โควิด-19 ทำยอดฆ่าตัวตายของผู้หญิงญี่ปุ่นพุ่งสูงกว่า 83%

โควิด-19 ทำยอดฆ่าตัวตายของผู้หญิงญี่ปุ่นพุ่งสูงกว่า 83%

โควิด-19 ทำยอดฆ่าตัวตายของผู้หญิงญี่ปุ่นพุ่งสูงกว่า 83%
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ผู้เชี่ยวชาญจากหลายสถาบันออกมาเตือนว่า การระบาดของโรคโควิด-19 จะนำไปสู่วิกฤตสุขภาพจิต ปัญหาการตกงาน ภาวะโดดเดี่ยวทางสังคม และความวิตกกังวล ส่งผลกระทบต่อผู้คนทั่วโลก เช่นเดียวกับในประเทศญี่ปุ่น ที่สถิติทางการ แสดงจำนวนผู้เสียชีวิตจากการฆ่าตัวตายในเดือนตุลาคมเพียงเดือนเดียว มีจำนวนมากกว่าผู้เสียชีวิตด้วยโรคโควิด-19 ทั้งปี โดยยอดผู้เสียชีวิตในเดือนตุลาคมพุ่งสูงขึ้นถึง 2,153 ราย ขณะที่ผู้เสียชีวิตจากโรคโควิด-19 ทั้งปี อยู่ที่ 2,087 ราย 

ประเทศญี่ปุ่น เป็นหนึ่งในประเทศที่มีอัตราการฆ่าตัวตายมากที่สุดในโลก ในปี 2016 ประเทศญี่ปุ่นมีอัตราการฆ่าตัวตายอยู่ที่ 18.5 ต่อประชากร 100,000 คน ขณะที่สาเหตุของการฆ่าตัวตายก็มีความสลับซับซ้อน เช่น เวลาทำงานที่ยาวนาน ความกดดันในโรงเรียน ภาวะโดดเดี่ยวทางสังคม และทัศนคติทางสังคมเกี่ยวกับเรื่องปัญหาสุขภาพจิต เป็นต้น 

แต่ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา จนถึงปี 2019 ตัวเลขการฆ่าตัวตายของคนญี่ปุ่นมีจำนวนลดน้อยลง ซึ่งในปีที่แล้ว มียอดผู้เสียชีวิตจากการฆ่าตัวตายเพียง 20,000 ราย ซึ่งถือเป็นจำนวนที่น้อยที่สุดตั้งแต่ปี 1978 ซึ่งเป็นปีที่กระทรวงสาธารณะสุขญี่ปุ่นได้เริ่มทำการเก็บตัวเลขผู้เสียชีวิตจากการฆ่าตัวตาย 

อย่างไรก็ตาม การระบาดใหญ่ของโรคโควิด-19 ส่งผลให้อัตราการฆ่าตัวตายในประเทศญี่ปุ่นพุ่งสูงขึ้นอีกครั้ง โดยเฉพาะในกลุ่ม “ผู้หญิง” โดยในเดือนตุลาคมที่ผ่านมา ผู้หญิงญี่ปุ่นฆ่าตัวตายเพิ่มขึ้นมากกว่า 83% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว ในขณะที่ ผู้ชายเพิ่มขึ้น 22% 

เหตุผลหนึ่งที่ผู้หญิงญี่ปุ่นตัดสินใจฆ่าตัวตายมากขึ้น เพราะในช่วงการระบาดของโรคโควิด-19 ส่งผลให้ผู้หญิงส่วนใหญ่ที่ทำงานพาร์ทไทม์ในธุรกิจโรงเเรม ร้านอาหาร หรืออุตสาหกรรมค้าปลีก ถูกปลดจากการทำงาน 

“ประเทศญี่ปุ่นละเลยผู้หญิงมานาน นี่เป็นสังคมที่คนที่อ่อนแอที่สุดจะถูกจำกัดเป็นกลุ่มแรก หากมีเรื่องไม่ดีเกิดขึ้น” เอริโกะ โคบายาชิ หญิงชาวญี่ปุ่นที่เคนพยายามฆ่าตัวตาย กล่าว 

นอกจากจะต้องกังวลเรื่องรายได้ ผู้หญิงญี่ปุ่นยังต้องรับมือกับภาระการดูแลลูกที่พุ่งสูงขึ้น สำหรับผู้หญิงที่ยังไม่ถูกปลดจากงาน เมื่อลูก ๆ ไม่สามารถไปโรงเรียนหรือศูนย์เลี้ยงเด็กได้ ภาระความรับผิดชอบดูแลลูกก็จะตกเป็นของแม่โดยปริยาย จึงกลายเป็นงานที่ผู้หญิงเหล่านี้ต้องแบกรับ เช่นเดียวกับภาระหน้าที่งานที่เธอต้องทำ ยิ่งไปกว่านั้น ความวิตกกังวลเรื่องสุขภาพและความเป็นอยู่ของลูก ๆ ยังเป็นอีกภาระให้ผู้หญิงญี่ปุ่นในช่วงการระบาดของโรคโควิด-19 อีกด้วย 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook