ยศ-ราชทินนาม-ตำแหน่งของพระสงฆ์ ที่แยกแทบไม่ออกกับรูปแบบการเมืองการปกครอง

ยศ-ราชทินนาม-ตำแหน่งของพระสงฆ์ ที่แยกแทบไม่ออกกับรูปแบบการเมืองการปกครอง

ยศ-ราชทินนาม-ตำแหน่งของพระสงฆ์ ที่แยกแทบไม่ออกกับรูปแบบการเมืองการปกครอง
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ระยะนี้มีการแต่งตั้งเลื่อน ยศ ราชทินนามและตำแหน่งให้กับพระสงฆ์บ่อยครั้งทำให้เกิดคำถามอยู่เนืองๆ ด้วยผู้คนส่วนใหญ่ไม่เข้าใจหรือว่าไม่รู้เรื่องยศ ราชทินนามและตำแหน่งของบรรดาพระสงฆ์เอาเสียเลย

ดังนั้น ผู้เขียนจึงขออนุญาตชี้แจงความเป็นมาสักนิดเพื่อที่จะได้คุยกันรู้เรื่องมากขึ้น เพราะในสมัยสังคมศักดินาของไทยดั้งเดิม ระบบราชการไทยก็ใช้ระบบ ยศ ราชทินนามและตำแหน่งมานานตั้งแต่สมัยอยุธยาแต่ก็ได้ยกเลิกไปแล้วสำหรับบรรดาข้าราชการที่เป็นฆราวาส (ขุน หลวง พระ พระยา เจ้าพระยา สมเด็จเจ้าพระยา)   

การปกครองคณะสงฆ์นั้น (คำว่าคณะสงฆ์นี่ก็แปลก เพราะว่าสงฆ์ก็แปลว่าพวกหรือคณะอยู่แล้ว ที่เรียกว่าพระสงฆ์ ก็คือว่าพวกของพระภิกษุนั่นเอง) ตามประวัติศาสตร์แล้วก็จะจัดตามแบบของการปกครองบ้านเมืองในยุคนั้นๆ คือ สมัยก่อนตั้งแต่สมัยอยุธยานั้นจะแบ่งข้าราชการ (ขุนนาง) ออกเป็น 2 ฝ่าย คือ ฝ่ายทหาร (ฝ่ายบู๊) กับ ฝ่ายพลเรือน (ฝ่ายบุ๋น)

ดังนั้น พระสงฆ์ก็ยังแบ่งออกเป็น 2 พวกใหญ่ๆ คือ คามวาสี (พระที่อยู่ในเมืองหรือที่เรียกว่าพระบ้าน) กับ อรัญวาสี (พระภิกษุที่อยู่ในป่าหรือที่เรียกว่าพระป่า) เหมือนกัน ชั้นต้นต้องเข้าเรื่องของขุนนางสมัยก่อนสักนิด 

ขุนนาง หมายถึง ข้าราชการระดับต่างๆ ที่มีศักดินาตั้งแต่ 400-10,000 ไร่ ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงโปรดแต่งตั้ง ได้มีการแบ่งขุนนางออกเป็นประเภทต่างๆ ตาม "ศักดิ์" 4 วิธีด้วยกัน "ศักดิ์" แปลว่า อำนาจหรือเกียรติภูมิ ศักดิ์ 4 ประการมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกันมากคือ

  1. ศักดินา คือ เครื่องหมายแสดงเกียรติยศและแสดงสิทธิ หน้าที่ ความรับผิดชอบ ตามศักดินา เช่น ผู้ที่มีศักดินาสูงก็มีสิทธิ หน้าที่ ความรับผิดชอบสูงตามศักดินา ผู้มีศักดินาต่ำ ก็มีสิทธิ หน้าที่ ความรับผิดชอบน้อย เป็นต้น
  2. ยศ เป็นการแสดงถึงฐานะ บรรดาศักดิ์ของขุนนาง ยศของขุนนางในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ที่สูงสุดคือ สมเด็จเจ้าพระยา และลดหลั่นลงไปเป็นเจ้าพระยา พระยา พระ หลวง ขุน
  3. ราชทินนาม เป็นการแสดงถึงตำแหน่งของขุนนาง หรือพระบรมวงศานุวงศ์ เช่น จักรีศรีองครักษ์ฯ ศรีธรรมราชชาติเดโชฯ เป็นต้น
  4. ตำแหน่ง เป็นการแสดงถึงหน้าที่ที่ขุนนางปฏิบัติหรือรับผิดชอบ เช่น เสนาบดี ปลัดทูลฉลอง เป็นต้น

คราวนี้ก็มาถึงพระสงฆ์ในประเทศไทย ซึ่งภายหลังเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อปี 2475 แล้วนั้น ก็ได้มีการเปลี่ยนรูปแบบของการปกครองคณะสงฆ์ตามแบบรูปการปกครองของทางอาณาจักร คือ ก่อให้เกิด สังฆสภา สังฆนายก สังฆมนตรี ฯลฯ แต่ได้เปลี่ยนกลับเป็นรูปเดิมอีกในสมัยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ คือเอาตามแบบสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์

ขออิงศักดิ์ของขุนนางสมัยก่อนนะครับ แบบว่าศักดิ์ขุนนางพระที่ยังใช้อยู่ในปัจจุบันนี้ถ้าจะไม่เหมือนศักดิ์ของขุนนางสมัยก่อนก็มีอย่างเดียวที่ไม่มีคือ "ศักดินา" เท่านั้น ส่วน "ยศ" "ราชทินนาม" และ "ตำแหน่ง" ยังคงมีอยู่ครบบริบูรณ์ กล่าวคือ

  1. ยศ  ก็คือ บรรดาศักดิ์ของพระภิกษุ ซึ่งยศสูงสุด ก็คือ สมเด็จพระราชาคณะ: การที่ตั้งพระภิกษุเป็นพระราชาคณะนั้นเป็นกุศโลบายอันชาญฉลาดของการปกครองของพระมหากษัตริย์แต่เดิมมา ซึ่งพระมหากษัตริย์นั้นคือสมมติเทพตามความเชื่อของศาสนาฮินดู ดังนั้นจะลงมาคลุกคลีเล่นหัวกับชาวบ้านไม่ได้มากนัก จึงต้องหาพระภิกษุที่ประพฤติดี ประพฤติชอบ เป็นที่เคารพนับถือของชาวบ้านชาวเมืองมาเป็นพวก ซึ่งพระราชาคณะก็คือ คณะของพระราชาหรือพวกของพระราชานั่นเอง ตำแหน่งสูงสุดของพระราชาคณะคือ
    1. สมเด็จพระราชาคณะ มีจำนวนกำหนดตายตัว แบ่งระหว่าง 2 นิกายหลักคือ มหานิกาย มีสมเด็จพระราชาคณะ 4 รูป กับ ธรรมยุติ 4 รูป เช่น สมเด็จพระพุฒาจารย์ สมเด็จพระมหาธีราจารย์ สมเด็จพระวันรัต สมเด็จพระมหาวีรวงศ์  เป็นต้น
    2. พระราชาคณะรอง (ชั้นหิรัณยบัฏ) มี 18 รูป แบ่งเป็นของมหานิกาย 11 รูป เป็นของธรรมยุต 7 รูป เช่น พระสุเมธาธิบดี พระพรหมจริยาจารย์ พระวิสุทธิวงศาจารย์ พระญาณวโรดม พระสาสนโสภณ พระพรหมเมธี เป็นต้น
    3. พระราชาคณะชั้นธรรม มี 41 รูป แบ่งเป็นของมหานิกาย 27 รูป เป็นของธรรมยุต 14 รูป เช่น พระธรรมปิฎก พระธรรมโกศาจารย์ พระธรรมมหาวีรานุวัตร พระธรรมโสภณ พระธรรมดิลก พระธรรมกวี เป็นต้น
    4. พระราชาคณะชั้นเทพ มี 73 รูป แบ่งเป็นของมหานิกาย 47 รูป เป็นของธรรมยุต 26 รูป เช่น พระเทพวรมุนี พระเทพปริยัติมุนี พระเทพโสภณ พระเทพสีมาภรณ์ พระเทพบัณฑิต พระเทพโมลี พระเทพเมธาจารย์ เป็นต้น
    5. พระราชาคณะชั้นราช มี 164 รูป แบ่งเป็นของมหานิกาย 117 รูป เป็นของธรรมยุต 47 รูป เช่น พระราชวรเมธี พระราชภาวนาวิกรม พระราชศีลวิมล พระราชวิทยาคม พระราชวราลังการ พระราชกวี พระราชวินัยเวที พระราชภัทราจารย์ เป็นต้น
    6. พระราชาคณะชั้นสามัญ มี 446 รูป แบ่งเป็นของมหานิกาย 324 รูป เป็นของธรรมยุต 122 รูป เช่น พระอมรสุธี พระภัทรสารมุนี  พระคีรีรัฐธรรมคณี พระญาณโมลี พระปริยัติโกศล พระเมธาวินัยรส พระมงคลดิลก พระมหานายก พระพิศาลธรรมพาที เป็นต้น

สาเหตุที่นิกายธรรมยุตมีพระราชาคณะน้อยกว่าฝ่ายมหานิกาย ก็เนื่องจากมีจำนวนพระสงฆ์น้อยกว่ามากนั่นเอง

  1. ราชทินนาม ก็คือ ชื่อที่พระราชทานต่อท้ายยศ ดังยกตัวอย่างแล้ว
  2. ตำแหน่ง ก็คือ ตำแหน่งในทางปกครอง ได้แก่
    1. เจ้าคณะใหญ่คณะธรรมยุติ ดูแลบรรดาพระธรรมยุตทั่วประเทศ
    2. เจ้าคณะหนกลาง ดูแลพระมหานิกายในภาคกลาง
    3. เจ้าคณะหนตะวันออก ดูแลพระมหานิกายในภาคตะวันออก
    4. เจ้าคณะหนใต้ ดูแลพระมหานิกายในภาคใต้

ต่ำลงมาก็เป็นเจ้าคณะภาค ซึ่งทางมหานิกายแบ่งออกเป็น 18 ภาค และฝ่ายธรรมยุติแบ่งออกเป็น 18 ภาคเหมือนกัน แต่เนื่องจากฝ่ายธรรมยุติมีพระภิกษุน้อยมากเลยมีการบังคับบัญชาควบภาคกัน เช่น ภาค 1-2-3 และ 12-13 หรือภาค 16-17-18 ก็จะมีเจ้าคณะภาคองค์เดียว เป็นต้น

ซึ่งเจ้าคณะภาคเหล่านี้ก็บังคับบัญชาเจ้าคณะจังหวัด เจ้าคณะอำเภอ และเจ้าคณะตำบล ตามลำดับไป

นี่แหละครับ! จากการที่คนไทยเรามีช่วงชั้นแตกต่างกันเยอะเหลือเกิน เวลาจะพูดกับใครก็ต้องคิดหาสรรพนามที่เหมาะสมกับตัวเราเอง (บุรุษที่หนึ่ง) และคำสรรพนามที่เหมาะสมสำหรับคนที่เรากำลังพูดด้วย (บุรุษที่สอง) แค่นี้ก็ปวดหัวตายแล้ว เพราะการพิจารณาว่าตัวเราเป็นใครในความสัมพันธ์กับคนที่เรากำลังพูดอยู่ด้วยนั้นมันยากนะครับ  คือ

  1. ตัวเรา (บุรุษที่หนึ่ง) นั้นอยู่ในสถานภาพที่ต่ำกว่า เสมอกันหรือสูงกว่า บุคคลที่เรากำลังพูดด้วย (บุรุษที่สอง) แค่นั้นยังไม่พอ ยังต้องพิจารณาถึงดีกรีว่าต่ำกว่ามากไหม โดยดูวัยวุฒิ คุณวุฒิ (ยศฐาบรรดาศักดิ์ด้วย) และบางทีที่ชาติวุฒิ (อีทีนี้แหละยุ่งที่สุด เช่น ระดับพระองค์เจ้ากับหม่อมหลวงนี่ห่างกันเยอะนะครับ) ถ้าเสมอกันก็ต้องดูว่าเสมอกันแบบต่ำกว่าหรือเสมอแบบสูงกว่า เช่น เป็นเพื่อนนักเรียนกันแต่พ่อของของเพื่อนเป็นเจ้าหนี้หรือเจ้านายของพ่อของเรา นี่ก็ทำให้การเสมอกันไม่เสมอจริงๆ เสียแล้ว เช่นเดียวกับสถานภาพที่สูงกว่าก็ต้องดูด้วยว่ามากน้อยเพียงใดเหมือนกัน

แล้วเรื่องเพศเล่า? เพศหญิงลำบากกว่าเพศชายโดยเฉพาะคำสรรพนามบุรุษ (สตรี) ที่หนึ่ง

  1. คำสรรพนามบุรุษที่หนึ่งของภาษาไทยเรามีมากมายหลายสิบคำเหลือเกิน อาทิ ฉัน ผม ข้าพเจ้า ดิฉัน หนู ข้า กู ฯลฯ เลือกใช้ผิดเวลา สถานที่ และบุคคล อาจถึงตายได้ง่ายๆ

ทำนองเดียวกันกับสรรพนามบุรุษที่สอง ถ้าจะให้ปลอดภัยก็เรียกคนที่เราพูดด้วยทุกคนว่า "ท่าน" ก็อาจจะดี แต่ก็ต้องระวังถ้าไปพูดกับคนคิดมาก เขาจะหาว่าพูดประชดประชันเขาไปซะได้

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook