เตรียมชม ดาวเสาร์เคียงพฤหัสบดี 21 ธ.ค. ดูจากโลกใกล้กันที่สุดในรอบเกือบ 800 ปี

เตรียมชม ดาวเสาร์เคียงพฤหัสบดี 21 ธ.ค. ดูจากโลกใกล้กันที่สุดในรอบเกือบ 800 ปี

เตรียมชม ดาวเสาร์เคียงพฤหัสบดี 21 ธ.ค. ดูจากโลกใกล้กันที่สุดในรอบเกือบ 800 ปี
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ดาวเคราะห์ที่ใหญ่ที่สุด 2 ดวงของระบบสุริยจักรวาลจะอยู่บนท้องฟ้าในตำแหน่งที่ใกล้กันที่สุดเมื่อมองจากโลก ในรอบ 794 ปี หรือตั้งแต่ยุคที่ยังไม่สถาปนากรุงสุโขทัย

คืนวันที่ 21 ธ.ค. นี้ ดาวพฤหัสบดีและดาวเสาร์จะปรากฏอยู่ใกล้กันมากจนเกือบทับกันสนิท หรือเรียกปรากฏการณ์นี้เป็นภาษาอังกฤษว่า Conjunction (คอนจังชัน)

นายแพทริก ฮาร์ติแกน นักวิชาการด้านฟิสิกส์และดาราศาสตร์จากมหาวิทยาลัยไรซ์ ในนครฮูสตัน รัฐเทกซัสของสหรัฐ ให้ความเห็นต่อปรากฏการณ์นี้ว่า จริงๆ แล้วการที่ดาวเสาร์และพฤหัสบดีมาอยู่ใกล้กันมากเกิดขึ้นทุก 20 ปีโดยประมาณ แต่การอยู่ใกล้กันในครั้งนี้มีความพิเศษกว่าครั้งอื่นๆ เพราะอยู่ใกล้กันมากกว่าหลายครั้งที่ผ่านมา ซึ่งการใกล้กันครั้งล่าสุดเช่นนี้เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 4 มี.ค. 1769 (ค.ศ. 1226)

ดาวเสาร์และดาวพฤหัสบดี ที่จริงแล้ว มาอยู่ใกล้กันตั้งแต่ช่วงกลางปีนี้ และมาอยู่ใกล้กันเรื่อยๆ เมื่อมองจากโลก และในวันที่ 16-25 พ.ย. นี้ จะเป็นช่วงที่ใกล้ที่สุด ซึ่งผู้ที่อยู่ในประเทศไทยจะสังเกตได้ในช่วงสั้นๆ หลังดวงอาทิตย์ตก โดยหันหน้าไปทางทิศตะวันตก

แม้เมื่อมองจากโลกจะดูใกล้กันมาก แต่องค์การบริการอวกาศและการบินสหรัฐ (นาซา) ระบุว่า ดาวเคราะห์ทั้ง 2 ดวงนี้ ก็ยังอยู่ห่างกันในอวกาศหลายร้อยล้านกิโลเมตรอยู่ดี

นายฮาร์ติแกน บอกอีกว่า ปรากฏการณ์ดาวพฤหัสบดีและดาวเสาร์อยู่ใกล้กันมากเช่นนี้หรือมากกว่านี้ เกิดขึ้นเพียง 7 ครั้ง ตั้งแต่ปี 543 จนถึงปี 3543 ซึ่ง 2 ครั้งจากทั้ง 7 ครั้งดังกล่าวเกิดขึ้นใกล้กับดวงอาทิตย์มากจนมองด้วยตาเปล่าไม่ได้ ดังนั้นครั้งนี้ที่สามารถสังเกตได้ด้วยตาเปล่า จึงเป็นปรากฏการณ์ที่ไม่ควรพลาดอย่างยิ่ง

ส่วนในทางโหรศาสตร์ก็คาดการณ์กันไว้ว่า เมื่อดาวเสาร์และดาวพฤหัสบดีมาอยู่ในราศีเดียวกันเช่นนี้ จะทำให้เกิดเหตุการณ์ใหญ่ทางการเมืองดังเช่นที่เกิดขึ้นในอดีต ไม่ว่าจะเป็น การปฏิวัติสยามปี 2475 และพฤษภาทมิฬ 2535

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook