รอยเตอร์วิเคราะห์ต่างชาติเริ่มเชื่อมั่นไทย ขนเงินลงทุนที่2 รองสิงคโปร์ ชี้แม้วขวางมาร์คทุกทาง ดัชนี

รอยเตอร์วิเคราะห์ต่างชาติเริ่มเชื่อมั่นไทย ขนเงินลงทุนที่2 รองสิงคโปร์ ชี้แม้วขวางมาร์คทุกทาง ดัชนี

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
รอยเตอร์วิเคราะห์นักลงทุนต่างชาติเริ่มเชื่อมั่นไทย ขนเงินมาลงทุนมากเป็นที่ 2 ในภูมิภาค รองแค่สิงคโปร์ แต่ดัชนีความเสี่ยงสูงกว่าเพื่อน ไร้เสถียรภาพทางการเมือง มองแม้ว พยายามทุกทางเพื่อขวาง มาร์ค ไม่ให้มีอำนาจแข็งแกร่ง หวังสร้างปัญหาจนทำให้ต้องยุบสภา สำนักข่าวรอยเตอร์นำเสนอบทวิเคราะห์การฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย เมื่อวันที่ 23 สิงหาคม ว่า บรรดานักลงทุนต่างชาติกลับเข้ามาลงทุนในไทยอีกครั้งแม้จะเกิดวิกฤตการเมืองต่อเนื่องช่วง 3 ปีที่ผ่านมา เห็นได้จากการฟื้นตัวของตลาดหลักทรัพย์และการแข็งค่าของเงินบาท อย่างไรก็ตาม นักเศรษฐศาสตร์หลายคนเห็นตรงกันว่าการฟื้นตัวจากภาวะวิกฤตของเศรษฐกิจไทยจะไปได้ไกลแค่ไหนและเร็วขนาดไหนขึ้นอยู่กับว่าจะมีเหตุวุ่นวายทางการเมืองขึ้นอีกหรือไม่ หากเกิดเหตุรุนแรงทางการเมืองขึ้นอีกความเร็วและขนาดของการฟื้นตัวก็จะถูกจำกัดลง

รอยเตอร์ระบุว่า รัฐบาลไทยได้รับความเชื่อมั่นอีกครั้งจากนักลงทุนต่างชาติที่เป็นผู้ขายสุทธิในตลาดหุ้นไทยระหว่างเดือนมกราคมและกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา กลายเป็นผู้ซื้อสุทธินับตั้งแต่เดือนมีนาคมเรื่อยมาจนถึงเดือนกรกฎาคมนี้ และที่เห็นชัดเจนกว่านั้นก็คือการที่ระดับเงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศของไทยในช่วง 3 ปีที่ผ่านมาจากการรวบรวมของธนาคารเอชเอสบีซี ปรากฎว่า สูงถึง 25,200 ล้านดอลลาร์ นับว่าสูงเป็นอันดับ 2 รองจากสิงคโปร์ (35,300 ล้านดอลลาร์) ขณะที่ประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคเช่นอินโดนีเซียมีเพียง 6,500 ล้านดอลลาร์และฟิลิปปินส์มีเพียง 3,500 ล้านดอลลาร์ เท่านั้น

นายอูเบน องไทยนั้นจะมีมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีจะสามารถท้าทายอำนาจรัฐภายใต้การนำของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันยาวนานขนาดไหน และความเคลื่อนไหวทางการเมืองผ่านกลุ่มเสื้อแดงของอดีตนายกฯจะบั่นทอนความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่างชาติได้หรือไม่ เรื่องนี้ยังคงเป็นที่มาของความกังวลของนักลงทุนต่างชาติที่เริ่มสอบถามเรื่องการเมืองของไทยเข้ามาอีกครั้งหนึ่งแล้ว

นายพาราคูลเลส ระบุว่า ภาวะการเมืองจะกลายเป็นตัวถ่วงการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย ส่งผลให้ไทยเสียเปรียบเพื่อนบ้านที่ไม่มีปัญหาทำนองเดียวกันทำให้สามารถทุ่มสมาธิไปที่มาตรการสนับสนุนทางการเงินการคลังได้เต็มที่กว่า

ขณะที่ นายคาร์ล ราจู นักเศรษฐศาสตร์จากสถาบัน ฟอร์คาสต์ ในสิงคโปร์ แสดงความคิดเห็นในทำนองเดียวกันว่านักลงทุนต่างชาติยังเป็นกังวลกับการเมืองไทย แต่เชื่อว่าหากความเคลื่อนไหวทางการเมืองไม่ก่อให้เกิดเหตุรุนแรง ผลกระทบต่อการลงทุนก็จะมีน้อยนิดและเป็นผลกระทบในระยะสั้นๆเท่านั้น

รอยเตอร์ระบุด้วยว่า นักวิเคราะห์เห็นตรงกันว่า พ.ต.ท.ทักษิณ กำลังพยายามขัดขวางไม่ให้นายอภิสิทธิ์มีอำนาจแข็งแกร่งได้ โดยหวังว่าจะสร้างปัญหาได้มากพอที่จะทำให้ต้องยุบสภา และมีการเลือกตั้งใหม่ซึ่งอาจเป็นไปได้ว่าจะมีขึ้นในปี 2553

นอกจากนั้น รอยเตอร์ยังเผยแพร่ดัชนีชี้ภาวะเสี่ยงของไทย ที่จัดทำโดย บริษัท ไอเอชเอส โกลบอล อินไซท์ ที่ระบุว่ามีอยู่สูงที่สุดเมื่อเทียบกับประเทศใกล้เคียงกันในภูมิภาค โดยมีระดับมเสี่ยง 3.25

มาเลเซีย ระดับความเสี่ยง 2.75

ฟิลิปปินส์ ระดับความเสี่ยง 2.75

อินโดนีเซีย ระดับความเสี่ยง 2.50

ส่วนดัชนีชี้สภาวะความไร้เสถียรภาพทางการเมือง จัดทำโดย อีโคโนมิสต์ อินเทลลิเจนซ์ ยูนิต (ไอทียู) นั้นระบุว่าดัชนีชี้ภาวะไร้เสถียรภาพทางการเมืองของไทยอยู่ในอันดับที่ 38 จาก 165 ประเทศที่สำรวจ โดยมีอันดับดีกว่ากัมพูชา (4) และพม่า (33) แต่แย่กว่า อินโดนีเซีย (51) ฟิลิปปินส์ (53) มาเลเซีย (63) และลาว ซึ่งมีเสถียรภาพทางการเมืองสูงมากคืออยู่ในอันดับที่ 116 เท่ากับเกาหลีใต้

กัมพูชา อันดับที่ 4

พม่า อันดับที่ 33

ไทย อันดับที่ 38

อินโดนีเซีย อันดับที่ 51

ฟิลิปปินส์ อันดับที่ 53

มาเลเซีย อันดับที่ 63

ลาว อันดับที่ 116

เกาหลีใต้ อันดับที่ 116

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook