เกาะติด 2 คนเก่งมทร.อีสาน จากเด็กโคราชสู่ช่างแรงงานโอลิมปิค

เกาะติด 2 คนเก่งมทร.อีสาน จากเด็กโคราชสู่ช่างแรงงานโอลิมปิค

เกาะติด 2 คนเก่งมทร.อีสาน จากเด็กโคราชสู่ช่างแรงงานโอลิมปิค
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ขณะนี้เชื่อได้ว่าหลายคนกำลังส่งแรงใจไปเชียร์ ประวิทย์ บุญหล้า และ กรกช ชุมแสง 2 ตัวแทนนักศึกษาไทยจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ รั้วดอกแคแสด มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน (มทร. อีสาน) ในการแข่งขันฝีมือแรงงานนานาชาติ (World Skills Competition) หรือ การแข่งขันฝีมือแรงงงานโอลิมปิก ระหว่างวันที่ 29 ส.ค.-10 ก.ย. 2552 ณ เมืองแคลการี ประเทศแคนาดา จัดขึ้นโดยองค์กรระหว่างประเทศ (IVTO: International Vocational Training Organization) ทุกๆ 2 ปี ครั้งนี้ถือเป็นครั้งที่ 40

พวกเขาทั้ง 2 คน กว่าจะก้าวมาสู่เส้นทางความสำเร็จในทุกวันนี้  ไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบ ความอดทด ความขยันหมั่นเพียรเรียนหนังสือเป็นเรื่องสำคัญ ขณะที่คำสอน ความรู้ และแรงผลักดันจากคณาจารย์ ผู้บริหารมีส่วนช่วยสนับสนุนให้พวกเขาก้าวมาสู่จุดนี้ได้

ประวิทย์ บุญหล้า เล่าว่า ก่อนที่จะได้รับการคัดเลือกเพื่อเข้าแข่งขันในการแข่งขันฝีมือแรงงานนานาชาติในครั้งนี้ ต้องเข้าร่วมแข่งขันแรงงานแห่งชาติ จัดโดยกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กระทรวงแรงงาน ที่เน้นในการพัฒนามาตรฐานเพื่อให้เยาวชนและกำลังแรงงานของประเทศ มีศักยภาพเทียบเท่ามาตรฐานสากลกับเยาวชนทั่วประเทศ เริ่มตั้งแต่ระดับจังหวัดจนถึงระดับภาค จะดำเนินการคัดเลือกตัวแทนระดับจังหวัดที่อยู่ในสังกัด เช่นสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน ภาค 5 จ.นครราชสีมา

โดยคัดเลือกตัวแทนระดับภาค จัดแข่งขันระหว่างตัวแทนของ 6 จังหวัดในสังกัด ซึ่งประกอบด้วย นครราชสีมา ชัยภูมิ บุรีรัมย์ สุรินทร์ มหาสารคาม และนครนายก โดยคัดเลือกผู้ชนะเลิศเป็นตัวแทนภาค 1 คน เข้าแข่งงขันในการแข่งขันฝีมือแรงงานแห่งชาติ ครั้งที่ 22 ผลปรากฏว่า กรกช ชุมแสง คว้าชนะเลิศเหรียญทอง ส่วน ประวิทย์ บุญหล้า ได้รับรางวัลรองชนะเลิศ เหรียญเงิน ในสาขาช่างเครื่องทำความเย็นและปรับอากาศ

จากนั้นทั้งคู่ได้เป็นตัวแทนประเทศไทยไปแข่งขันฝีมือแรงงานระดับอาเซียน ครั้งที่ 7 (Asean Skills Competition) ที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซียระหว่างวันที่ 10-19 พ.ย. 2551 โดย ในส่วนการแข่งขันสาขาช่างทำความเย็นและปรับอากาศ นั้นมีการแข่งขันทั้งภาคทฤษฎี และภาคปฏิบัติ ใช้ความรู้ในการแก้ไขปัญหาและการประกอบติดตั้งห้องเย็น ซึ่งทั้งคู่ก็ไม่ทำให้ชาวโคราชและคนไทยผิดหวัง คว้ารางวัล 1 เหรียญทองและ 1 เหรียญเงิน มาครองได้สำเร็จ

"ตอนนั้นพวกเราทั้ง 2 คนรู้สึกดีใจและภาคภูมิใจเป็นอย่างยิ่งที่สามารถนำธงชาติไทยขึ้นไปรับรางวัล เหรียญทองและเหรียญได้เป็นผลสำเร็จอย่างที่ตั้งใจไว้ ซึ่งการแข่งขันครั้งนี้ทำให้ตนเองมีประสบการณ์และทักษะใหม่เกิดขึ้นตามมาและ จะนำไปปรับใช้เพื่อแข่งขันนะดับนานาชาติ อย่างไรก็ตาม อยากจะฝากไปถึงน้องๆที่กำลังศึกษาในด้านวิศวกรรมศาสตร์ทุกคนว่าหากมีความ ตั้งใจและพรแสวงทุกคนก็สามารถที่จะประสบความสำเร็จได้ดังนั้นควรที่จะต้องใจ และตั้งมั่นที่จะศึกษาหาความรู้ให้กับตนเองจึงจะประสบความสำเร็จ" กรกช ทิ้งท้าย

ความตั้งใจของทั้งคู่นำพวกเขาก้าวสู่เวทีระดับนานาชาติ ได้รับคัดเลือกให้เป็นผู้แทนนักศึกษาไทยเข้าร่วมการเข้าการแข่งขันฝีมือแรงงานนานาชาติ (World Skills Competition) หรือ การแข่งขันฝีมือแรงงงานโอลิมปิก กรกช ,ประวิทย์ และทีมงานตั้งใจและมีการเตรียมตัวอย่างเต็มที่ เนื่องจากการแข่งขันครั้งนี้ มีประเทศเข้าร่วมการแข่งขันถึง22ประเทศ อาทิ อเมริกา ญี่ปุ่น เกาหลี เยอรมัน และแคนนาเจ้าภาพ ซึ่งถือว่าเป็นอย่างหนักและเป็นเรื่องที่ท้าทายที่เด็กไทยจะได้โชว์ฝีมือ ด้านแรงงานโดยเฉพาะด้านเครื่องทำความเย็นและปรับอากาศให้นานาประเทศ

สำหรับความพร้อมของทั้งคู่ในการเก็บตัวฝึกฝันกว่า 6 เดือน เพื่อเข้าแข่งขันในรายการนี้ ได้รับการสนับสนุน จาก บริษัท EMERSON Climate Technologies ซึ่งเป็นผู้นำในการสร้างสรรค์นวัตกรรมระดับโลกสำหรับระบบปรับอากาศและระบบทำความเย็น ที่รู้จักกันในชื่อ โคปแลนด์สโครลคอมเพรสเซอร์ (Copelandฎ Scroll) ที่ต้องการสนับสนุนเยาวชนไทยให้มีเวทีในการนำเสนอความสามารถเชิงการแข่งขันไปสู่สายตาชาวโลก

ทั้งนี้ มทร.อีสาน ได้เริ่มเข้าไปมีส่วนร่วมในการแข่งขันฝีมือแรงงานนานาชาติ สาขาช่างเครื่องทำความเย็นและปรับอากาศ ตั้งแต่ครั้งที่ 36 เมื่อ พ.ศ. 2544 ถึงการแข่งขันครั้งล่าสุดคือการแข่งขันครั้งที่ 40 ใน 2 ส่วนคือ ส่วนที่ 1 การได้รับการคัดเลือกจากคณะกรรมการเตรียมการเก็บตัวฝึกซ้อม ให้ มทร.อีสาน นครราชสีมา เป็นสถานที่เก็บตัวฝึกซ้อม และ ผศ.ชูชัย ต.ศิริวัฒนา ทำหน้าที่วิทยากรผู้ฝึกสอน และส่วนที่ 2 คือการที่นักศึกษาของมทร.อีสาน ได้รับการคัดเลือกให้เป็นตัวแทนประเทศไทย โดยผ่านการแข่งขันกับตัวแทนจากทุกภาคทั่วประเทศ โดยการแข่งขันใน 4 ครั้งหลังสุด ตัวแทนประเทศไทยที่เข้าแข่งขัน เป็นนักศึกษาจาก มทร.อีสานทั้งสิ้น

แม้ผลการแข่งขันในวันที่ 10 ก.ย.นี้จะออกมาเช่นไร เชื่อแน่ว่าสำหรับคนไทยแล้ว เด็กและเยาวชนที่มีความสามารถก้าวไปสู่เวทีระดับนานาชาติเช่นนี้ได้ นับเป็นความภาคภูมิใจของชาวโคราช และคนไทยทุกคน ทำ ให้ประเทศไทยได้รับการยอมรับในมาตรฐานฝีมือจากนานาชาติ และถือเป็นผลงานที่น่าภาคภูมิใจ ยืนยันความสำเร็จในแนวทางการจัดการศึกษาของมหาวิทยาลัยไทย ในการผลิตบัณฑิตนักปฏิบัติ

 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook