นักวิทย์ญี่ปุ่นสุดเจ๋งพัฒนาข้าวโตนํ้าลึก

นักวิทย์ญี่ปุ่นสุดเจ๋งพัฒนาข้าวโตนํ้าลึก

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
นักวิทยาศาสตร์ญี่ปุ่นค้นพบยีนที่ทำให้ข้าวสามารถเจริญเติบโตได้ในน้ำลึก ก่อให้เกิดความหวังว่าจะทำให้ข้าวในพื้นที่ลุ่ม ซึ่งมักได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมมีปริมาณผลผลิตมากขึ้น

คณะนักวิทยาศาสตร์ ซึ่งส่วนใหญ่มาจากมหาวิทยาลัยนาโงยารายงานการค้นพบในนิตยสารวิทยาศาสตร์เนเจอร์เมื่อวันพฤหัสบดีระบุว่า พบยีนที่เรียกว่า สนอร์เกิล ซึ่งช่วยให้ข้าวมีลำต้นยาวขึ้นเพื่อให้อยู่รอดในระดับน้ำสูง และแม้ข้าวที่เติบโตได้ในน้ำลึกมักจะให้ผลผลิตต่อไร่ต่ำ แต่คณะนักวิจัยรายงานว่า ประสบความสำเร็จในการใช้ยีนดังกล่าวในข้าวต่างสายพันธุ์ที่ให้ผลผลตต่อไร่สูง ซึ่งช่วยให้ลำต้นของข้าวชนิดนี้โตเร็วขึ้น และอยู่รอดได้ในน้ำท่วม

นายโมโตยูกิ อาชิการิ หัวหน้าคณะวิจัย กล่าวว่า คณะวิจัยหวังว่าจะใช้ยีนสนอร์เกิลกับข้าวเมล็ดยาว ซึ่งปลูกกันมากในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อช่วยให้ปริมาณผลผลิตข้าวในพื้นที่น้ำท่วมมีความคงที่ นอกจากนี้ทีมวิจัยยังประสบความสำเร็จในการทดลองยีนตัวนี้กับข้าวญี่ปุ่น และทีมมีแผนจะผลิตข้าว เมล็ดยาวที่ทนต่อน้ำท่วมภายในเวลา 3-4 ปี สำหรับปลูกในประเทศเวียดนาม ไทย พม่า บังกลาเทศ และกัมพูชา

วันเดียวกัน กระทรวงทรัพยากรธรรม ชาติ และสิ่งแวดล้อมของเวียดนาม คาดหมายว่า พื้นที่กว่า 1 ใน 3 ของสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขงในเวียดนาม ซึ่งเป็นแหล่งปลูกข้าวเกือบครึ่งของประเทศ อาจจมอยู่ใต้น้ำหาก ระดับน้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้น 1 เมตร และยังทำให้ พื้นที่ 1 ใน 4 ของนครโฮจิมินห์ ซิตี้ ที่มีประชากรกว่า 6 ล้านคนต้องเผชิญปัญหาน้ำท่วม อนึ่ง นักวิทยาศาสตร์จัดให้เวียดนามเป็นหนึ่งในประเทศที่มีความเสี่ยงจากปัญหาโลกร้อนมากที่สุด เนื่องจากมีภูมิประเทศเป็นแนวชายฝั่งระยะทางยาว และโอบล้อมไปด้วยพื้นที่ลุ่มต่ำ.

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook