นักวิชาการ เผย การปล่อยน้ำออกจากนาก่อนข้าวออกดอก ช่วยลดก๊าซมีเทนในนาข้าวได้ ลดภาวะโลกร้อน

นักวิชาการ เผย การปล่อยน้ำออกจากนาก่อนข้าวออกดอก ช่วยลดก๊าซมีเทนในนาข้าวได้ ลดภาวะโลกร้อน

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
นักวิชาการ เผย การปล่อยน้ำออกจากนาก่อนข้าวออกดอกสามารถช่วยลดการปล่อยก๊าซมีเทนในนาข้าวได้เกือบร้อยละ 50 ลดภาวะโลกร้อน และเพิ่มปุ๋ยในดินให้กับเกษตรกร น.ส.ทัศนีย์ เจียรพสุอนันท์ นักศึกษาปริญญาเอกด้านสิ่งแวดล้อม บัณฑิตวิทยาลัยร่วมด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม (JGSEE) เปิดเผยว่า จากการศึกษาวิจัย พบว่า การเพิ่มธาตุอาหารให้กับดินโดยการไถกลบตอซังข้าวจะยิ่งเป็นการเพิ่มปริมาณการปลดปล่อยก๊าซมีเทนขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศ ซึ่งถือเป็นตัวการในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอันดับหนึ่ง เนื่องจากจุลินทรีย์ที่อยู่ในดินจะย่อยสลายธาตุอาหารและผลิตก๊าซมีเทนเพิ่มมากขึ้นตามปริมาณธาตุอาหาร ดังนั้น การจัดการน้ำในนาข้าว โดยการปล่อยน้ำออกจากนาในบางช่วงของการปลูกข้าวจะช่วยลดการปลดปล่อยก๊าซมีเทนได้ ทั้งนี้ จากการวิจัยการเปรียบเทียบวัฏจักรคาร์บอนในนาข้าว โดยเฝ้าติดตามและเก็บตัวอย่างก๊าซที่ปล่อยออกมาจากนาข้าว พบว่า ช่วงที่ข้าวปล่อยก๊าซมีเทนมากที่สุด คือ ช่วงเวลาที่ข้าวออกดอก วิธีที่จะช่วยลดการปล่อยก๊าซมีเทน จึงทำได้โดยการปรับสภาพดินในนาให้แห้ง ไม่มีน้ำท่วมหน้าดิน หรือทำให้เกิดสภาพมีออกซิเจน ด้วยการปล่อยน้ำออกเป็นช่วงเวลาสั้นๆ ในช่วง 3-5 วันก่อนข้าวออกดอก เนื่องจากกลไกการสร้างก๊าซมีเทน จะเกิดเมื่อจุลินทรีย์ย่อยสลายธาตุอาหารในสภาพไร้ออกซิเจน ดังนั้น การเพิ่มออกซิเจนให้กับดินนาจึงทำให้จุลินทรีย์ลดการสร้างก๊าซมีเทนลงได้ ซึ่งการจัดการด้วยวิธีนี้จะลดการปล่อยก๊าซมีเทนได้มากเกือบร้อยละ 50 และส่งผลกระทบต่อผลผลิตไม่ถึงร้อยละ 1
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook