เช็กด่วน! หมอเผย 12 ข้อสังเกต อาการโควิด-19 สายพันธุ์จากทองหล่อ

เช็กด่วน! หมอเผย 12 ข้อสังเกต อาการโควิด-19 สายพันธุ์จากทองหล่อ

เช็กด่วน! หมอเผย 12 ข้อสังเกต อาการโควิด-19 สายพันธุ์จากทองหล่อ
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

วันนี้ (10 เม.ย.64) พญ.นิษฐา เอื้ออารีมิตร แพทย์อายุรศาสตร์โรคระบบทางเดินหายใจ ออกมาตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับอาการของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) สายพันธุ์จากพื้นที่ทองหล่อ กรุงเทพฯ เทียบกับการแพร่ระบาดจากพื้นที่มหาชัย จ.สมุทรสาคร ซึ่งมีจำนวนผู้ป่วย 60 คน และรับผู้ป่วยมา 5 วัน

ต่อมามีชาวเน็ตช่วยกันแปลภาษาทางการแพทย์ ให้เป็นภาษาที่เข้าใจง่าย ดังนี้

  1. ระยะเวลาการเกิดโรคและแสดงอาการชัดเจนมาก 2-3 วันหลังสัมผัสเชื้อ
  2. อาการตอนแรกจะปวดเมื่อยเป็นหลักเหมือนไข้ต่ำๆ เจ็บคอนิดๆ แต่ไม่เป็นอะไรเยอะ
  3. อาการที่เกี่ยวข้องกับลำไส้และทางเดินอาหาร มีมาก่อนได้ เจอประมาณ 3 คน (5%) ที่มีอาการถ่ายเหลวนำมาก่อน ซึ่งสายพันธุ์เดิมก็มีถ่ายเหลวได้แต่จะเกิดขึ้นในวันหลังๆ
  4. ไข้เด่นมาก (หมายถึง มีไข้นำมาก่อนชัดเจนมากและไข้สูง) หลายคนมีไข้ 38.5-39.0 องศา มาเยอะตอนวันหลังๆ ประมาณวันที่ 3-4 ของการมีอาการ
  5. ปวดเมื่อยตามตัวตามช่วงที่มีไข้ คนไข้จะบอกว่าปวดหนักๆ ลึกๆ ปวดกระดูกเป็นพักๆ
  6. มีอาการเกี่ยวกับทางเดินหายใจส่วนบน (ไอ น้ำมูก จาม เจ็บคอ) บ้าง แต่ไม่เยอะ แบบหวัดธรรมดา
  7. กลิ่นยังโอเค ได้กลิ่นดี กินข้าวไม่อร่อยบ้างแต่ยังรับรสดีอยู่ อาจจะเป็นเพราะมาพบแพทย์เร็ว ต้องดูอีกทีสัปดาห์หน้า
  8. ปอดบวมมีบ้าง แต่ดูไม่เยอะเท่ารอบแรก แต่ที่ได้ยินเวลาโรคมีการเปลี่ยนแปลงจะแย่ลงเร็วมาก ให้ระวัง ที่เจอยังไม่เยอะ อาจจะเป็นวันแรกๆก็ได้ สัปดาห์หน้ามาดูกันใหม่
  9. เม็ดเลือดขาวต่ำกว่ารอบแรก รอบนี้ประมาณ 3,000 และเป็นชนิด ลิมโฟไซต์ 800-1500 เกร็ดเลือดค่อนต่ำหลายคน
  10. ผู้หญิงหลายคนดูฟิล์ม (แปลผลอาการปอดอักเสบ) ยากกว่าเดิมมาก เพราะทำศัลยกรรมเสริมหน้าอกกันเยอะ
  11. ติดเชื้อแล้วไม่แสดงอาการ ไม่มาก แค่ 5% ได้
  12. ค่าการเพิ่มของสารพันธุกรรมไวรัสโควิด (Cycle threshold ยิ่งผลตรวจออกมาได้ค่า Ct น้อยๆ แสดงว่ามีเชื้อไวรัสเยอะ เพราะทำแค่ไม่กี่รอบก็สามารถเพิ่มสารพันธุกรรมจนตรวจเจอได้แล้ว) รอบนี้ ต่ำประมาณ 10 กว่า เยอะมาก

สิ่งที่กังวลคือ จะให้ผู้ป่วยกลับบ้านหลังจากดูอาการและคนไข้ไม่มีอาการแล้ว 10 วันได้หรือไม่ และไวรัสสายพันธุ์ใหม่ยังจะแอบแพร่เชื้อได้หรือไม่

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook