เผยผลตรวจโควิด-19 หญิงวัย 31 ปอดติดเชื้อ จากแล็บ 3 แห่ง
คำที่ถูกค้นบ่อย
    Sanook//s.isanook.com/sr/0/images/logo-new-sanook.png60060
    //s.isanook.com/ns/0/ud/1641/8209410/covid.jpgเผยผลตรวจโควิด-19 หญิงวัย 31 ปอดติดเชื้อ จากแล็บ 3 แห่ง

    เผยผลตรวจโควิด-19 หญิงวัย 31 ปอดติดเชื้อ จากแล็บ 3 แห่ง

    2020-07-16T09:49:09+07:00
    แชร์เรื่องนี้

    สธ. เผยเบื้องต้นผลการตรวจ หญิงไทยวัย 31 ปี มีอาการปอดอักเสบ ไม่พบติดเชื้อโควิด-19 รอตรวจซ้ำด้วยเทคโนโลยีทางพันธุกรรม

    นายแพทย์สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2563 เวลา 16.40 น. กรมควบคุมโรค ได้รับรายงานผู้ป่วยยืนยัน COVID-19 จำนวน 1 ราย เป็นเพศหญิง สัญชาติไทย อายุ 31 ปี ประวัติโรคประจำตัวเป็นโรคเบาหวาน จากโรงพยาบาลแห่งหนึ่ง ย่านราษฏร์บูรณะ เข้ารับการรักษาเป็นผู้ป่วยในตั้งแต่วันที่ 30 มิถุนายน 2563 ด้วยอาการบวมตามแขนขา

    ต่อมาในวันที่ 13 กรกฎาคม 2563 ผู้ป่วยอาการไม่ดีขึ้น มีอาการปอดอักเสบ แพทย์สงสัยโรคโควิด-19 จึงเก็บตัวอย่างจากโพรงจมูกส่งตรวจที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ผลพบเชื้อ เก็บตัวอย่างจากเสมหะตรวจ ผลไม่พบเชื้อ และทางกรมควบคุมโรค ได้ทำการเก็บเสมหะเพิ่มเติมอีกครั้ง เพื่อส่งตรวจยืนยัน ในวันที่ 14 และวันที่ 15 กรกฎาคม 2563 เนื่องจากการสอบสวนประวัติจากสามีพบว่า ผู้ป่วยไม่มีประวัติของปัจจัยเสี่ยงแต่อย่างใด

    ผลการตรวจโดยสถาบันบำราศนราดูร และกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ไม่พบเชื้อ ต่อมา รพ.จุฬาลงกรณ์ ได้มีการตรวจตัวอย่างจากโพรงจมูกซ้ำ ผลไม่พบเชื้อ ดังนั้นสรุปได้ว่า ผู้ป่วยรายนี้ยืนยันได้ว่า ไม่ใช่ผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 อย่างไรก็ตาม เพื่อความมั่นใจสถาบันบำราศนราดูรกำลังทำการตรวจโดยใช้เทคโนโลยีการหาลำดับเบสที่พัฒนาขึ้นใหม่ อยู่ระหว่างรอผล

    ทั้งนี้ หลังจากรับรายงานผู้ป่วยรายนี้ และอยู่ระหว่างรอผลการตรวจซ้ำ ทีมสอบสวนควบคุมโรค ของกรมควบคุมโรค ร่วมกับ สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร ได้ไปที่โรงพยาบาลดังกล่าว เพื่อเริ่มการสอบสวนโรค ค้นหาผู้สัมผัส และตรวจหาเชื้อในผู้สัมผัสเสี่ยงสูง รวมทั้งดำเนินการควบคุมโรคร่วมกับโรงพยาบาล อีกทั้งลงสอบสวนในโรงงานที่ผู้ป่วยและสามีทำงานอยู่พบว่าไม่มีผู้ใดที่เดินทางมาจากต่างประเทศ และไม่มีพนักงานใหม่เข้าทำงาน และมีการคัดกรองไข้ก่อนเข้าทำงานทุกวัน

    ถึงแม้ว่าผลการตรวจของผู้ป่วยรายนี้จะยืนยันได้ว่าไม่พบเชื้อก่อโรคโควิด-19 แต่การดำเนินงานในเหตุการณ์นี้ แสดงให้เห็นถึงการเตรียมความพร้อมของกระทรวงสาธารณสุขและเครือข่ายโรงพยาบาลในด้านการรักษาพยาบาล การเฝ้าระวังสอบสวนโรค และทรัพยากรการตรวจทางห้องปฏิบัติที่มีประสิทธิภาพ