"หญิงหน่อย" จี้ทบทวนกฎหมาย E-Sports ยกตัวอย่าง "Tencent" มูลค่ามหาศาล

"หญิงหน่อย" จี้ทบทวนกฎหมาย E-Sports ยกตัวอย่าง "Tencent" มูลค่ามหาศาล

"หญิงหน่อย" จี้ทบทวนกฎหมาย E-Sports ยกตัวอย่าง "Tencent" มูลค่ามหาศาล
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ ประธานยุทธศาสตร์พรรคเพื่อไทย ระบุ ข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว “คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ Sudarat Keyuraphan” จี้รัฐทบทวนกฎหมาย E-Sports โดยระบุว่า

สุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ ประธานยุทธศาสตร์พรรคเพื่อไทย ประกาศผลักดันรัฐทบทวน กฎหมาย E-Sports พร้อมเปิดเวทีระดมความคิด ให้มีการรับฟังความเห็นรอบด้านทั้งในมุมของผู้ปกครองที่ห่วงใยลูกหลาน และผู้เกี่ยวข้องในแวดวง E-Sports. โดยผลักดันให้ตั้งกรรมาธิการวิสามัญเพื่อศึกษาให้รอบด้านก่อนออกกฏหมาย

เนื่องด้วยในขณะนี้อุตสาหกรรม Digital Entertainment กำลังเป็นดาวรุ่งในยุค Disruption ยิ่งสภาวะหลัง Covid ประเทศไทยจำเป็นต้องมองหาฐานรายได้ใหม่ๆ มาทดแทนธุรกิจที่ถูก Disrupt

ธุรกิจ E-Sports และ Gaming กำลังเติบโตเร็วมาก ทั่วโลกมีจำนวนคนเล่นเกมอยู่ถึง 2700 ล้านคน มียอดรายได้มากกว่าธุรกิจเพลงและหนังรวมกันถึงราว 2.5 เท่า Platform content ยักษ์ใหญ่ของโลกอย่าง YouTube และ Netflix ยังมีรายได้รวมกันเท่ากับ 1 ใน 5 ของธุรกิจเกมเท่านั้น และธุรกิจเกมยังมีการเติบโตอย่างต่อเนื่องแบบ double digit ทุกปี ในช่วง 30 ปีที่ผ่านมาไม่มีแม้แต่ปีเดียวที่ธุรกิจเกมมีการเติบโตอย่างติดลบแม้แต่ในปีที่มีวิกฤตเศรษฐกิจโลก เช่นในช่วง วิกฤต Dot Com, วิกฤตต้มยำกุ้ง, วิกฤต Subprime (Hamburger Crisis) หรือแม้กระทั่งวิกฤต Covid-19 ตัวล่าสุด

ในอเมริกา ในปี 2020 มีการคาดคะเนว่าธุรกิจเกมสร้างรายได้ให้กับประเทศมากถึง 36,921 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยหากเทียบเป็นเงินบาทไทยก็สูงเกินกว่า 1 ล้านล้านบาท ประเทศจีนเองก็มีการเติบโตด้าน gaming อย่างมหาศาล ถึงขั้นก้าวแซงอเมริกาไปแล้วในส่วนของรายได้ โดยในปี 2020 จีนจะทำเงินจากธุรกิจเกมสูงถึง 40,854 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยทั้งสองประเทศมหาอำนาจนี้ มีสัดส่วนของรายได้ที่มาจากเกมเทียบเป็นสัดส่วนได้ประมาณ 0.2-0.25% ของ GDP ของประเทศ บริษัทเกมเพียงบริษัทเดียวในประเทศจีน เช่น Tencent มีมูลค่าตามราคาตลาดสูงเทียบเท่ากับ 75% ของมูลค่าของทุกบริษัททั้งหมดที่อยู่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยรวมกัน และมีมูลค่าพอๆกับ Annual GDP ของประเทศไทยทั้งประเทศ

ในความเป็นจริงประเทศไทยเองก็มีเงินสะพัดอยู่ในธุรกิจเกมถึงปีละราวๆ 2 หมื่นล้านบาท ซึ่งติดอันดับ 19 ของโลก แต่เป็นเรื่องน่าเสียดายที่ส่วนใหญ่รายได้กว่า 90 % จะถูกส่งกลับไปต่างประเทศหมด เนื่องจากเกมที่ให้บริการอยู่ในประเทศไทยเป็นเกมที่ถูกผลิตมาจากต่างประเทศแทบทั้งสิ้น ทั้งๆที่เด็กไทยมีศักยภาพมากมาย ทั้งกลุ่ม Programmer , Game Developer , Digital Artist, Animator, Streamer , Publisher , Caster , Cosplay หรือแม้แต่ Light & Sound ฯลฯ ทั้งยังมีความได้เปรียบในส่วนของ production cost ที่ถูกกว่าประเทศอย่างอเมริกาหรือญี่ปุ่นอย่างมหาศาล (ประมาณ 1 ใน 8)

เราจึงควรสนับสนุนทำให้ไทยเป็นศูนย์กลางของอุตสาหกรรมนี้ เพื่อให้เป็นฐานรายได้ใหม่ให้ประเทศ ในขณะที่ฐานการผลิตอื่น ทั้งไฟฟ้า อิเล็กทรอนิค รถยนต์ ทยอยย้ายฐานออกจากไทย

และในทางกลับกันความห่วงใยของพ่อแม่ผู้ปกครอง เรื่องเด็กติดเกมส์ ก็เป็นเรื่องใหญ่ที่ต้องรับฟังและแก้ไข ในฐานะของคนเป็นแม่ ดิฉันเข้าใจดี และมีความห่วงใยมากเช่นกัน แต่การแก้ปัญหาเรื่องนี้มิใช่การออกกฎหมายแล้วปัญหาเด็กติดเกมส์จะจบไป

ตรงกันข้ามถ้าออกกฎหมายอย่างไม่เข้าใจ นอกจากจะแก้ปัญหาเด็กติดเกมส์ไม่ได้ ยังจะเป็นอุปสรรค์ขัดขวาง การเจริญเติบโตของอุตสาหกรรม E-Sports และ Games ที่จะเป็นโอกาสสร้างรายได้ ให้เด็กรุ่นใหม่และประเทศไทย อีกจำนวนมากมาย บริบทของโลกยุค Digital เปลี่ยนแปลงไปหมดแล้ว เราต้องสนับสนุนให้เด็กไทยไปคว้าโอกาส สร้างรายได้ จาก Asset ใหม่ของโลกยุคใหม่ให้ได้ ไม่ใช่เป็นตัวถ่วงโอกาสและความเจริญของเด็กๆยุคใหม่ ผู้ใหญ่ต้องเข้าใจ ชี้แนะ ในทางที่ถูก และสนับสนุนให้เขาเติบโตในทางที่ถูกที่ควรค่ะ

ดิฉันยกตัวอย่างแค่เรื่อง ความคิดที่จะห้ามการไม่ให้ Streaming เกิน 2 ชม. สมมุติกฎหมายออกมา ก็ห้ามได้เฉพาะ Streamer ไทย เด็ก ๆ ไทยก็จะหันไปดู Streamer จากอเมริกา และอีกหลายประเทศได้อยู่ดี เพราะทุกอย่าง On-Line ดูกันได้ทั้งโลก ซ้ำร้ายเราก็จะคุมเนื้อหาความรุนแรงไม่ได้อีกด้วย

ดิฉันจึงเสนอให้รัฐบาลต้องฟังความเห็นจากทุกฝ่ายให้รอบด้านก่อนการออกกฎหมายโดย เพื่อไทย จะจัดเวที “ตีป้อม เปิดแมพ ปล่อยของ” ใน EP.2 เร็วๆนี้ เชิญมาร่วมระดมความคิดกันอีกครั้งนะคะ

และถือโอกาสขอบคุณ คุณ ธานิน ภิรมย์หวาด ประธานกรรมการบริหาร Electronics Extreme คุณนิธินันท์ บุญวัฒนพิศุทธิ์, กรรมการบริหาร, บริษัทแอกซิออน เวนเจอร์ จำกัด (มหาชน) (Axion Ventures Inc.), และประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัท ทรู แอกซิออน อินเตอร์แอคทีฟ จำกัด (True Axion Interactive Co., Ltd.) ไซคลอปส์ (Xyclopz) หรือคุณแชมป์ ตรีภพ เที่ยงตรง, นักพากย์และเจ้าของธุรกิจ eSports, คุณเดชพิสฤษดิ์ ประคำทอง เจ้าของเพจแวดวง Esport (สื่อ E-Sport) , คุณดลประภพ เทียนดำ Founder และ Vice President ของ The Dreamcasters, Siraphob “Lakoi” Ratanaprateepkorn, คุณ Max - creator นักพากย์ และสตรีมเมอร์, คุณกำพล สุดายุวร, Country Manager, Mineski Global Thailand (เอเจนซีและผู้จัดงานด้านอีสปอร์ตกระดับเอเชีย) และบุคลากรในวงการอีกมากมาย ที่มาร่วมวงสนทนา และมาร่วมปล่อยของในการสนทนา EP.1 ที่มาด้วยนะคะ

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook