แพทย์ยืนยัน วัคซีนในไทยป้องกันโควิดกลายพันธุ์ได้

แพทย์ยืนยัน วัคซีนในไทยป้องกันโควิดกลายพันธุ์ได้

แพทย์ยืนยัน วัคซีนในไทยป้องกันโควิดกลายพันธุ์ได้
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

แพทย์ยันวัคซีนในไทยป้องกันโควิดกลายพันธุ์ได้ ขอทุกภาคส่วนเพิ่มเติม 4 มาตรการ ลดการแพร่เชื้อ

นพ.ยงค์ ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก เปิดเผยถึงประสิทธิภาพของวัคซีนป้องกันเชื้อไวรัวโคโรน่า 2019 หรือโควิด-19 ว่า วัคซีนขณะนี้มีอยู่ทั้งหมด 4 รูปแบบ ซึ่งทั้งหมดป้องกันการเสียชีวิตได้ 100% ยืนยันว่าวัคซีนที่ไทยใช้อยู่ทั้ง Sinovac และ Astrazenecca สามารถป้องกันความรุนแรงของโรคได้ไม่แตกต่างจากวัคซีนยี่ห้ออื่น ส่วนการป้องกันไวรัสกลายพันธุ์ซึ่งไวรัสตัวนี้เป็นแบบ RNA ที่ทั่วโลกเป็นห่วงคือสายพันธุ์อังกฤษ แต่เมื่อดูสถิติพบว่าประสิทธิภาพการป้องกันสายพันธุ์อังกฤษนั้นไม่ต่างจากสายพันธุ์ปกติ

เนื่องจากสายพันธุ์นี้วิวัฒนาการในส่วนที่จับกับพื้นผิวของเซลล์เรา เมื่อจับง่าย จึงแพร่พันธุ์และเพิ่มจำนวนง่ายเพียงเท่านั้น แต่สายพันธุ์ที่มีผลต่อประสิทธิภาพวัคซีน คาดว่าจะเป็นสายพันธุ์แอฟริกาใต้และบราซิล เนื่องจากมีความเปลี่ยนแปลงของกรดอะมิโนในตำแหน่งที่สำคัญ ทำให้ภูมิคุ้มกันที่เกิดจากวัคซีน สามารถเกาะหรือจับได้น้อยลง อาจทำให้ประสิทธิภาพของวัคซีนลดลงบางส่วน แต่ก็ยังสามารถป้องกันความรุนแรงของโรคได้ ส่วนกระแสข่าวที่ระบุว่าผู้ติดเชื้อจะมีผื่นขึ้นมานั้น ก็สามารถเป็นไปได้ แต่ไม่ได้หมายความว่ามีผื่นแล้วจะต้องป่วยโควิด-19 เพราะต้องพิจารณาร่วมกับอาการอื่น ฉะนั้นขอให้ประชาชนติดตามอาการหลักคือไอ เจ็บคอ มีไข้ เพราะโควิด-19 เป็นโรคทางเดินหายใจ

ด้าน นพ.โศภณ เอี่ยมศิริถาวร รองอธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า เจ้าหน้าที่คาดการณ์การแพร่ระบาดโดยเปรียบเทียบสถานการณ์การแพร่ระบาดกับมาตรการป้องกัน 5 แบบ คือ

1.ไม่มีมาตรการใด ๆ

2.มาตรการปัจจุบัน ปิดสถานบันเทิง 41 จังหวัด

3.มาตรการปัจจุบันร่วมกับพฤติกรรมส่วนบุคคล

4.มาตรการปัจจุบันร่วมกับพฤติกรรมส่วนบุคคล งดการร่วมตัวกัน และ 5.

มาตรการปัจจุบันร่วมกับพฤติกรรมส่วนบุคคล งดการรวมตัวกัน และทำงานที่บ้าน พบว่าในกรณีที่ 1 ไม่มีมาตรการใด ๆ จะมีผู้ติดเชื้อวันละประมาณ 9,140 คนหรือ 100%

กรณีที่ 2 จะมีผู้ติดเชื้อวันละ 2,996 วัน หรือ 32.8% กรณีที่ 3 จะมีผู้ติดเชื้อวันละ 934 คน หรือ 10.2% กรณีที่ 4 จะมีผู้ติดเชื้อวันละ 593 คน หรือ 6.5% และกรณีที่ 5 จะมีผู้ติดเชื้อวันละ 391 คน หรือ 4.3%

รองอธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวอีกว่า ขอแนะนำให้เพิ่มเติมอีก 4 มาตรการ ได้แก่ มาตรการส่วนบุคคล คือลดการชุมนุมสังสรรค์ ลดการเดินทางข้ามจังหวัดที่ไม่จำเป็นร่วมกับผู้นำชุมชนติดตามผู้ที่เดินทางมาจากพื้นที่เสี่ยง, มาตรการสาธารณสุข ตรวจคัดกรองเชิงรุกเพื่อจำกัดวงและลดการแพร่กระจาย ดูแลรักษาผู้ป่วย จัดตั้งโรงพยาบาลสนามลดอัตราการป่วย เสียชีวิต ให้วัคซีนแก่ประชาชน, มาตรการส่วนบุคคล สวมหน้ากากอนามัย เว้นระยะห่าง ล้างมือเป็นประจำ หากสงสัยให้ตรวจหาเชื้อ คนที่สงสัยมีความเสี่ยงให้กักตัว 14 วัน คัดแยกสิ่งของเครื่องใช้ สำรับอาหาร และมาตรการองค์กร นโยบายทำงานที่บ้าน จัดประชุมออนไลน์ เน้นการเรียนการสอนออนไลน์

สำหรับการบริการจัดการเตียง ขณะนี้ประเทศไทยมีนโยบายนำผู้ติดเชื้อมาดูแลที่โรงพยาบาล ซึ่งช่วงที่ผ่านมีประชาชนไปตรวจเชื้อจำนวนมาก และต้องกลับไปรอผลที่บ้านประมาณ 1-2 วัน ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขได้ประสานให้บริหารจัดการเตียง ประชาชนแจ้งได้สำหรับผู้ที่ยังไม่ได้เตียง และโรงพยาบาลจะโทรติดต่อแจ้งผู้ที่พบเชื้อ เมื่ออาการดีขึ้น จะย้ายไปอยู่ที่ รพ.สนาม เพื่อที่จะสามารถรองรับผู้ป่วยรายใหม่เข้าสู่การรักษา เชื่อว่าสถานการณ์จะดีขึ้น สำหรับผู้ป่วยที่ยังไม่มีเตียง สามารถติดต่อไปที่เบอร์โทร 1668 ตั้งแต่เวลา 08.00-22.00 น. และประชาชนสามารถติดต่อสอบถามเรื่องโควิด-19 ได้ที่เบอร์ 1422

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook