คันไซถ่ายทอดเทคโนโลยีให้นักวิจัยไทย

คันไซถ่ายทอดเทคโนโลยีให้นักวิจัยไทย

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
ต่อยอดก๊าซเชื้อเพลิงพลังงานทางเลือก

วว.จับมือคันไซ ประเทศญี่ปุ่น ถ่ายทอดเทคโนโลยีเพิ่มประสิทธิภาพการพัฒนาก๊าซเชื้อเพลิงสังเคราะห์ หนึ่งในพลังงานเชื้อเพลิงทางเลือก ทดแทนการใช้น้ำมัน และไม่สร้างมลพิษทางอากาศ

นายสุรพล วัฒนวงศ์ รองผู้ว่าการกลุ่มบริการอุตสาหกรรม รักษาการผู้ว่าการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) เปิดเผยว่า วว.ได้ลงนามความร่วมมือกับบริษัทคันไซ คอร์ปอเรชั่น ประเทศญี่ปุ่น ในโครงการการพัฒนาเทคโนโลยีแก๊ส ซิฟิเคชั่น/ไพโรไลซีล สำหรับผลิตก๊าซเชื้อ เพลิงสังเคราะห์ที่มีค่าความร้อนสูงทดแทนเชื้อเพลิงจากฟอสซิล ที่ดำเนินงานภายใต้กรอบความร่วมมือว่าด้วยความช่วยเหลือด้านการพัฒนาการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม หรือจีพีพี (GPP) ระหว่างรัฐบาลไทย และรัฐบาลญี่ปุ่น ภายใต้กรอบความร่วมมือ ดังกล่าว วว.ได้ร่วมมือกับคันไซมาอย่าง ต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 โดยได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีจนนักวยวว.สามารถสร้างและปรับปรุงประสิทธิภาพของเตาปฏิกรณ์แก๊สซิฟิเคชั่นที่มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น

ดร.วีรชัย สุนทรรังสรรค์ นักวิชาการฝ่ายสิ่งแวดล้อม นิเวศวิทยาและพลังงาน วว. เปิดเผยว่า วว.ทำวิจัยพลังงานทดแทนใน 3 ด้านคือ ไบโอดีเซล เอทานอล และก๊าซเชื้อเพลิงสังเคราะห์ ซึ่งเทคโนโลยีการผลิตก๊าซเชื้อเพลิงสังเคราะห์ ได้รับการถ่ายทอด ประสบการณ์จากประเทศญี่ปุ่น ปัจจุบัน วว. สามารถปรับปรุงประสิทธิภาพเตาปฏิกรณ์แก๊สซิฟิเคชั่นเพิ่มขึ้นจาก 45% เป็น 65% ส่วนความร่วมมือครั้งนี้จะเป็นการต่อยอดงานวิจัยเพิ่มขึ้นอีกระดับหนึ่ง ซึ่งจะทำให้สามารถ ผลิตก๊าซที่มีค่าความร้อนสูงขึ้น โดยอาศัยเทคโนโลยีใหม่ของคันไซ คือ การเพิ่มขั้นตอนสารเร่งปฏิกิริยาคะตะลิสต์ที่มีเหล็กเป็นองค์ประกอบ ซึ่งถ่านที่ได้จากกระบวนการ ดังกล่าวสามารถนำไปรีไซเคิลสกัดสารคะตะลิสต์ออกมาใช้ใหม่ได้ ซึ่งกรอบความร่วมมือครั้งนี้ นักวิจัยจากคันไซจะถ่ายทอดความรู้ดานเทคโนโลยี รวมถึงกรอบความร่วมมือ ครั้งนี้ จะรีไซเคิลสกัดคะตะลิสต์ออกมาใช้ใหม่มีเหล็กเป็นองค์ประกอบสำหรับผลิตก๊าซเชื้อเพลิงติดตั้งเตาปฏิกรณ์แก๊สซิฟิเคชั่นในเมืองไทยเพื่อร่วมศึกษาเปรียบเทียบก่อนขยายไปสู่การผลิตในระดับโรงงานต้นแบบ เบื้องต้นใช้เศษไม้ยูคาลิปตัสเป็นวัตถุดิบ

สำหรับเทคโนโลยีแก๊สซิฟิเคชั่น เป็นกระบวนการแปรรูปชีวมวล โดยอาศัยการเผาไหม้ในเตาปฏิกรณ์ที่ควบคุมอากาศ ทำให้เกิดการเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์ ผลที่ได้คือ ก๊าซเชื้อเพลิง ซึ่งประกอบด้วยคาร์บอนมอนอกไซด์ (CO) ไฮโดรเจน (H2) และมีเทน (CH2) ก๊าซดังกล่าวสามารถเป็นเชื้อเพลิงให้พลังงานความร้อนได้โดยตรง แม้จะมีค่าความร้อนไม่มากเท่าก๊าซธรรมชาติ หรือจากน้ำมัน แต่สร้างมลพิษทางอากาศน้อยกว่า.

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook