มศว เตรียมผลิตเครื่องมือช่วยเหลือคนไข้เกิดภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพก

มศว เตรียมผลิตเครื่องมือช่วยเหลือคนไข้เกิดภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพก

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
ศูนย์การแพทย์ปัญญานันทภิกขุ ชลประทาน มศว เตรียมผลิตเครื่องมือช่วยเหลือคนไข้เกิดภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพก เตรียมลุยผลิตหลายขนาด เพื่อให้เหมาะกับรูปร่างของคนไข้ เตรียมจดสิทธิบัตร ร.อ.หญิง พิรุณทิพย์ หยิบโชคอนันต์ หัวหน้างานการพยาบาลศัลยกรรมกระดูก ศูนย์การแพทย์ปัญญานันทภิกขุ ชลประทาน มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) เปิดเผยว่าในเมืองไทยมีผู้ป่วยที่อยู่ในช่วงวัยผู้สูงอายุจำนวนมากที่ได้รับอุบัติเหตุ หกล้ม กระดูกเปราะบาง ทำให้มีปัญหาในเรื่องของข้อต่อสะโพก คนไข้ในกลุ่มนี้จำเป็นต้องได้รับการรักษาเพื่อลดอาการเจ็บปวด และทำให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น นั่นก็คือเดินได้โดยไม่มีปัญหา และวิธีการหนึ่งที่แพทย์เลือกใช้กับคนไข้กลุ่มนี้ก็คือ ทำการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพก เมื่อคนไข้ทำการผ่าตัดต้องนอนพักฟื้นที่โรงพยาบาล ซึ่งคนไข้มีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนหลังการผ่าตัดในระยะแรกได้ โดยเฉพาะข้อสะโพกจะหลุดออกจากตำแหน่งที่แพทย์ได้ทำการใส่ข้อสะโพกที่ได้ทำการผ่าตัดเปลี่ยน ส่วนใหญ่มาจากท่าทางการนอนที่ไม่ถูกต้องของผู้ป่วย และก็ยังสัมพันธ์กับการผ่าตัดของแพทย์ผู้รักษาด้วย เพราะแพทย์บางคนผ่าตัดสะโพกด้านหน้า บางคนผ่าสะโพกด้านหลัง ดังนั้นการจัดท่าทางให้ผคนไข้นอนพักฟื้นจึงต้องสัมพันธ์กับการผ่าตัดของแพทย์ ซึ่งเป็นหน้าที่โดยตรงของพยาบาล

p /> "คนไข้หลังผ่าตัดจำนวนมากประสบปัญหาความเจ็บปวด และข้อสะโพกหลุดซึ่งอาจจะเกิดขึ้นในช่วงแรกของหลังผ่าตัด และระยะหลังจากการผ่าตัด สามารถเกิดขึ้นได้ตลอด ส่วนใหญ่มาจากการใช้งานร่างกายอวัยวะต่างๆ ไม่ถูกต้อง การเคลื่อนไหว การจัดท่าทางให้คนไข้ การยกคนไข้ การเคลื่อนย้ายคนไข้ ล้วนแล้วแต่เป็นสาเหตุสำคัญของการทำให้ข้อสะโพกหลุด ดังนั้นคนไข้ที่ได้รับการผ่าตัดแล้วต้องนอนกางขา 30 องศาตลอดเวลา เพื่อให้ข้อสะโพกอยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้อง ในช่วงผ่าตัดวันแรก คนไข้ต้องนอนหงาย เมื่อต้องนอนกางขา 30 องศา บ่อยครั้งที่คนไข้ลืมรีบหุบขาเข้ามาในช่วงที่มีการหุบขานั้น ทำให้สะโพกที่ได้รับการผ่าตัดเคลื่อน เมื่อสะโพกเคลื่อนหรือหลุดคนไข้จะมีอาการเจ็บปวดและยิ่งเป็นผู้ป่วยสูงอายุด้วยแล้ว ยิ่งทำให้ทรมานอย่างมากสภาพความรู้สึกของคนไข้จะยิ่งแย่ลง อีกทั้งเรื่องของค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นด้วย จากปัญหาส่วนนี้ทำให้คิดค้นเครื่องมืออุปกรณ์เพื่อมาช่วยในการที่คนไข้ต้องกางขา 30 องศา นิ่งๆ เป็นเวลานานๆ เป็นการเตือนให้คนไข้ได้อยู่ในท่าทางนี้นานๆ

ร.อ.หญิง พิรุณทิพย์ จากเดิมที่เราใช้หมอนซึ่งใช้หนุนศีรษะมากั้นระหว่างขาที่กางทั้งสองข้าง แต่คนไข้ก็รู้สึกว่าไม่เหมาะสม ทางทีมงานพยาบาลศัลยกรรมกระดูก จึงได้คิดรูปแบบอุปกรณ์ซึ่งทำด้วยฟองน้ำและใช้พลาสติกเป็นปอกนอก เพื่อให้สะดวกในการใช้ทำความสะอาดได้โดยง่าย ลักษณะของเครื่องมือที่นำมาอำนวยความสะดวกให้คนไข้ มีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมคางหมู โดยฐานด้านล่างจะกว้างกว่าด้านขา แล้วนำเครื่องมือดังกล่าวมาวางกั้นไว้ระหว่างขาที่กางไว้ทั้งสองข้าง เครื่องมือนี้จะช่วยให้คนไข้อยู่ในท่านั้นได้ โดยไม่ขยับขา อีกทั้งเครื่องมือนี้จะมีตัวล็อกขาเอาไว้ การมีเครื่องมือนี้ไว้ใช้งานทำให้พยาบาลที่ดูแลคนไข้ทำงานได้ง่ายและสะดวกขึ้นกว่าเดิม ซึ่งแต่เดิมถ้าเราไม่ใช้หมอน พยาบาลก็ต้องใช้ผ้าห่มม้วนเป็นก้อนเพื่อกั้นระหว่างขาทั้งสองข้าง การคิดสร้างเครื่องมือชนิดนี้ขึ้นมายังต้องมีการค้นคว้าและวิจัยเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะเรื่องของขนาดของเครื่องมือควรจะมีหลายขนาดเพราะคนไข้มีรูปร่างที่แตกต่างกัน เครื่องมือชิ้นนี้ถือเป็นการป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพก ในอนาคตทางศูนย์การแพทย์ปัญญานันทภิกขุ ชลประทาน มศว จะทำการวิจัยและพัฒนาต่อยอดเพื่อทำให้เครื่องมือชิ้นนี้นำไปสู่การผลิตในวงกว้างมากขึ้น ซึ่งทางผู้บริหารได้ให้นโยบายเรื่องการจดสิทธิบัตร อีกทั้งได้ให้การสนับสนุนเพื่อนำไปสู่การผลิตเป็นเครื่องมือที่มีจำหน่ายในร้านขายเครื่องมือ อุปกรณ์ทางการแพทย์ด้วย

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook