สังฆทานถวายพระ

สังฆทานถวายพระ

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
ควรเลือกอาหาร-เครื่องดื่มสุขภาพ

ข้อมูลจากเว็บไซต์ของโรงพยาบาลสงฆ์ ระบุว่าในปี 2549 มีพระสงฆ์อาพาธ และเข้ามารับการรักษาเฉพาะในโรงพยาบาลสงฆ์เป็นผู้ป่วยนอกจำนวน 71,000 รูป โรคที่พระสงฆ์อาพาธมากที่สุด 10 อันดับ ได้แก่ โรคความดันโลหิตสูง, เบาหวาน, ถุงลมโป่งพอง, โรคกระดูกเสื่อม, ข้อเข่าเสื่อม, โรคหัวใจและหลอดเลือด, โรคไขมันหลอดเลือดสูง, โรคฟันผุ, โรคเกี่ยวกับตา เช่น ต้อกระจก, เหงือกอักเสบ และโรคท้องเสีย ซึ่งมีสาเหตุมาจากผู้ทำบุญนำอาหารประเภทแป้ง น้ำตาล และไขมัน มาถวายอยู่เป็นประจำ ประกอบกับการ ฉันวันละ 1-2 มื้อ หลังจากนั้นเป็นการฉันเครื่องดื่มต่าง ๆ ซึ่งเป็นพวกน้ำหวานเป็นหลัก

ดังนั้นการถวายภัตตาหารจึงควรหลีกเลี่ยงภัตตาหารประเภทดังกล่าว และควรให้ความสำคัญกับการเลือกสรรภัตตาหาร เครื่องดื่มที่มีประโยชน์เสริมสุขภาพ และปัจจัยวัตถุในการถวายสังฆทานให้มาก ด้วยความตะหนักถึงสุขภาพที่แข็งแรงสำหรับพระสงฆ์ เครื่องดื่มเปปทีน เครื่องดื่มบำรุงสุขภาพและให้สารอาหารครบถ้วน จัดกิจกรรมชวนคนไทยทำบุญเข้าวัดถวายสังฆทานด้วยอาหาร และเครื่องดื่มบำรุงสุขภาพ เมื่อเร็ว ๆ นี้ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่พระสงฆ์ และขอเป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับผู้สนใจ นำไปถวายสังฆทานแด่พระสงฆ์ในโอกาสต่าง ๆ

กรกนก ยงสกุล เวิร์กกิ้งวูแมนรุ่นใหม่ ให้แนว คิดในการเลือกซื้อของถวายพระในโอกาสต่าง ๆ ของ ที่นำไปถวายพระส่วนใหญ่เน้นเรื่องอาหารสุขภาพเป็นหลัก เน้นของดีมีประโยชน์ และที่ขาดไม่ได้คือยาสามัญประจำบ้าน รวมถึงเครื่องดื่มที่มีประโยชน์ด้วย ในเมื่อมีความตั้งใจทำบุญควรใส่ใจสิ่งของสำหรับถวายพระด้วยส่วนตัวเข้าวัดทำบุญกับครอบครัวเป็นประจำ

ส่วน สุภี พงษ์พานิช ที่มีโอกาสทำบุญทุกวันจันทร์ เพราะธนาคารไทยพาณิชย์นิมนต์พระมารับสังฆทาน บอกว่านเวลาไปทำบุญถวายสังฆทานไม่นึกถึงถังสำเร็จรูปเลย สิ่งแรกที่คิดคือของจำเป็นของพระสงฆ์ ที่ใช้ในชีวิตประจำวันมีอะไรบ้าง ของที่ถวายจึง ไม่ควรเป็นของไร้ประโยชน์ ยอมเหนื่อยจัดซื้อหาทีละชิ้น และนำมาบรรจุด้วยตัวเอง เหนื่อยแต่มีความสุข และปลื้มใจที่ได้เลือกสรรของดี ๆ ถวายพระ

ด้านสาวมั่น ดลิน โสภณพนิช ยังพิชิต ที่กำลังเวิร์กสุด ๆ กับร้านนำเข้าเสื้อผ้า ดิ แอดเจ็คทีฟ บอกว่าชอบจัดเตรียมของถวายพระในโอกาสต่าง ๆ ด้วยตัวเอง ไปซื้อในซูเปอร์มาร์เกต โดยเลือกในสิ่งที่ตัวเองคิดว่าจำเป็นต่อชีวิตประจำวันของพระสงฆ์ ไม่ชอบของที่เหมือนคนอื่น ๆ หาของใหม่ ๆ ให้พระได้ใช้ และเน้นเรื่องของสุขภาพเป็นหลัก.

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook