เรื่องวุ่นๆ บนเกาะฮิสปันโยลา จากอาณานิคมสู่การกดขี่กันเอง แถมเจอภัยธรรมชาติซ้ำเติม

เรื่องวุ่นๆ บนเกาะฮิสปันโยลา จากอาณานิคมสู่การกดขี่กันเอง แถมเจอภัยธรรมชาติซ้ำเติม

เรื่องวุ่นๆ บนเกาะฮิสปันโยลา จากอาณานิคมสู่การกดขี่กันเอง แถมเจอภัยธรรมชาติซ้ำเติม
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เกาะฮิสปันโยลา เป็นเกาะที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 ในทะเลแคริบเบียนรองจากเกาะคิวบา มีเนื้อที่ประมาณ 76,500 ตารางกิโลเมตร บนเกาะฮิสปันโยลาประกอบด้วย 2 ประเทศ คือ ประเทศเฮติทางซีกตะวันตก และสาธารณรัฐโดมินิกันทางซีกตะวันออก มี บนเกาะมีประชากรรวมกันประมาณ 22,517,392 ตน

ประชากรในเฮติมีประมาณ 11,639,146 คน มีเนื้อที่ 27,750 ตารางกิโลเมตร ส่วนประชากรในสาธารณรัฐโดมินิกันมีประมาณ 10,878,246 คน มีเนื้อที่ประมาณ 48,671 ตารางกิโลเมตร โดยทั่วไปบนเกาะฮิสปันโยลามีภูมิอากาศแบบป่าฝนเมืองร้อน

คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส เป็นชาวยุโรปกลุ่มแรกที่ค้นพบเกาะฮิสปันโยลาคือการค้นพบทวีปอเมริกาในวันที่ 5 ธ.ค. 2035 ถือเป็นโลกใหม่ของชาวยุโรปในจณะนั้นและยึดครองให้กับกษัตริย์สเปน

โคลัมบัสได้เป็นผู้ปกครองคนแรกของสเปนซึ่งโคลัมบัสได้ปกครองด้วยความโหดเหี้ยมโดยบังคับให้ชาวพื้นเมืองที่ต้อนรับพวกของโคลัมบัสเป็นอย่างดีลงเป็นทาส บังคับให้ขุดหาทองคำและทำงานหนักในไร่ฝ้ายมิหนำซ้ำยังจับชาวพื้นเมืองยัดใส่ใต้ท้องเรือกลับไปขายเป็นทาสที่สเปนอีกด้วย แถมยังลงโทษอย่างโหดร้ายกแก่ชาวสเปนผู้ที่มาตั้งรกรากในเกาะฮิสปันโยลา เช่น ตัดลิ้น ตอกตะปูที่มือนักโทษสเปน จนเรื่องเลื่องลือกับไปถึงสเปน โคลัมบัสจึงถูกปลดออกจากการเป็นผู้ปกครองเกาะฮิสปันโยลาเมื่อปี 2043

ภายหลังสงคราม 9 ปี (สงครามนี้มีชื่อหลายชื่อเพราะรบกันทั้งในยุโรป เอเชียและอเมริกา) สงบลงทำให้ฝรั่งเศสได้ดินแดนส่วนตะวันตกของเกาะฮิสปันโยลาไปครอบครองคือประเทศเฮติในปัจจุบันเมื่อปี 2240 ส่วนทางตะวันออกของเกาะซึ่งใหญ่กว่าคือประเทศโดมินิกันในปัจจุบันนั้นยังเป็นของสเปนตามเดิม

สเปนไป ฝรั่งเศสมา แต่ความโหดเหมือนเดิม

ฝรั่งเศสได้พัฒนาเฮติเป็นแหล่งปลูกอ้อยเพื่อผลิตน้ำตาลและปลูกกาแฟจนเป็นแหล่งที่มั่งคั่งที่สุดของดินแดนฝรั่งเศสทั้งหมด แต่เป็นการพัฒนาที่โหดเหี้ยมด้วยการใช้ทาสผิวดำจากแอฟริกามาเป็นแรงงานเป็นจำนวนมากที่ถูกทารุณกรรมล้มตายลงเป็นเบือเพราะถูกใช้งานหนักและโรคภัยไข้เจ็บ

เฉลี่ยทาสผิวดำจะตายภายใน 3 ปีจากการเป็นทาส ดังนั้นจึงมีทาสผิวดำจำนวนมากสามารถหนีไปอยู่ตามป่าเขาและรวมตัวกันได้จนสามารถปฏิวัติยึดครองได้ทั้งเกาะฮิสปันโยลาทำให้เฮติกลายเป็นประเทศเอกราชแห่งที่ 2 ในทวีปอเมริกาต่อจากสหรัฐและเป็นประเทศเดียวในโลกที่พวกทาสสามารถลุกขึ้นมาเอาขัยชนะเหนือนายทาสและก่อตั้งประเทศได้สำเร็จเมื่อปี 2347 (ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์)

พ้นเจ้าอาณานิคมยุโรปแต่กลับมากดขี่กันเอง

แต่เป็นที่น่าเสียดายคือตั้งแต่ก่อตั้งประเทศเฮติได้สำเร็จแล้วก็เกิดการแก่งแย่งอำนาจกันระหว่างผู้นำที่เคยเป็นทาสมาด้วยกันทั้งนั้น โดยเกิดการรัฐประหารเป็นระยะตลอดและจากการที่ทางกองทัพทำการรัฐประหารมาตลอดและทหารปราศจากความสามารถในการปกครองประเทศจนทำให้เศรษฐกิจล่มสลาย

สหรัฐจึงฉวยโอกาสยกกำลังกองทัพเรือเข้ายึดครองประเทศเฮติ ให้เฮติเป็นรัฐในอารักขาของสหรัฐเมื่อปี 2458 โดยเข้ามาจัดการเรื่องการคมนาคม การสาธารณสุข การศึกษา พัฒนาการเกษตร จัดระเบียบกองทัพ และวางรากฐานประชาธิปไตยรัฐสภาให้กับเฮติ จากนั้นก็ถูกบีบจากประชาชนอเมริกันเองให้ถอนกำลังจากเฮติในปี 247

การเมืองของเฮติดำเนินไปตามแบบประชาธิปไตยอเมริกามาจนถึงวันที่ 11 ม.ค. 2489 คณะทหารก็อ้างเหตุแห่งความวุ่นวายทางการเมืองแล้วเข้ายึดอำนาจอีกครั้ง กลายเป็นรัฐประหารครั้งที่ 18 และตามด้วยรัฐประหารปี 2493, 2499 และรัฐประหารอีก 2 ครั้งในปี 2500 จนกระทั่งมีการเลือกตั้งอีกครั้งหนึ่งในวันที่ 22 ก.ย. 2500 ซึ่งนายฟรังซัวส์ ดูวาลิเยร์ ได้ชัยชนะเป็นประธานาธิบดีแห่งเฮติ

Keystone/Getty Imagesนายฟรังซัวส์ ดูวาลิเยร์ หรือ

จากนั้น ดูวาลิเยร์ก็เข้าควบคุมกองทัพ จากนั้นก็แก้รัฐธรรมนูญ รักษาอำนาจ เปลี่ยนตนเองเป็นผู้เผด็จการ สร้างลัทธิบูชาบุคคล ให้ประชาชนยกย่องเชิดชู เรียกกันว่า "ปาปาดอก" ระบบเผด็จการของดูวาลิเยร์ขณะนั้น ได้รับการรับรองจากสหรัฐ เพราะเป็นระบอบการปกครองขวาจัดต่อต้านคอมมิวนิสต์สุดชีวิต

ดูวาลิเยร์อยู่ในตำแหน่งประธานาธิบดีตลอดชีพ จนถึง 21 เม.ย. 2514 ก็ถึงแก่กรรม อายุได้ 64 ปี ทำให้ลูกชายของเขานายฌอง-โกลด ดูวาลิเยร์ ฉายา "เบเบดอก" อายุเพียง 19  ปี ได้รับตำแหน่งประธานาธิบดีสืบทอดต่อจากพ่อ

Mario Tama/Getty Imagesนายฌอง-โกลด ดูวาลิเยร์ อดีตประธานาธิบดีเฮติ

อีก 14 ปีต่อมา เกิดการลุกฮือขึ้นต่อต้านนายดูวาลิเยร์ตั้งแต่ปี 2528 ทำให้เกิดความขัดแย้งมากขึ้น รัฐบาลสหรัฐจึงกดดันให้นายดูวาลิเยร์สละตำแหน่งในวันที่ 30 ม.ค. 2529 และให้มีการตั้งรัฐบาลรักษาการขึ้น และดำเนินการให้มีการเลือกตั้ง แต่กองทัพนำโดย พลเอก อังรี นัมฟรี ก็ก่อการรัฐประหารครั้งที่ 23 ในวันที่ 20 มิ.ย. 2531 แต่กลับนำมาสู่รัฐประหารซ้อนในวันที่ 17 ก.ย. ปีเดียวกัน

ท้ายที่สุด กองทัพก็ก่อการรัฐประหารครั้งที่ 25 ในวันที่ 30 ก.ย. 2531 ตั้งระบอบปกครองโดยทหารนานถึง 4 ปี ทำให้นานาชาติพากันคว่ำบาตรเฮติ และสหรัฐส่งคณะผู้แทนไปเจรจาให้คณะทหารคืนอำนาจสู่ประชาธิปไตย พร้อมกับเตรียมการที่จะส่งกองทัพเข้าแทรกแซงในเฮติอีกครั้งหนึ่งซึ่งในที่สุดคณะทหารเฮติต้องยอมจำนนให้มีการเลือกตั้งทั่วไป ให้ประเทศกลับคืนสู่ประชาธิปไตยในปี 2538

ยุบกองทัพหยุดคำสาปรัฐประหาร แต่ดันเจอภัยธรรมชาติ

เชื่อไหมครับว่ารัฐบาลที่ได้รับการเลือกตั้งใหม่ของเฮติได้ยุบเลิกกองทัพประจำการทั้งหมด เหลือเพียงกองรักษาการชายฝั่งทะเล และกองตำรวจแห่งชาติรักษาความปลอดภัยเท่านั้น เป็นการประหยัดงบประมาณอย่างมาก เพราะไม่ต้องมีงบกลาโหม และทำให้ประเทศปลอดภัยจากการรัฐประหาร

แต่ดูเหมือนประเทศเฮติจะถูกสาปเพราะเกิดมีภัยธรรมชาติถูกถล่มด้วยพายุเฮอริเคนทำให้คนตายนับร้อยนับพันคนแทบทุกปีตลอด 20 ปีที่ผ่านมา ที่หนักหนาสาหัสที่สุดคือปี 2553 เกิดแผ่นดินไหวคนตายนับแสน ตามด้วยโรคห่าระบาดคนป่วยเป็นแสนคนและเสียชีวิตนับพัน ตบท้ายด้วยพายุเฮอริคนตอนปลายปีอีก

เหตุนี้เฮติจึงไม่ฟื้นตัวสักทีและยังคงเป็นประเทศที่ยากจนที่สุดในโลกประเทศหนึ่ง มิหนำซ้ำประเทศโดมินิกันซึ่งเป็นเพื่อนบ้านแชร์เกาะฮิสปันโยลาอยู่ด้วยกันแท้ๆ ก็แสดงความรังเกียจชาวเติอย่างออกนอกหน้าโดยดำริจะสร้างกำแพงสูงกั้นพรมแดนตลอดแนวระหว่างประเทศในปีนี้แบบอดีตประธานาธิบดีทรัมป์ทำกับประเทศเม็กซิโกอีกด้วย

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook