โปแลนด์ประกาศกฎหมาย “ห้ามทำแท้ง” กรณีตัวอ่อนมีความผิดปกติ

โปแลนด์ประกาศกฎหมาย “ห้ามทำแท้ง” กรณีตัวอ่อนมีความผิดปกติ

โปแลนด์ประกาศกฎหมาย “ห้ามทำแท้ง” กรณีตัวอ่อนมีความผิดปกติ
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

รัฐบาลโปแลนด์ประกาศใช้กฎหมายยุติการทำแท้งฉบับใหม่ โดยยกเลิกการอนุญาตให้สามารถยุติการตั้งครรภ์ได้หากตัวอ่อนมีความผิดปกติโดยกำเนิด ส่งผลให้กฎหมายทำแท้งของโปแลนด์ “ห้ามการทำแท้งเกือบทุกกรณี” ยกเว้นในกรณีที่การตั้งครรภ์ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของมารดา และการตั้งครรภ์นั้นเกิดจากการถูกข่มขืน 

การประท้วงใหญ่เกิดขึ้นก่อนการประกาศใช้กฎหมายหลายสัปดาห์ ซึ่งถือเป็นการประท้วงที่ใหญ่ที่สุดในรอบหลายปีของโปแลนด์ โดยเรียกร้องให้รัฐบาลจากพรรค Law and Justice (PiS)  ชะลอการประกาศใช้กฎหมายดังกล่าว แต่หลังจากที่มีการประกาศใช้กฎหมายเมื่อวันพุธที่ผ่านมา กลุ่มนักเคลื่อนไหวเรื่องสิทธิการทำแท้งได้ประกาศว่า จะยกระดับการประท้วงขึ้นไปอีก 

AFP

ประเด็นเรื่องการทำแท้งกลายเป็นประเด็นที่สร้างการถกเถียงเป็นอย่างมาก นับตั้งแต่พรรค PiS ขึ้นมามีอำนาจในฝั่งรัฐบาล เมื่อปี 2015 โดยพวกเขาให้สัญญากับชาวโปแลนด์ที่ยากจน ไม่ได้รับการศึกษาสูง และอายุมาก ว่าจะนำสังคมประเพณีแบบดั้งเดิมกลับคืนมา พร้อมกับนโยบายสวัสดิการ 

“กฎหมายงี่เง่าไม่ได้ป้องกันการทำแท้ง แต่สำหรับผู้หญิงทุกคนที่ต้องประสบกับความเจ็บปวดเพราะกฎหมายนี้ หรือถูกบังคับให้ต้องให้กำเนิดลูกที่เป็นดาวน์ซินโดรม จะต้องกล่าวโทษพวกผู้พิพากษาเหล่านั้น” เซซารี จาซินสกี้ นักศึกษาวัย 23 ปี กล่าว 

AFP

การประท้วงในปีที่แล้วกลายเป็นคลื่นแห่งความโกรธเกรี้ยวที่ประชาชนมีต่อรัฐบาล โดยเฉพาะในหมู่คนรุ่นใหม่ ซึ่งคาดการณ์ว่าพรรค PiS ต้องเผชิญหน้ากับความท้าทายใหม่จากผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งหน้าใหม่ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า 

อย่างไรก็ตาม ทางการระบุว่า รัฐบาลจะพุ่งเป้าไปที่การให้ความช่วยเหลือพ่อแม่ที่มีลูกพิการแทน และตัวแทนจากพรรค PiS ก็เผยว่า ทางพรรคจะเสนอร่างกฎหมายที่จะอนุญาตให้การตั้งครรภ์ที่มีความผิดปกติของตัวอ่อนในครรภ์อย่างรุนแรงสามารถยุติการตั้งครรภ์ได้ เช่น กรณีที่ตัวอ่อนไม่มีกระโหลก หรือไม่มีโอกาสที่จะใช้ชีวิตภายนอกครรภ์ได้ เป็นต้น

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook