ศบค.โยน กระทรวงศึกษาฯ เคาะ โรงเรียนไหนพร้อม-เสี่ยงน้อย เปิดได้ก่อน 1 ก.ค.

ศบค.โยน กระทรวงศึกษาฯ เคาะ โรงเรียนไหนพร้อม-เสี่ยงน้อย เปิดได้ก่อน 1 ก.ค.

ศบค.โยน กระทรวงศึกษาฯ เคาะ โรงเรียนไหนพร้อม-เสี่ยงน้อย เปิดได้ก่อน 1 ก.ค.
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

วันที่ 29 พ.ค.63 นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-9) หรือ ศบค. แถลงว่า ในการประชุม ศบค.ชุดใหญ่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม ในฐานะผู้อำนวยการ ศบค. ได้กล่าวถึงการขยายพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 หรือ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน เพื่อให้การบริหารสถานการณ์ในภาพรวมของศบค.เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพเป็นเอกภาพ และอยากให้ทุกฝ่ายเข้าใจในเรื่องเจตนา เพราะหากสถานการณ์ดีขึ้น ในระยะที่ 4 จะมีการพิจารณายกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ต่อไป

นอกจากนี้ ที่ประชุม ศบค. มีการพิจารณาวาระที่มีการเสนอให้มีการเปิดเรียนซึ่งเดิมเป็นวันที่ 1 ก.ค 2563 โดยยังให้คงวันดังกล่าวไว้เช่นเดิม แต่มีการหารือในประเด็นที่จะเลื่อนให้เร็วขึ้นได้หรือไม่ ในบางส่วนบางโรงเรียน เช่น โรงเรียนห่างไกลพื้นที่ต่างจังหวัด และอัตราการเกิดโรคไม่ได้มาก และเป็นนักเรียนที่ห้องเรียนมีจำนวนคนไม่มาก สมควรที่จะเปิดได้ก่อนหรือไม่ เช่นเดียวกับโรงเรียนเอกชน ที่มีห้องเรียนน้อย จำนวนนักเรียนต่อห้องไม่มากทั้งในเมืองและต่างจังหวัด ซึ่งในข้อสรุป คือยังยึดวันเปิดเทอมเป็นวันที่ 1 ก.ค. 2563เช่นเดิม แต่ถ้ามีความพร้อมเกิดขึ้นก่อนอาจจะสามารถขยับเร็วขึ้นได้

สำหรับหลักการกว้างๆ ที่ ผอ.ศบค.ให้ไว้ อาทิ

1.ขนาดโรงเรียน สถานที่ตั้งของโรงเรียนอยู่ห่างไกล ไม่ได้มีอัตราการติดเชื้อสูง อยู่ในถิ่นทุรกันดาร เพื่อให้นักเรียนได้รับการเรียน

2.หากเป็นพื้นที่ในเมืองต้องเดินทางมีการจรจาจรจะสลับเหลื่อมเวลาเรียน 3 วันต่อสัปดาห์ ถ้าสามารถทำได้ จะทำให้ไม่แออัดกันมากขึ้นอยู่กับจำนวนนักเรียนด้วย โดยเน้นเฉพาะกลุ่มเด็กโต เนื่องจากเด็กเล็กหากมาเรียน อาจจะมีความเสี่ยงเพราะอยู่ใกล้ชิดกัน นอนกลางวัน และเล่นกัน จึงยังไม่ได้หารือร่วมกัน

ส่วนโรงเรียนนานาชาติมีร้องมาว่า การเรียนที่จะต้องมีการเปิดเทอมขึ้นเร็ว เพราะให้ทันของกระแสโลก และการเรียนที่เป็นมาตรฐานของต่างประเทศนั้น ยังไม่มีข้อตกลง ว่าจะเป็นข้อสรุปอย่างไร โดยทั้งหมดได้มอบให้นายณัฐพล ทีปสุวรรณ รมว.ศึกษาธิการ (ศธ.) ไปศึกษารายละเอียดและหาข้อสรุปของแต่ละเรื่องมานำเสนออีกครั้งที่ประชุม ศบค.ชุดใหญ่อีกครั้ง

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook