“Black Lives Matter” ช่วยให้ LGBTQ+ ในสหรัฐฯ กลับสู่รากฐานการต่อสู้อีกครั้ง

“Black Lives Matter” ช่วยให้ LGBTQ+ ในสหรัฐฯ กลับสู่รากฐานการต่อสู้อีกครั้ง

“Black Lives Matter” ช่วยให้ LGBTQ+ ในสหรัฐฯ กลับสู่รากฐานการต่อสู้อีกครั้ง
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ขณะที่การประท้วงเรียกร้องความยุติธรรมให้กับการเสียชีวิตของ “จอร์จ ฟลอยด์” ชายผิวดำที่ถูกตำรวจผิวขาวคุกเข่าทับลำคอจนเสียชีวิต ขยายวงกว้างไปทั่วสหรัฐอเมริกาและอีกหลายประเทศทั่วโลก กลุ่มทำงาน LGBTQ+ ในสหรัฐฯ ก็เรียกร้องให้เกิดการต่อสู้เพื่อเรียกร้องสิทธิของกลุ่มคนที่มีความหลากหลายทางเพศอีกครั้ง ในโอกาส Pride Month หรือเดือนแห่งการเฉลิมฉลองความหลากหลายทางเพศ อย่างไรก็ดี การเฉลิมฉลองของกลุ่ม LGBTQ+ กลับถูกวิพากษ์วิจารณ์เรื่องโฆษณาแฝงที่มากจนเกินไป ขณะที่วัตถุประสงค์ของการเฉลิมฉลองก็ถูกบิดให้ผิดเพี้ยนไปจากต้นกำเนิดของงาน ด้วยเหตุนี้ การชุมนุมประท้วงที่เกิดขึ้นจากการเหตุการณ์ของจอร์จ ฟลอยด์ จึงเป็นโอกาสที่ชาว LGBTQ+ จะได้กลับไปสู่จุดเริ่มต้น นั่นคือการเรียกร้องความยุติธรรมให้เกิดขึ้นในสังคมอีกครั้ง 

พาเหรด Pride ครั้งแรกคือการก่อจลาจลและความโกรธแค้นที่พรั่งพรูออกมา โดยมีแกนนำเป็นหญิงข้ามเพศผิวดำที่โยนก้อนอิฐใส่เจ้าหน้าที่ตำรวจ และจุดประกายการขับเคลื่อนเพื่อเรียกร้องสิทธิและเสรีภาพให้กับกลุ่ม LGBTQ+” แบรด ฮอยล์แมน วุฒิสมาชิกรัฐนิวยอร์ก เขียนระบุในจดหมายเปิดผนึกถึงผู้จัดงาน New York Pride ซึ่งเขาเรียกร้องให้คณะทำงานต่าง ๆ เปลี่ยนเป้าหมายจากการเฉลิมฉลอง และกลับไปสู่ “รากฐาน” ของการขับเคลื่อนเพื่อนสิทธิของกลุ่ม LGBTQ+ 

ขณะที่การชุมนุมประท้วงต่อต้านความรุนแรงของเจ้าหน้าที่ตำรวจยังคงดำเนินต่อไปในกรุงนิวยอร์ก และหลายพื้นที่ทั่วประเทศ เพื่อย้ำเตือนให้เราตระหนักว่าพี่น้องผิวดำและผิวสีน้ำตาลของพวกเรา ยังไม่ได้รับความยุติธรรม” 

ขบวนพาเหรด Pride ทั่วโลก โดยเฉพาะในกรุงนิวยอร์ก ครบรอบ 50 ปี เมื่อปีที่แล้ว ซึ่งถือกำเนิดมาจากการจลาจลสโตนวอลล์ อินน์ โดยการจัดงานได้รับการสนับสนุนทางการเงินจากบริษัทมากมาย ทว่างาน Pride ในช่วงทศวรรษที่ 1960s และ 1970s กลับเต็มไปด้วยเรื่องราวทางการเมือง ที่เรียกร้องให้หยุดการเลือกปฏิบัติ ความรุนแรงของเจ้าหน้าที่ตำรวจ และความอยุติธรรมที่เกิดขึ้นต่อกลุ่ม LGBTQ+ มากกว่าในปัจจุบัน

“ชุมชน LGBTQ+ ต้องเคารพและให้เกียรติสิ่งที่เกิดขึ้นก่อนหน้านี้ ด้วยการยืนหยัดต่อสู้เคียงข้างผู้ชุมนุมในวันนี้” เควิน เจนนิ่งส์ ผู้อำนวยการกลุ่ม Lambda Legal กล่าว ซึ่งพ้องกับสิ่งที่ มาร่า เคสลิ่ง ผู้อำนวยการศูนย์ความเท่าเทียมเพื่อคนข้ามเพศแห่งชาติ ที่ชี้ว่า การเคลื่อนไหวเพื่อหยุดยั้งการใช้ความรุนแรงของเจ้าหน้าที่ตำรวจ การเคลื่อนไหวต่อต้านการเหยียดเชื้อชาติ คือการเคลื่อนไหวของกลุ่ม LGBTQ+ เช่นกัน 

ทั้งนี้ กลุ่มทำงานเพื่อสิทธิและเสรีภาพของ LGBTQ+ กว่า 75 เครือข่ายได้ลงนามในจดหมายเปิดผนึกเพื่อหยุดยั้งการเหยียดเชื้อชาติสีผิว และเรียกร้องให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อปัญหาการใช้ความรุนแรงของเจ้าหน้าที่ตำรวจ

75 เครือข่าย LGBTQ+ เคลื่อนไหว “Black Lives Matter” ในสหรัฐฯ

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook