"หมอยง" เคลียร์ทุกประเด็น "วัคซีนโควิด" ย้ำเลือกดีที่สุดสำหรับคนไทย เน้นปลอดภัย

"หมอยง" เคลียร์ทุกประเด็น "วัคซีนโควิด" ย้ำเลือกดีที่สุดสำหรับคนไทย เน้นปลอดภัย

"หมอยง" เคลียร์ทุกประเด็น "วัคซีนโควิด" ย้ำเลือกดีที่สุดสำหรับคนไทย เน้นปลอดภัย
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

วัคซีนโควิด “หมอยง” เคลียร์ชัด เลือกวัคซีนสายกลาง เน้นปลอดภัย มีผลทดลองยืนยัน แม้ไม่สมบูรณ์เต็มร้อยแต่ต้องใช้ในภาวะวิกฤติฉุกเฉิน

ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก คณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผยถึงการเลือก วัคซีนโควิด สำหรับฉีดให้ผู้ติดเชื้อในประเทศไทยว่า จากภาวะการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่เกิดขึ้นทั่วโลก ทำให้เกิดความต้องการวัคซีนจำนวนมาก ขณะที่ผู้ผลิตยังไม่สามารถผลิตวัคซีนโควิด เพื่อตอบสนองความต้องการได้ทั้งหมด สภาวะปัจจุบันจึงทำให้ตลาดวัคซีน เป็นของผู้ขาย ที่มีทางเลือกมากกว่าผู้ซื้อ

นอกจากนี้ การที่ไวรัสโควิด-19 เป็นเรื่องใหม่ของทุกคน ทำให้การพัฒนาวิจัย และผลิตวัคซีนป้องกันโควิด-19 เป็นเรื่องใหม่ด้วยเช่นกัน จึงต้องยอมรับว่า อาจต้องมีการรวบบางขั้นตอนในการทดลอง เพื่อให้สามารถนำมาใช้ได้เร็วขึ้น โดยมีเวลาพัฒนาเพียง 1 ปีเท่านั้น

ศ.นพ.ยง ยกตัวอย่างว่า ปกติขั้นตอนการพัฒนาวัคซีน จะเริ่มจากใช้ในสัตว์ทดลอง ตั้งแต่หนู ไปจนถึงสัตว์ขนาดใหญ่ขึ้น เช่น ลิง เมื่อพบว่ามีความปลอดภัยในสัตว์ทดลอง จึงถึงขั้นตอนการขออนุญาตเพื่อทดลองในมนุษย์ ซึ่งต้องมีขั้นตอนอย่างน้อยอีก 3 ขั้นตอน ได้แก่ ทดลองว่ามีความปลอดภัยในมนุษย์ เมื่อพบว่ามีความปลอดภัย จะไปสู่ขั้นตอนที่ 2 คือ ผลการกระตุ้นภูมิต้านทาน และตามด้วยขั้นตอนที่ 3 การศึกษาประสิทธิภาพของวัคซีน

“ในอดีตทั่วไป ถ้าเป็นยามปกติ การทดลองในมนุษย์ ต้องใช้เวลาติดตามอาการ ผลข้างเคียงต่อเนื่องเป็นปี หรือ 2 ปีแล้วจึงมาสรุปผลการทดลอง แต่ในยามโรคระบาดตอนนี้ ถือเป็นภาวะฉุกเฉิน ทำให้รอครบกำหนดการวิจัยทุกขั้นตอนไม่ได้ สิ่งสำคัญจึงอยู่ที่การพิจารณาเลือกตัวที่ปลอดภัยที่สุดในเวลานั้น”

ดังนั้น วัคซีนที่พัฒนาและนำมาใช้ในปัจจุบัน จึงเป็นการทดลองขั้นที่ 3 และติดตามอาการเพียง2-3 เดือน ต้องนำมาใช้ก่อนเพื่อแก้วิกฤติโรคระบาดโควิด แต่ผลการศึกษายังไม่จบ เพราะจะมีการพัฒนา ติดตามผลต่อไปจนเสร็จสิ้นทุกขั้นตอน จึงจะถือว่าสิ้นสุดการทดลอง

นอกจากนี้ วัคซีน ที่มีอยู่ในปัจจุบัน ยังมีหลายชนิด ซึ่งแต่ละชนิดมีความแตกต่างกัน และมีผลข้างเคียงแตกต่างกัน โดยแบ่งเป็น 3 แบบ คือ

แบบที่ 1 mRNA ซึ่งใช้กันมากทางประเทศตะวันตก โดยเป็นการใช้รหัสพันธุกรรมไวรัสเป็นตัวนำ แล้วฉีดเข้าร่างกาย ผู้ผลิตวัคซีนกลุ่มนี้ คือ ไฟเซอร์ และ โมเดอร์นา ซึ่งถือว่า เป็นวัคซีนใหม่ ใช้เทคโนโลยีระดับสูง และยังไม่เคยมีการใช้ในมนุษย์มาก่อน

แบบที่ 2 เป็น Viral vector vaccine เป็นประเภทที่ประเทศไทยจะนำเข้ามา คือ บริษัท แอสตร้าเซนเนก้า จำกัด ส่วนวัคซีน Sputnik V ของรัสเซียและบริษัทในจีนนั้นไทยไม่ได้ติดต่อ วัคซีน ชนิดนี้ จะคล้ายกับ mRNA ต่างกันที่เคยมีการใช้ในมนุษย์มาก่อน เช่น วัคซีนป้องกันโรคอีโบล่า และยังมีของจอห์นสันแอนด์จอห์นสัน ที่อยู่ระหว่างการวิจัยทดลองในระยะที่ 3 ซึ่งยังไม่ได้รับอนุญาตการใช้จากทางการ

แบบที่ 3 เป็นวัคซีนจากเชื้อตายที่มีการนำมาใช้กว่า 70 ปีแล้ว ยกตัวอย่าง วัคซีน โปลิโอ, พิษสุนัขบ้า, ตับอักเสบ A แต่ต้องให้วัคซีนหลายครั้ง เป็นวัคซีนรุ่นเก๋า แต่การศึกษาอาการข้างเคียงง่ายกว่าชนิดใหม่ และหากจะผลิตต้องสร้างห้องเพาะเชื้อก่อนทำให้ตาย ซึ่งจะต้องเป็นห้องชีวนิรภัยระดับสูง จึงไม่สามารถลดต้นทุนให้ถูกได้

สำหรับประเทศไทย เลือกสายกลาง ของบริษัท แอสตร้าเซนเนก้า จำกัด ที่ไม่ต้องใช้เชื้อก่อโรค และมีราคาถูก รวมทั้งมีข้อมูลเรื่องการฉีดในมนุษย์มาแล้ว จึงมั่นใจเรื่องความปลอดภัยได้ระดับหนึ่ง และถือว่าเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดในขณะนี้

ส่วนคำถามประเด็นอาการข้างเคียง หรืออาการไม่พึงประสงค์นั้น ต้องแยกให้ชัดเจนก่อนว่า อาการข้างเคียง กับอาการไม่พึงประสงค์แตกต่างกัน โดยอาการข้างเคียงเป็นอาการที่เกิดจากการใช้วัคซีน แต่อาการไม่พึงประสงค์ อาจจะเกิดจากการใช้วัคซีน หรือเกิดจากการไม่ใช้วัคซีนก็ได้ ซึ่งต้องใช้การพิสูจน์

ขณะที่กรณีความกังวล หลังจากหลายประเทศ พบรายงานผู้เสียชีวิต หลังการฉีด วัคซีน เช่น ประเทศนอร์เวย์ นั้น วัคซีนใหม่เมื่อฉีดเข้าร่างกายแล้ว จะเกิดอาการไม่พึงประสงค์ และอาการข้างเคียงได้ แต่ต้องมีการพิสูจน์สาเหตุการเสียชีวิตให้ชัดเจนก่อนว่าสาเหตุมาจากการใช้วัคซีนหรือไม่ ส่วนกรณีหมอเสียชีวิตที่โปรตุเกส ไม่เกี่ยวกับ วัคซีน

เมื่อถามถึงการเลือกฉีดวัคซีนว่า ทำไมเลือกฉีดผู้สูงอายุ ผู้มีโรคประจำตัว ก่อนวัยแรงงาน ศ.นพ.ยง ชี้แจงว่า การเลือกกลุ่มเสี่ยงก่อนผู้ที่มีอายุเกิน 60 ปีผู้ที่มีโรคประจำตัว เพราะเราต้องการลดการนอนโรงพยาบาล พยาบาลลดการสูญเสียทรัพยากร และลดการสูญเสียชีวิต

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook