ถวายสิทธิบัตรฝนหลวงแด่พระเจ้าอยู่หัวพรุ่งนี้

ถวายสิทธิบัตรฝนหลวงแด่พระเจ้าอยู่หัวพรุ่งนี้

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
เมื่อวันที่ 20 ส.ค. นายอานนท์ บุณยะรัตเวช เลขาธิการคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ เปิดเผยว่า สืบเนื่องจากที่สำนักงานสิทธิบัตรยุโรปได้รับจดทะเบียนสิทธิบัตรฝนหลวง ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงคิดค้นขึ้นเพื่อช่วยเหลือราษฎรในการแก้ไขปัญหาภัยแล้ง โดยการจดสิทธิบัตรดังกล่าว สำนักงานสิทธิบัตรยุโรปใช้ชื่อในการจดสิทธิบัตรว่า Weather Modification by Royal Rainmaking Technology เลขที่ 1491088 พร้อมได้ประกาศโฆษณาการรับจดทะเบียนใน European Patent Bulletin เมื่อวันที่ 12 ต.ค. 2548 ทั้งนี้คณะกรรมการวิจัยฯ ได้นำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีผู้แทนพระองค์ ไปเมื่อวันที่ 29 ก.ย. 2549 ที่ผ่านมา ณ อาคารชัยพัฒนา สวนจิตรลดา โดยสิทธิบัตรฝนหลวงดังกล่าวได้รับความคุ้มครองสิทธิในประเทศในกลุ่มสหภาพยุโรป จำนวน 30 ประเทศ อาทิ สาธารณรัฐเช็ค ออสเตรีย เบลเยี่ยม สวิตเซอร์แลนด์ สเปน กรีช ฮังการี ไอร์แลนด์ อิตาลี เนเธอร์์ โปรตุเกส โรมาเนีย เยอรมนี เดนมาร์ก ฝรั่งเศส และสหราชอาณาจักรมีประเทศที่ออกสิทธิบัตรอย่างเป็นทางการให้จำนวน 10 ประเทศ คือ แอลเบเนีย ไซปรัส กรีช ลิทัวเนีย โมนาโก มาซิโดเนีย โรมาเนีย ตุรกี เดนมาร์ก และฝรั่งเศส นอกจากนี้เขตบริหารพิเศษฮ่องกง ยังได้รับอนุญาตให้นำสิทธิในกลุ่มสหภาพยุโรปไปขยายความคุ้มครองได้ จนกระทั่งล่าสุดสำนักสิทธิบัตรเขตบริหารพิเศษฮ่องกงได้ออกสิทธิบัตรฝนหลวงเพื่อถวายแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ด้วยเพิ่มอีก 1 ประเทศ เป็นที่เรียบร้อยแล้วอีกด้วย ทำให้ปัจจุบัน มีการจดสิทธิบัตรฝนหลวงแล้วใน 11 ประเทศด้วยกัน เลขาธิการคณะกรรมการการวิจัยแห่งชาติ กล่าวต่อว่า และจากผลการจดสิทธิบัตรดังกล่าวที่เสร็จสิ้นเรียบร้อยแล้ว ในวันศุกร์ที่ 21 ส.ค.นี้ เวลา 17.30 น. นายอำพล เสนาณรงค์ องคมนตรี ในฐานะผู้แทนพระองค์ในการยื่นขอจดทะเบียนสิทธิบัตรฝนหลวงจะนำคณะซึ่งระกอบด้วย คณะทำงานในโครงการดำเนินการจดทะเบียนสิทธิบัตรถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและคณะทำงานจัดทำจดหมายเหตุสิทธิบัตรฝนหลวง เข้าเฝ้าฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ณ วังไกลกังวล จ.ประจวบคีรีขันธ์ เพื่อทูลเกล้าฯ ถวายสิทธิบัตรฝนหลวง ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงประดิษฐ์คิดค้นพัฒนา ตามพระราชปณิธานที่จะทรงช่วยเหลือเกษตรกรและพสกนิกรทั่วไปให้มีทรัพยากรน้ำในปริมาณที่เพียงพอต่อความต้องการนำไปใช้เพื่อการอุปโภคและบริโภค ซึ่งถือว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ จะทรงเป็นพระมหากษัตริย์ พระองค์แรกของของโลก ที่ทรงได้รับสิทธิบัตรดังกล่าว
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook