การบริหารความเสี่ยงคืออะไร

การบริหารความเสี่ยงคืออะไร

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
วันนี้เราไปคุยกันประเด็นเบา ๆ เรื่อง การบริหารความเสี่ยง ซึ่งเป็นเรื่องที่หลายคนสนใจ อยากเข้าใจว่าการบริหารความเสี่ยงคืออะไร

หากจะพูดให้เห็นภาพ การบริหารความเสี่ยง เริ่มจากการที่เราพยายามเข้าใจว่า ความเสี่ยงที่เราจะเสียหายได้ในชีวิตของเรา อยู่ตรงไหน มีโอกาสมากน้อยแค่ไหน และจะเข้าไปดูแลได้อย่างไร ซึ่งความเสียหายที่ว่าอาจจะเป็นสิ่งของ เงินทอง ธุรกิจ ชื่อเสียง หรือแม้กระทั่งชีวิต

การบริหารความเสี่ยง ไม่ใช่เรื่องไกลตัว ทุกอย่างล้วนมีความเสี่ยง แม้กระทั่งการเดินข้ามถนนง่าย ๆ การขับรถออกจากบ้านก็มีความเสี่ยงเช่นกัน

ซึ่งความจริงแล้วทุกคนได้พยายามบริหารจัดการความเสี่ยงในชีวิตของตนเองอยู่แล้วระดับหนึ่ง (แม้ว่าจะไม่ทันเฉลียวใจว่ากำลังบริหารจัดการความเสี่ยงอยู่)

เช่น ทำอะไรด้วยความระมัดระวัง ซื้อประกันรถเตรียมไว้หากเกิดอุบัติเหตุ ซื้อประกันสุขภาพสำหรับเวลาเจ็บป่วย มีเงินเก็บออมบางส่วนไว้สำหรับเวลาเศรษฐกิจไม่ดี รวมถึงพยายามลงทุนเฉพาะในสิ่งที่เรารู้จักเข้าใจเท่านั้น เป็นต้น

การบริหารจัดการความเสี่ยงทำได้อย่างไร

ขั้นแรก เริ่มจากการที่เราต้องรู้ว่าความเสี่ยงในชีวิตของเราคืออะไร ซึ่งการที่จะตอบคำถามข้อนี้ สามารถทำได้ไม่ยากนัก ให้แต่ละคนเริ่มโดยลองคิดถึงสิ่งที่ทำให้เรานอนไม่หลับตอนกลางคืน คิดถึงสิ่งที่ต้ักพะวง อยู่เป็นระยะ ๆ ว่าคืออะไร

ขอยกตัวอย่างเช่น (1) เจ้าของร้านเห็นลูกน้องคนหนึ่ง ชอบทำลับ ๆ ล่อ ๆ มีพิรุธ น่าสงสัย หรือมีสัญญาณว่าอาจจะมีการทุจริตเกิดขึ้น จนต้องเก็บมาคิดว่าลูกน้องคนนี้กำลังทำอะไร อันนี้ก็เป็นความเสี่ยงที่ต้องคิดว่าจะจัดการอย่างไร

หรือ (2) ผู้ส่งออก ได้ส่งออกสินค้าไป แต่ไม่ได้ซื้อประกันค่าเงินดอลลาร์ ทุกวันก็ต้องมาตามว่า ตอนนี้ค่าเงินไปที่ไหนแล้ว (3) ธุรกิจอาศัยข้าวโพดเป็นวัตถุดิบ หลัก ก็ต้องคิดมากเกี่ยวกับราคาข้าวโพดในตลาดโลก ว่าจะผันผวนขึ้นลงอย่างไร เพราะถ้าพลาดไป อาจขาดทุนได้

หรือ (4) บางคนมาชักชวนให้ลงทุนแล้วบอกว่าจะได้ผลตอบแทนสูงมาก แต่ ไม่แน่ใจว่าจะเป็นไปได้อย่างไร เงินต้นอาจหายได้ เป็นต้น

ตรงนี้ ขอให้แต่ละคนสวมวิญญาณนักสืบมือสมัครเล่น ค้นหาความเสี่ยงสำคัญของชีวิตเราออกมา

ขั้นที่ 2 เมื่อรู้ว่าความเสี่ยงคืออะไรแล้ว ก็นำไปสู่การป้องกัน ซึ่งรวมไปถึง การเลิกไม่ทำอะไรที่สุ่มเสี่ยง การไม่ตาโต ไม่เชื่อง่ายและไม่ประมาท

การวางกระบวนการป้องกันตามเหมาะสม การซื้อประกันเพื่อช่วยลดความเสี่ยง เพื่อให้ความสุ่มเสี่ยงต่อความเสียหายของเราลดลง

ขั้นที่ 3 คือการแก้ไขเมื่อปัญหา เกิดขึ้น

ทั้งหมดนี้ ให้ทำหมุนเวียนต่อเนื่องกันไป จากการค้นหาว่าความเสี่ยงของเราคืออะไร คิดว่าจะป้องกันอย่างไร และิดขึ้นแล้วทำอย่างไร ซึ่งเมื่อได้พยายามทำเป็นประจำ ก็จะกลายเป็นภูมิคุ้มกันภัย ที่จะช่วยให้ความเสี่ยงในชีวิตเราลดลงไปได้

ที่แนะให้ทำเช่นนี้ ก็เพราะทุกคนควรเข้าใจว่าความเสี่ยงในชีวิตของเรามีอะไรบ้าง

ที่สำคัญที่สุด ต้องรู้เท่าทันว่าตัวเองกำลังนั่งทับอะไรอยู่ และเตรียมการแก้ ไม่เช่นนั้นความเสี่ยงที่เรานั่งทับไว้ ก็อาจปะทุมาใส่กลายเป็นวิกฤติใส่เราได้ อย่างที่เราไม่ทันรู้ตัว กลายเป็นปัญหาในชีวิตได้ครับ

แล้วครั้งหน้าผมจะมาวิเคราะห์ให้ฟังว่า ทำไมสถาบันการเงินในสหรัฐและยุโรปที่ว่าได้ทุ่มเงินลงไปกับระบบบริหารจัดการความเสี่ยงเป็นจำนวนมาก

ท้ายสุดก็เสียหายได้ จนกลายเป็นสาเหตุของวิกฤติครั้งนี้ และอธิบายเกร็ด ที่น่าสนใจของการบริหารความเสี่ยงต่อ ไปครับ

หมายเหตุ ผู้อ่านที่สนใจอ่านย้อนหลังหรือแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้เขียนได้ที่ www.kobsak.com ครับ.

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook