนับสนุนค้นคว้าวิจัยโครงการพัฒนาเซลล์แสงอาทิตย์ชนิดสีย้อมไวแสงต้นแบบ ระหว่างสำนักงานอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี กับบริษัทพรีไซซ กรีน เทคโนโลยี แอนด์เซอร์วิส จำกัดโดยทาง บริษัทฯ ให้ทุนสนับสนุนวิจัยกว่า 3 ล้านบาท และสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ให้ทุนเพิ่มอีก 430,000 บาท
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook