การแพทย์ทางไกลผ่านระบบไร้สาย

การแพทย์ทางไกลผ่านระบบไร้สาย

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
แพทย์ที่สหรัฐอเมริกาได้เริ่มใช้เครื่องมือตรวจวัดหัวใจผ่านระบบการสื่อสารแบบไร้สาย เพื่อดูแลคนไข้ และสามารถป้องกันการเกิดหัวใจวายโดยเฉียบพลันซึ่งอาจจะเกิดกับคนไข้ได้

นายแพทย์สตีเว่น กรีนเบอร์ก ผู้เชี่ยวชาญโรคหัวใจแห่งโรงพยาบาลเซนต์ ฟรานซีส นิวยอร์ก ได้ริเริ่มการเชื่อมต่อเครื่องวัดจังหวะหัวใจไปยังคนไข้ตามบ้านโดยผ่านระบบอินเทอร์เน็ตไร้สาย ทำให้ คุณหมอกรีนเบอร์ก สามารถตรวจวัดความผิดปกติจังหวะการเต้นของหัวใจคนไข้ตามบ้านหลายแห่งได้ตลอดเวลาโดยไม่จำเป็นต้องขับรถเดินทางไปยังบ้านต่าง ๆ ทำให้คุณหมอสามารถดูแลคนไข้ได้ จำนวนมากเพราะไม่ต้องเสียเวลาเดินทาง

คุณหมอกรีนเบอร์กได้รับความสะดวกมากขึ้นเพราะข้อมูลที่สำคัญและจำเป็นมากของคนไข้จะถูกบันทึกไว้ด้วยระบบอัตโนมัติที่ห้องทำงานของคุณหมอและคุณหมอสามารถวิเคราะห์ผลและหาทางป้องกันความผิดปกติจังหวะการเต้นของหัวใจได้ อย่างมีประสิทธิภาพ

ตัวอย่างเชากคนไข้มีอาการล้มลงหมดสติและคุณหมอได้เห็นจังหวะการเต้นของหัวใจผิดปกติ ก็สามารถเรียกหน่วยพยาบาลรับตัวคนไข้จากบ้านมาทำการรักษาอย่างรีบด่วนได้ทันทีโดยไม่เกิดโรคหัวใจวายเฉียบพลันและสามารถรักษาชีวิตคนไข้ได้

นายแพทย์กรีนเบอร์ก ได้ใช้ระบบไร้สายเพื่อสร้างระบบการดูแลลูกค้าคนไข้ตามบ้านเป็นรายแรกของโลก คุณหมอได้กล่าวกับสำนักข่าว ซีเอ็นเอ็นว่า เครื่องมือตรวจวัดจังหวะการเต้นของหัวใจ โดยระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตไร้สายนี้ ทำให้คนไข้ปลอดภัยได้รับความสะดวก พักผ่อนได้สบายมากขึ้น เพราะไม่ต้องเดินทางมาหาหมอที่สำนักงานบ่อย ๆ

นอกจากนี้ ศูนย์การแพทย์ของมหาวิทยาลัยเทกซัส นายแพทย์สามารถใช้จอวิดีโอเพื่อ ติดตามผลการผ่าตัดสมองคนไข้และมีการใช้ระบบการแพทย์ทางไกลผ่านอินเทอร์เน็ตหรือเทเลเมดีซีน (Telemedicine) เพื่อเชื่อมต่อกับคนไข้ถึง 60,000 ราย ทุกปีทั่วโลกตั้งแต่คนไข้ในคุกจนถึงคนไข้ที่ ขั้วโลกใต้ และผู้โดยสารบนเรือในมหาสมุทรเพื่อช่วยเหลือคนไข้

นายแพทย์ ดร.เบน ไรเมอร์ แห่งศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยเทกซัสได้กล่าวว่า การแพทย์ทางไกลนอกจากจะช่วยให้การพยาบาลรักษาได้อย่างทั่วถึงแล้ว ก็ยังจะช่วยเพิ่มศักยภาพในการดูแลรักษาคนไข้ แถมช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายได้มาก เพราะระบบนี้จะสามารถตรวจวัดข้อมูลคนไข้ให้คุณหมออย่างละเอียดได้ก่อนที่จะมาทำการรักษาที่โรงพยาบาลได้อย่างถูกต้องแม่นยำกว่าโดยไม่ต้องเริ่มการตรวจ (diagnose) คนไข้ซ้ำอีก

ท่านผู้อ่านพิจารณาแล้วเป็นอย่างไรบ้างครับ ระบบเครือข่ายการสื่อสารไร้สายในปัจจุบันสามารถสร้างประโยชน์ในหลายด้านได้อย่างอเนกอนันต์.

รองศาสตราจารย์

ดร.บุญมาก ศิริเนาวกุล

boonmark@rsu.ac.th

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook