กำจัดขยะสังคม

กำจัดขยะสังคม

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
ประหารชีวิต เป็นโทษทางอาญาสูงสุด ที่ประเทศส่วนใหญ่ทั่วโลก ใช้ลงแก่ผู้กระทำความผิดกฎหมายบ้านเมือง ส่วนวิธีการมีแตกต่างกันไป ส่วนใหญ่ใช้วิธียิงเป้า แต่ปัจจุบันหลายประเทศ โดยเฉพาะประเทศที่อวดอ้าง ว่าเจริญแล้ว (ทางวัตถุ) และเชิดชูสิทธิ มนุษยชน จะใช้วิธีฉีดสารพิษเข้าร่างกาย ซึ่งรวมถึงประเทศไทยเราด้วย

แต่หลายประเทศ หรือหลายมลรัฐของแต่ละประเทศ ยกเลิกโทษประหารชีวิตแล้ว โดยอ้างว่าโหดร้ายทารุณเกินไป ที่มนุษย์พึงกระทำต่อกันอย่างนี้ โดยโทษสูงสุดคือจำคุกตลอดชีวิต หรือจำคุกระยะยาว 30-50 ปี ขึ้นไป

ประเทศที่มีอัตราประหารชีวิตนักโทษ สูงสุดในปัจจุบัน เห็นจะได้แก่จีนและอิหร่าน โดยจีนนั้นเราจะเห็นจากรายงานข่าวแทบจะรายเดือน หรือบางเดือนมากกว่า 1 ครั้ง บางคดีแค่จำคุกตามสายตาเราก็ว่ารุนแรง แต่ศาลจีนตัดสินประหารเป็นว่าเล่น

เรื่องนี้ศาลประชาชนสูงสุด หรือศาลฎีกาของจีน ซึ่งทำหน้าที่ทบทวน คำตัดสินประหารชีวิตจากศาลชั้นต้น ขั้นตอนสุดท้ายก่อนการลงมือประหาร ถึงกับออกปากปรามให้เพลา ๆ ลงบ้าง และควรตัดสินประหารเฉพาะความผิดร้ายแรงจริง ๆ เท่านั้น

นายจาง จุน รองประธานศาลประชาชนสูงสุดจีน บอกว่า ต่อจากนี้จะพยายามกลับคำตัดสินประหารให้มากขึ้น โดยจะเปลี่ยนเป็นโทษจำคุกตลอดชีวิต หรือจำคุกน้อยกว่านั้ากจำเลยแสดงให้เห็นถึงความสำนึกผิด และมีความประพฤติดี ไม่ใช่ผู้ร้ายโดยสันดาน

รายงานเมื่อช่วงต้นปีของ องค์การนิรโทษกรรมสากล ระบุว่า ตลอดปี พ.ศ. 2551 ที่ผ่านมา จีนประหารชีวิตนักโทษอย่างน้อย 1,718 ราย ในจำนวนนี้มีความผิด คดีที่ไม่น่าถึงโทษประหารรวมอยู่ด้วย เช่น ความผิดฐาน ทุจริตคอร์รัปชั่น หรือหลีกเลี่ยงภาษี เป็นต้น

หนังสือพิมพ์ไชน่า เดลี่ ของทางการจีน รายงานว่า โทษประหารชีวิตจากศาลชั้นต้น ถูกศาลประชาชนสูงสุดกลับคำตัดสิน 15% ในปี พ.ศ. 2550 และประมาณ 10% ในปี พ.ศ. 2551

ทางด้านอิหร่าน องค์การนิรโทษกรรมสากล บอกว่า อัตราการประหารชีวิต พุ่งสูงจนน่าตกใจ โดยเฉพาะช่วงหลังเกิดความขัดแย้ง จากการเลือกตั้งประธานาธิบดีอิหร่านล่าสุด ซึ่งมีขึ้นเมื่อวันที่ 12 มิ.ย. ที่ผ่านมา

ช่วง 50 วันเศษ ๆ จาก 12 มิ.ย. ถึงต้นเดือน ส.ค. อิหร่านประหารชีวิตนักโทษ ไม่ต่ำกว่า 115 ราย หรือโดยเฉลี่ยตกวันละ 2 ราย

และจากวันที่ 1 ม.ค. - วันเลือกตั้งประธานาธิบดี 12 มิ.ย. อิหร่านประหารนักโทษอย่างน้อย 196 ราย ส่งผลให้สาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน กลายเป็นประเทศที่มีการประหารชีวิตนักโทษ มากเป็นอันดับ 2 ของโลก รองจากสาธารณรัฐประชาชนจีน

ตลอดปี พ.ศ. 2551 อิหร่านประหารนักโทษ อย่างน้อย 246 ราย

ไอรีน ข่าน เลขาธิการนิรโทษกรรมสากล บอกว่า นักโทษ 115 รายที่ถูกประหในอิหร่านนับจากวันที่ 12 มิ.ย. 14 รายในจำนวนนี้ถูกประหารในวันที่ 2 ก.ค. 20 รายในวันที่ 4 ก.ค. 13 รายในวันที่ 14 ก.ค. และ 24 รายในวันที่ 5 ส.ค.

องค์การนิรโทษกรรมสากล ยอมรับ ว่า ตัวเลขจริงนักโทษที่ถูกประหารชีวิต ทั้งใน จีนและอิหร่าน สูงกว่าที่ปรากฏเป็นข่าวอย่างแน่นอน เพราะเชื่อว่ามีการประหารอย่างลับ ๆ โดยที่สาธารณชนไม่มีโอกาสได้รับรู้อีกจำนวนหนึ่ง

จีนประหารชีวิต ในคดีความผิดร้าย แรงเกือบทุกข้อหา แต่ของอิหร่านส่วนใหญ่เป็นโทษจากความผิด เกี่ยวข้องกับยาเสพติด ฆาตกรรม ข่มขืน ปล้นทรัพย์

ทางการอิหร่าน บอกว่า การประหารชีวิตถือเป็น เครื่องมือที่จำเป็น ในการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของสังคม และจะใช้ในกรณีที่จำเป็นที่สุด และหลังจากผ่าน กระบวนการพิจารณาคดีในศาล โดยละเอียดถี่ถ้วนแล้วเท่านั้น.

เลนซ์ซูม

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook