นักวิทย์ทั่วโลกจี้ WHO ยอมรับเชื้อโควิด-19 แพร่ผ่านฝอยละอองทางอากาศได้

นักวิทย์ทั่วโลกจี้ WHO ยอมรับเชื้อโควิด-19 แพร่ผ่านฝอยละอองทางอากาศได้

นักวิทย์ทั่วโลกจี้ WHO ยอมรับเชื้อโควิด-19 แพร่ผ่านฝอยละอองทางอากาศได้
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

นักวิทยาศาสตร์กว่า 200 รายทั่วโลกลงชื่อกดดันให้ WHO ยอมรับว่าเชื้อโควิด-19 สามารถแพร่ผ่านฝอยละอองทางอากาศได้ ด้าน WHO ระบุ กำลังทบทวนข้อมูลของการแพร่กระจาย

นักวิทยาศาสตร์จาก 32 ประเทศกว่า 239 รายลงชื่อในจดหมายเปิดผนึกถึงองค์การอนามัยโลก (WHO) ที่ตีพิมพ์ในวารสารวิทยาศาสตร์ เพื่อต้องการให้ WHO ทบทวนคำแนะนำในการป้องกันการติดต่อของเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ที่เป็นสาเหตุหลักของการแพร่ระบาดของโควิด-19

ในจดหมายระบุว่า 2 นักวิทยาศาสตร์จากออสเตรเลียและสหรัฐฯ มีหลักฐานบ่งชี้ว่า เชื้อไวรัส SARS-CoV-2 หรือ โควิด-19 สามารถแพร่กระจายในรูปแบบของฝอยละอองขนาดเล็กที่มีปริมาณเพียงพอต่อการแพร่กระจายในอากาศขณะที่มีการหายใจออก การพูดคุย และการไอ

ทั้งนี้ ตามหลักฐานของนักวิทยาศาสตร์ทำให้สันนิษฐานได้ว่า ผู้คนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ปิดภายในตัวอาคารอาจจะมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นต่อการได้รับเชื้อไวรัสมากกว่าที่คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้

ตามรายงานของ WHO ก่อนหน้านี้ระบุว่า เชื้อโควิด-19 นั้นสามารถแพร่กระจายผ่านฝอยละอองที่มีขนาดใหญ่ โดยการไอและจามส่วนใหญ่จะทำให้ฝอยละอองตกลงบนพื้นมากกว่าที่จะทำให้แพร่ผ่านอากาศได้ ยกเว้นฝอยละอองที่เกิดจากการใช้เครื่องมือทางการแพทย์ซึ่งจะทำให้มีความเสี่ยงสูงกว่าในการรับเชื้อ

กลุ่มนักวิทยาศาสตร์กล่าวว่า การทบทวนข้อเท็จจริงของเส้นทางการแพร่กระจายของเชื้อไวรัสนั้นมีความสำคัญมาก เนื่องจากหลายประเทศเริ่มผ่อนปรนมาตรการล็อกดาวน์ที่เข้มงวดลง

หนึ่งในนักวิทยาศาสตร์ที่ลงชื่อถึง WHO ยังกล่าวว่า ด้วยข้อสันนิษฐานใหม่นี้ มาตรการป้องกันการติดเชื้อนั้นอาจจะต้องเพิ่มมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดทางอากาศเพิ่มเติมด้วยเช่นกัน

ศาสตราจารย์ บาบัค จาวิด ที่ปรึกษาด้านโรคติดต่อของมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ กล่าวว่า การแพร่กระจายของเชื้อไวรัสผ่านทางอากาศนั้นมีความเป็นไปได้และเป็นไปไม่ได้ แต่ยังขาดหลักฐานว่า เชื้อไวรัสสามารถลอยตัวอยู่ในอากาศเป็นระยะเวลานานเท่าใด ซึ่งหากเชื้อไวรัสลอยตัวอยู่ในอากาศได้นาน อาจจะส่งผลให้เมื่อผู้ที่ติดเชื้อเดินออกจากพื้นที่ก่อนหน้านี้ ยังมีเชื้อไวรัสลอยตัวอยู่ในอากาศได้ และจะส่งผลต่อคำแนะนำในการป้องกันตัวต่อผู้ทำงานด้านสาธารณสุข และมาตรการป้องกันตัวเองอื่นๆ

อย่างไรก็ตาม WHO ออกมากล่าวว่า กำลังอยู่ระหว่างให้ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิคขององค์กรทบทวนข้อสันนิษฐานที่ทางนักวิทยาศาสตร์เสนอมา

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook