ศบค.ปัดปกปิดยอดผู้ป่วยโควิด-19 ยืนยันคนที่มีอาการหนักกว่าพันยังเอาอยู่

ศบค.ปัดปกปิดยอดผู้ป่วยโควิด-19 ยืนยันคนที่มีอาการหนักกว่าพันยังเอาอยู่

ศบค.ปัดปกปิดยอดผู้ป่วยโควิด-19 ยืนยันคนที่มีอาการหนักกว่าพันยังเอาอยู่
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ศบค. ปัดปกปิดจำนวนผู้ป่วย กำชับทุกจังหวัดรายงานกรมควบคุมโรคเข้มงวด รับป่วยหนักกว่า 1 พันคน ระบบสาธารณสุขยังเอาอยู่

แพทย์หญิง อภิสมัย ศรีรังสรรค์ ผู้ช่วยโฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์ การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (โควิด-19)  ( ศบค. ) แถลงถึงกระแสข่าวว่ามีการปกปิดตัวเลขหรือไม่ หรือมีการตรวจน้อยหรือไม่ ยืนยันว่าขณะนี้มีการตรวจเชิงรุกไปแล้วต่อวันกว่าหมื่นคน ซึ่งหลังจากนี้ จะเพิ่มกำลังในการตรวจมากขึ้น เพื่อให้ประชาชนได้รับการตรวจที่มากขึ้นและเร็วขึ้น พร้อมฝากไปยังแต่ละจังหวัดว่าให้รายงานตัวเลขเข้ามายังกรมควบคุมโรคด้วยแม้จะไม่พบผู้ติดเชื้อ

ส่วนตัวเลขผู้ติดเชื้อรอบใหม่ที่ยังดูว่าสูงถึง 50,000 กว่าคนนั้น ในจำนวนนี้ 20,000 กว่าคน กลับบ้านแล้ว ซึ่งขณะนี้มีผู้ป่วยอาการหนัก ประมาณ 1,000 กว่าคน ถือว่าระบบสาธารณสุขยังสามารถรับได้ แต่ถ้ามากไปกว่านี้ อาจมีจำนวนอุปกรณ์ที่ไม่เพียงพอ ถ้าลดยอดผู้ติดเชื้อใหม่ได้ระบบสาธารณสุขก็จะดียิ่งขึ้น จึงขอความร่วมมือทุกองค์กรให้พนักงานทำงานที่บ้าน จะเป็นส่วนช่วยได้มากที่สุด

ศบค.ทบทวนสถานการณ์โควิด กทม.-ปริมณฑล ยอดป่วยพุ่ง สั่งคัดกรองทุกเขต ค้นหาผู้ติดเชื้อให้ได้มากที่สุด

แพทย์หญิง อภิสมัย ศรีรังสรรค์ ผู้ช่วยโฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์ การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 ( โควิด-19 )  (ศบค.) แถลงถึงมติที่ประชุมของศบค. ว่า มีการทบทวนสถานการณ์ของ กทม.และปริมณฑลในวันที่ 8 พฤษภาคม 2564 ที่ได้มีการรายงานตัวเลขรวม 2,419 ราย หากนับแยก กทม.และปริมณฑล ตัวเลขจะอยู่ที่ 1,641 ราย ถือว่าเกินครึ่งหนึ่งของจำนวนผู้ติดเชื้อทั้งหมด และยังมีตัวเลขที่พุ่งสูงขึ้นทุกวันมากกว่าการรายงานผู้ติดเชื้อของต่างจังหวัด ซึ่งนโยบายขณะนี้คือการลงพื้นที่ตรวจคัดกรองเชิงรุกในแต่ละเขตพื้นที่ของกรุงเทพมหานคร เพื่อค้นหาผู้ติดเชื้อให้ได้มากที่สุด โดยขอความร่วมมือประชาชนในพื้นที่ให้ออกมาตรวจหาเชื้อให้ได้มากที่สุด  ซึ่งได้ลงพื้นที่ตรวจคัดกรองในทุกเขต ไม่ใช่เพียงแค่เขตที่มีผู้ติดเชื้อจำนวนมากเท่านั้น ขณะที่มี4เขตที่มีการตรวจเชื้อแต่ยังไม่พบการติดเชื้อ คือ เขตตลิ่งชัน , เขตประเวศ , เขตคลองสาน และเขตสวนหลวง

สำหรับการบริหารจัดการเตียงผู้ติดเชื้อ ได้มีการคัดแยกผู้ป่วยตามระดับความรุนแรง ของอาการ ซึ่งในกรณีผู้ป่วยอาการหนักหรือผู้ป่วยสีแดงจะต้องมีเตียงรอรับทันที ส่วนผู้ป่วยระดับเหลืองและเขียวเข้ม คือผู้ป่วยที่ไม่ค่อยมีอาการ ได้มีการเตรียมเตียงเพิ่มไว้ที่โรงพยาบาลบุษราคัม อาคารชาเลนเจอร์ เมืองทองธานี

ศบค.เคาะระดมฉีดวัคซีน กทม.สัปดาห์หน้า 50% ของวัคซีนที่ได้เดือน พ.ค. 2.5 ล้านโดส ขอความร่วมมือผู้ป่วยอย่าปฏิเสธการรักษา

แพทย์หญิง อภิสมัย ศรีรังสรรค์ ผู้ช่วยโฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์ การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (โควิด-19)  (ศบค.)
แถลงถึงผลสรุปการประชุม คณะที่ปรึกษาด้านสาธารณสุขในศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด 19 ว่า 1.ให้ทุกหน่วยงานทางกรุงเทพฯปริมณฑลภาครัฐและเอกชนบูรณาการในเรื่องของระบบสารสนเทศเดียวกัน เพื่อแบ่งปันข้อมูลโดยมีประชาชนเป็นศูนย์กลาง 2.เร่งรัดการดำเนินการการคัดกรองเชิงรุกโดยขยายและใช้ศักยภาพทุกหน่วยงานในกรุงเทพฯทั้งภาคสาธารณสุขและมหาวิทยาลัย 3.ตามที่ประชุมรับทราบสถานการณ์เตียงสำหรับผู้ป่วย covid 19 โดยสำนักการแพทย์กรมการแพทย์และขยายเตียงให้กับผู้ป่วยให้เพียงพอกับผู้ป่วยโดยเฉพาะผู้ป่วยวิกฤต

สำหรับ การจัดหาวัคซีนมีมาถึงประเทศไทยมากขึ้น โดยในเดือน พฤษภาคมนี้ จะได้รับวัคซีน 2.5 ล้านโดส ซึ่งภายในสัปดาห์หน้าจะระดมฉีดให้กับประชาชนภายในกรุงเทพฯ ครึ่งหนึ่งของจำนวนวัคซีนที่ได้รับ

ส่วนศูนย์พักคอยรอการส่งต่อจะมีผู้ป่วยที่พบในพื้นที่แออัด ที่จำเป็นจะต้องแยกผู้ป่วยออกจากคนปกติโดยเร็วโดยส่วนใหญ่จะเป็นโรงเรียนหรือวัดซึ่งจะมีการจัดอาหารหรือถุงยังชีพไว้ให้ พร้อมขอขอบคุณทุกภาคส่วนที่จัดรถฉุกเฉินที่ไม่ใช่รถโรงพยาบาลเพื่อจัดส่งผู้ป่วยไปยังโรงพยาบาลได้อย่างปลอดภัย ซึ่งอัตรารอเตียงตอนนี้ ไม่มีผู้ป่วยตกค้าง ทำให้สถานการณ์การรอเตียงคลี่คลายไปมาก ขณะที่ยังมีผู้ป่วยบางรายยังปฏิเสธเข้ารับเตียงการรักษาอยู่จึงขอความร่วมมือผู้ป่วยที่ติดเชื้อ เข้ารับการรักษาทันทีเมื่อมีการติดต่อกลับจากโรงพยาบาล

 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook