คุ้มครองผู้ประสบภัยรถซาเล้ง

คุ้มครองผู้ประสบภัยรถซาเล้ง

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
ดึงเข้าหมวด จยย.คิดค่าเบี้ยววันละ 1 บาท ชาวบ้านเฮเกิดอุบัติเหตุจ่ายภายใน 7 วัน

นางจันทรา บูรณฤกษ์ เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประ กันภัย (คปภ.) เปิดเผยว่า คปภ.ได้ร่วมลงนามกับสมาคมประกันวินาศภัย เกี่ยวกับการบังคับใช้พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 เพื่อปรับปรุงหลักเกณฑ์ระเบียบต่าง ๆ ให้ทันสมัยและครอบคลุมมากขึ้น โดยกำหนดให้นำรถซาเล้งเข้ามารวมอยู่ในหมวดของรถจักรยานยนต์ โดยคิดค่าเบี้ยประกันภัยปีละ 365 บาท หรือวันละ 1 บาทเท่านั้น เพื่อให้ได้รับความคุ้มครองตาม พ.ร.บ. คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถฯ เช่นกัน ซึ่งจะเริ่ม ผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 53 เป็นต้นไปเพื่อเป็นของขวัญในวันขึ้นปีใหม่ให้ประชาชน

นอกจากนี้ ได้เพิ่มความคุ้มครองในกรณีเสียชีวิตและทุพพลภาพหรือสูญเสียอวัยวะจากเดิม 100,000 บาท เป็น 200,000 บาท และหากต้องเข้ารัในสถานพยาบาล ให้จ่ายค่าชดเชยรายวัน วันละ 200 บาท สูงสุดไม่เกิน 20 วัน และขยายวงเงินค่ารักษาพยาบาลจาก 15,000 บาท เป็น 50,000 บาท เป็นต้น ซึ่งที่ผ่านมา คปภ.ได้ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าวมากกว่า 8 ครั้ง และลดเบี้ยประกันภัยภาคบังคับลงมาโดยตลอด

ต่อจากนี้เมื่อประชาชนเกิดอุบัติเหตุ บริษัทประกันจะต้องจ่ายเงินทดแทนค่าสินไหมตาม กฎหมาย โดยจะต้องไม่มีข้ออ้างใด ๆ ทั้ง สิ้น หลังจากนั้นค่อย มาดำเนินการหักล้าง ซึ่งบริษัทประกันจะชดเชยกรณีเกิดอุบัติเหตุภายใน 7 วัน และให้ลดขั้นตอนเอกสารต่าง ๆ เพื่อให้เป็นประโยชน์แก่ประชาชนมากที่สุด จากเดิมที่เมื่อผู้ประสบภัยประสบอุบัติเหตุแล้วต้องสำรองจ่ายเงินไปก่อน ซึ่งเห็นว่าไม่ถูกต้อง ทำให้ประชาชนผู้ประสบอุบัติเหตุเดือดร้อน พร้อมทั้งได้เร่งให้บริษัทประกันภัยต่าง ๆ ปรับปรุงประสิทธิภาพการจ่ายค่ารักษาพยาบ้ผู้ประสบภัยและโรงพยาบาลเพื่อความรวดเร็ว ตลอดจนหาแนวทางลดระยะเวลาการจ่ายให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพด้วย ซึ่งในส่วนของต่างจังหวัดนั้นยังล่าช้าอยู่มาก

ขณะนี้สมาคมประกันวินาศภัยรับปาก คปภ. ว่า จะลดขั้นตอนและวิธีการ พร้อมปฏิบัติตาม กฎระเบียบอย่างเคร่งครัด ซึ่งยอมรับว่า ที่ผ่านมา มีบางบริษัทประวิงการจ่ายค่าสินไหม จึงได้กำชับว่าหากไม่ปฏิบัติตามและประชาชนยังร้องเรียน เข้ามาที่ 1186 คปภ.จะดึงเรื่องดังกล่าวมาพิจารณาผ่านคณะกรรมการเปรียบเทียบปรับและลงโทษ รวมทั้งประจานผ่านสื่อและเว็บไซต์ของ คปภ. อย่างน้อย 6 เดือน.

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook