การค้าฝิ่น เกี่ยวอะไรกับสนธิสัญญาเบาว์ริง ดีลสุดประนีประนอมของสยามต่ออังกฤษ

การค้าฝิ่น เกี่ยวอะไรกับสนธิสัญญาเบาว์ริง ดีลสุดประนีประนอมของสยามต่ออังกฤษ

การค้าฝิ่น เกี่ยวอะไรกับสนธิสัญญาเบาว์ริง ดีลสุดประนีประนอมของสยามต่ออังกฤษ
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

จักรวรรดิอังกฤษ หรือจักรวรรดิบริเตน เป็นจักรวรรดิกำเนิดจากดินแดนอาณานิคมโพ้นทะเลและสถานีการค้าของประเทศอังกฤษ

จักรวรรดิอังกฤษเป็นจักรวรรดิที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์และเป็นมหาอำนาจอันดับหนึ่งของโลกนานกว่าหนึ่งศตวรรษ

เมื่อปี 2465 จักรวรรดิอังกฤษปกครองประชากรประมาณ 458 ล้านคนหรือกว่าหนึ่งในห้าของประชากรโลกในเวลานั้นครอบคลุมพื้นที่มากกว่า 33,000,000 ตารางกิโลเมตร เกือบหนึ่งในสี่ของพื้นดินทั้งหมดของโลก ในยุคที่จักรวรรดิอังกฤษอยู่ในช่วงสูงสุดที่สุด มักพูดกันในเวลานั้นว่า "ดวงอาทิตย์ไม่เคยตกดินในจักรวรรดิอังกฤษ" เพราะอังกฤษมีดินแดนอยู่ทั่วโลกดวงอาทิตย์จึงส่องแสงอยู่ในดินแดนใต้ปกครองของอังกฤษอย่างน้อยที่สุดหนึ่งแห่งตลอดเวลา

Hulton Archive/Getty Imagesแผนที่จักรวรรดิบริเตนเมื่อปี 2440

แน่นอนที่สุดในการเป็นมหาอำนาจชั้นหนึ่งของโลกนั้นนอกจากการมีแสนยานุภาพทางการทหารที่ยิ่งใหญ่เกรียงไกรแล้วยังต้องมีเงินทองอย่างมหาศาลที่จะใช้จ่ายทางการทหารซึ่งแพงเหลือเกินซึ่งจักรวรรดิ

อังกฤษมีแหล่งมาของความมั่งคั่งหลักอยู่ 3 แหล่งคือ

  1. สินค้าอุตสาหกรรม ซึ่งมีเสื้อผ้า อาวุธยุทโธปกรณ์ เครื่องจักรกลซึ่งอังกฤษเป็นประเทศที่เกิดการปฏิวัติอุตสาหกรรมเป็นแห่งแรกของโลก
  2. ค้าทาส ตลอดช่วงเวลา 4 ศตวรรษชาวยุโรปขนทาสแอฟริกันลงเรือเดินทางข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกไปยังดินแดนโลกใหม่เพราะความต้องการแรงงานทาสในการปลูกอ้อยผลิตน้ำตาลของหมู่เกาะอินเดียตะวันตก ในทะเลแคริเบียนพุ่งสูงอย่างต่อเนื่อง

    ช่วงปี 2206 -2313 มีทาสแอฟริกันถูกขนไปในเรืออังกฤษประมาณ 6,700 คนต่อปี อังกฤษกลายเป็นชาติที่เป็นผู้นำเบอร์ 1 ในการค้าทาส นั่นคือทุกๆ ปีที่มีชาวแอฟริกันถูกขนข้ามแอตแลนติกไปยังดินแดนโลกใหม่ปีละประมาณ 80,000 คน อังกฤษมีส่วนแบ่งเกินครึ่ง คืออยู่ที่ราว ๆ ปีละ 42,000 คนกำไรจากธุรกิจทาสได้มีส่วนช่วยให้การปฏิวัติอุตสาหกรรมในอังกฤษทำได้สำเร็จและทะเลแคริบเบียนก็ได้กลายเป็นศูนย์กลางของจักรวรรดิอังกฤษโพ้นทะเล

    เมื่อสิ้นศตวรรษที่ 18 เงินทองจากไร่อ้อยในหมู่เกาะอินเดียตะวันตกได้ไหลสู่อังกฤษประเทศแม่ 4 ล้านปอนด์สเตอร์ลิง (มูลค่าเงินขณะนั้น) มากกว่าดินแดนอื่นๆ ในโลกรวมกันที่ได้แค่ 1 ล้านปอนด์ ธนาคารต่างๆ ที่ได้ค่าธรรมเนียมและดอกเบี้ยจากผู้ที่มาขอกู้เงินทำธุรกิจค้าทาส คนทั่วไปได้งานทำมากขึ้นในอังกฤษ

    โรงงานผลิตสินค้าขายหรือนำไปแลกกับทาสแอฟริกันมากขึ้นในเมืองเบอร์มิงแฮมมีผู้ผลิตปืนถึง 400 เจ้าขายปืนได้ปีละราว 10,000 กระบอกให้กับพ่อค้าทาส
  3. การค้าฝิ่น เกิดจากการค้าระหว่างอังกฤษกับจีนโดยอังกฤษซื้อชาจากจีนเป็นปริมาณมโหฬาร แต่จีนแทบไม่ซื้ออะไรจากอังกฤษเลยทำให้อังกฤษขาดดดุลการค้าต่อจีนอย่างมหาศาลจนอังกฤษบังคับคนอินเดียในอาณานิคมของอังกฤษปลูกฝิ่น แล้วอังกฤษก็เอามาขายในจีนได้กำไรอย่างมหาศาลทำให้จีนต้องปราบปรามและห้ามคนจีนสูบฝิ่นทำให้เกิดสงครามฝิ่นขึ้นจีนแพ้ก็ยอมทำสนธิสัญญานานกิงในปี 2385 ขึ้น โดยยอมให้อังกฤษนำฝิ่นมาขายในเมืองจีนได้นั่นเอง

    ในขณะที่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ได้กวาดล้างการค้าฝิ่นครั้งใหญ่ ทั้งปราบปรามผู้เสพติดอย่างหนัก ริบได้ฝิ่น รวมเป็นน้ำหนักฝิ่นถึง 222,120 กิโลกรัม คิดเป็นราคาขายในขณะนั้นคือ 18,590,000 บาท มากกว่างบประมาณแผ่นดินหลายเท่า โปรดให้รวมนำมาเผาทำลายที่สนามไชย หน้าพระที่นั่งสุทไธสวรรย์ เมื่อวันที่ 18 เมษายน 2382 และทรงนำกลักฝิ่นจำนวนมากมาหลอมแล้วหล่อเป็นพระพุทธรูปประดิษฐาน ในวัดสุทัศน์เทพวราราม คือ "พระกลักฝิ่น" ในปัจจุบัน

เซอร์ จอห์น เบาว์ริง นักการทูตบริเตนHulton Archive/Getty Imagesเซอร์ จอห์น เบาว์ริง นักการทูตบริเตน

ทีนี้สนธิสัญญานานกิงนี่แหละเป็นต้นแบบของของสนธิสัญญาเบาว์ริงที่ทางการอังกฤษส่ง เซอร์ จอห์น เบาว์ริง ส่งมาเจรจาทำสนธิสัญญาการค้ากับสยามโดยลงนามใช้บังคับเมื่อวันที่ 18 เมษายน 2398 ในต้นรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 เพราะพระองค์ทรงตระหนักถึงอันตรายจากการที่ไทยไม่ยอมประนีประนอมกับชาติตะวันตก โดยทรงดูจากจีนและพม่าที่ขัดขืนจนเกิดสงครามกับอังกฤษจนต้องพ่ายแพ้อย่างไม่มีทางสู้จึงได้ทรงประกาศเจตนาว่ายินดีจะทำสนธิสัญญาฉบับใหม่กับอังกฤษจึงเป็นที่มาของสนธิสัญญาเบาว์ริงที่มีเนื้อหาสาระที่สำคัญ ดังนี้ คือ

ตัวแทน 3 คนจากราชวงศ์ชิง และกองทัพบริเตน พบปะกันบนเรือรบหลวง เอชเอ็มเอส คอร์นวอลิส ริมแม่น้ำแยงซี เพื่อลงนามสนธิสัญญานานกิง เพื่อยุติสงครามฝิ่นครั้งแรก เมื่อวันที่ 29 ส.ค. 2375Hulton Archive/Getty Images

  1. คนในบังคับอังกฤษจะอยู่ภายใต้อำนาจควบคุมของกงสุลอังกฤษ นับเป็นครั้งแรกที่สยามมอบสิทธิสภาพนอกอาณาเขตแก่ประชากรต่างด้าว
  2. คนในบังคับอังกฤษได้รับสิทธิในการค้าขายอย่างเสรีในเมืองท่าทุกแห่งของสยาม และคนในบังคับอังกฤษยังได้รับอนุญาตให้เดินทางได้อย่างเสรีในสยามโดยมีหนังสือที่ได้รับการรับรองจากกงสุล
  3. ยกเลิกค่าธรรมเนียมปากเรือและกำหนดอัตราภาษีขาเข้าและขาออกชัดเจนอัตราภาษีขาเข้าของสินค้าทุกชนิดกำหนดไว้ที่ 3% ยกเว้นฝิ่นที่ไม่ต้องเสียภาษี แต่ต้องขายให้กับเจ้าภาษี ส่วนเงินทองและข้าวของเครื่องใช้ของพ่อค้าไม่ต้องเสียภาษีเช่นกัน
  4. สินค้าส่งออกให้มีการเก็บภาษีชั้นเดียวไม่ซ้ำซ้อนคือ ภาษีส่งออก โดยพ่อค้าอังกฤษได้รับอนุญาตให้ซื้อขายโดยตรงได้กับเอกชนสยามโดยไม่มีผู้ใดผู้หนึ่งขัดขวาง
  5. รัฐบาลสยามสงวนสิทธิ์ในการห้ามส่งออกข้าว เกลือ และปลา เมื่อสินค้าดังกล่าวมีทีท่าว่าจะขาดแคลนในประเทศ

ครับ! จุดสำคัญที่แท้จริงของสนธิสัญญาเบาว์ริงก็คือการยอมให้อังกฤษเอาฝิ่นมาขายในสยามได้โดยไม่ต้องเสียภาษีนั่นเอง

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook