4 การเปลี่ยนแปลงของ “ห้องทำงานรูปไข่” หลังโจ ไบเดน รับตำแหน่ง ปธน.

4 การเปลี่ยนแปลงของ “ห้องทำงานรูปไข่” หลังโจ ไบเดน รับตำแหน่ง ปธน.

4 การเปลี่ยนแปลงของ “ห้องทำงานรูปไข่” หลังโจ ไบเดน รับตำแหน่ง ปธน.
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เข้าสู่วันที่สองของการทำงานของประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาคนใหม่ “โจ ไบเดน” สื่อหลายสำนักก็เริ่มตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับ “ห้องทำงานรูปไข่” (Oval Office) ห้องทำงานอย่างเป็นทางการของประธานาธิบดี ซึ่งตั้งอยู่ในทำเนียบขาว ไม่ใช่แค่การทำข้อตกลง การประกาศทางการเมือง หรือการรับแขกจากต่างประเทศเท่านั้น แต่วิธีการตกแต่งห้องของประธานาธิบดี การเลือกผลงานศิลปะสักชิ้นมาจัดวาง การเลือกเฟอร์นิเจอร์ หรือแม้กระทั่งของจุกจิก ก็ยังถูกจับตามองเช่นกัน เพราะสิ่งเหล่านี้สามารถสะท้อนให้เห็นถึงตัวตนและแนวคิดของประธานาธิบดีที่อยู่ในห้องนี้ได้เป็นอย่างดี และนี่คือ 4 การเปลี่ยนแปลงของห้องทำงานรูปไข่ ในสมัยของโจ ไบเดน

ห้องทำงานรูปไข่ในยุคของบารัก โอบามาGettyimagesห้องทำงานรูปไข่ในยุคของบารัก โอบามา

ผลงานศิลปะ

รูปภาพของประธานาธิบดีแอนดรูว์ แจ็กสัน ทางฝั่งซ้ายของเก้าอี้ที่โต๊ะทำงานของประธานาธิบดี (Resolute Desk) ถูกแทนที่ด้วยภาพวาดเบนจามิน แฟรงคลิน ซึ่งวาดโดยโจเซฟ ดูเพลสซิส ภาพวาดนี้ยืมมาจากหอศิลป์แห่งชาติของสถาบันสมิธโซเนียน

The Washington Post รายงานว่า รูปภาพของแฟรงคลินและชุดหินดวงจันทร์ที่วางอยู่ใกล้กัน แสดงให้เห็นถึงความสนใจในวิทยาศาสตร์ของไบเดน ส่วนประติมากรรมสำริดครึ่งตัวของซีซาร์ ชาเวซ ผู้นำด้านสิทธิพลเมืองชาวลาติน ซึ่งสร้างขึ้นโดยพอล ซัวเรซ ก็ถูกนำมาวางไว้บนโต๊ะด้านหลังโต๊ะทำงานเช่นกัน

ประติมากรรมชาเวซถือเป็นการสร้างความตระหนักในวิถีชีวิตอันยากลำบากของแรงงานในฟาร์มของสหรัฐฯ ซึ่งต่อสู้เพื่อค่าตอบแทนที่ดีขึ้น ประติมากรรมดังกล่าวถูกนำมาวางไว้ในวันเดียวกับที่ไบเดนเสนอกฎหมายการอพยพย้ายถิ่น ที่อนุญาตให้แรงงานในฟาร์มสามารถยื่นเรื่องขอรับบัตรประจำตัวผู้มีถิ่นที่อยู่ถาวรอย่างถูกกฎหมายในสหรัฐฯ หรือกรีนการ์ดได้ทันที

ส่วนทางด้านขวาของโต๊ะทำงาน ไบเดนเลือกคอลเลกชันภาพวาด "Avenue in the Rain" มาวางไว้

นอกจากนี้ The Washington Post ยังระบุด้วยว่า ยังมีประติมากรรมครึ่งตัวของมาร์ติน ลูเธอร์ คิง จูเนียร์ และโรเบิร์ต เอฟ. เคนเนดี วางอยู่ด้านข้างเตาผิง เพื่อแสดงถึงการสนับสนุนการเคลื่อนไหวเพื่อสิทธิพลเมือง รวมทั้งประติมากรรมรูปโรซา พาร์กส์, เอเลนอร์ รูสเวลต์ และผลงานแกะสลักรูปชนเผ่าพื้นเมืองโดยอัลลัน เฮาเซอร์ และยังมีภาพวาดของอดีตประธานาธิบดีอย่าง จอร์จ วอชิงตัน, อับราฮัม ลินคอล์น, แฟรงคลิน ดี. รูสเวลต์, โธมัส เจฟเฟอร์สัน และอเล็กซานเดอร์ แฮมิลตัน ในขณะที่ประติมากรรมครึ่งตัวของวินสตัน เชอร์ชิลล์ ถูกนำออกไปจากห้อง

ปากกาประจำตัวของโดนัลด์ ทรัมป์Gettyimagesปากกาประจำตัวของโดนัลด์ ทรัมป์

โต๊ะทำงาน (Resolute Desk)

ชุดถ้วยและจานรอง และกล่องปากกา เป็นวัตถุที่สะท้อนถึงการเปลี่ยนผ่านของอำนาจ จากทรัมป์ไปสู่ไบเดน เนื่องจากทรัมป์ชอบดื่มไดเอตโค้ก มักจะกดปุ่มสั่งน้ำอัดลมมาเสิร์ฟที่ห้องอยู่เสมอ และไม่ค่อยมีภาพถ่ายขณะดื่มชาหรือกาแฟมากนัก มีรายงานว่า เมื่อไบเดนเข้ามาใช้ห้องทำงานแห่งนี้ เขาได้สั่งให้นำปุ่มสั่งเครื่องดื่มนี้ออกไป

นอกจากนี้ ทรัมป์ยังชอบใช้ปากกามาร์กเกอร์สีดำเส้นหนา ในการเซ็นชื่อในเอกสารราชการต่างๆ คล้ายกับการเซ็นลายเซ็นของคนดัง และก่อนหน้านี้ยังใช้ปากการุ่นเก่าแบบเดียวกับประธานาธิบดีคนอื่นๆ และเปลี่ยนมาใช้ปากกามาร์กเกอร์หัวแหลมที่มีลายเซ็นสีทองของเขาบนด้าม

ภาพครอบครัวไบเดนบนโต๊ะด้านหลังโต๊ะทำงานGettyimagesภาพครอบครัวไบเดนบนโต๊ะด้านหลังโต๊ะทำงาน

การตกแต่งภายใน

ขณะลงนามในคำสั่งผู้บริหารเมื่อวันพุธ ไบเดนนั่งเก้าอี้หนังสีน้ำตาลนุ่มๆ ซึ่งนำเข้ามาแทนเก้าอี้ผู้บริหารสีน้ำตาลแดงของทรัมป์ ส่วนครอบครัวไบเดนเลือกของตกแต่งอย่างน้อย 2 ชิ้น จากยุคของคลินตัน แทนที่สิ่งของที่ทรัมป์เลือก เช่น พรมสีน้ำเงินลายดอกไม้และผ้าม่านสีทอง ส่วนของตกแต่งอื่นๆ มาจากคอลเลกชันของทำเนียบขาว

การเปลี่ยนแปลงอื่นๆ

ธงของกองทัพสหรัฐฯ ที่ทรัมป์เคยนำมาประดับห้องไว้ ถูกนำออกไป เช่นเดียวกับคอลเลกชันเหรียญกล้าหาญของเขา ส่วนภาพถ่ายบนโต๊ะด้านหลังโต๊ะทำงาน เปลี่ยนเป็นภาพครอบครัวใหญ่ของไบเดน และมีภาพโบ ไบเดน ลูกชายผู้ล่วงลับของประธานาธิบดี อย่างน้อย 1 ภาพ

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook