รู้จัก "จูนทีนธ์" วันหยุดทางการใหม่เอี่ยมของสหรัฐอเมริกา

รู้จัก "จูนทีนธ์" วันหยุดทางการใหม่เอี่ยมของสหรัฐอเมริกา

รู้จัก "จูนทีนธ์" วันหยุดทางการใหม่เอี่ยมของสหรัฐอเมริกา
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เรื่องวันหยุดรัฐการของประเทศสหรัฐอเมริกานั้นจัดเป็นเรื่องใหญ่ กล่าวคือต้องออกเป็นกฎหมายที่ผ่านรัฐสภาและประธานาธิบดีต้องลงนามรับรองอย่างเป็นทางการด้วยซึ่งรวมทั้งปีวันหยุดรัฐการของประเทศสหรัฐอเมริกามีเพียง 10 วันเท่านั้น คือ 

  1. วันขึ้นปีใหม่ (วันที่ 1 มกราคมของทุกปี) 
  2. วันคล้ายวันเกิดมาร์ติน ลูเธอร์ คิง จูเนียร์ (วันจันทร์ที่ 3 ของเดือนมกราคม) 
  3. วันคล้ายวันเกิดจอร์จ วอชิงตัน (วันจันทร์ที่ 3 ของเดือนกุมภาพันธ์) 
  4. วันรำลึกผู้อุทิศชีวิตในสงคราม (วันจันทร์สุดท้ายของเดือนพฤษภาคม) 
  5. วันประกาศอิสรภาพ (วันที่ 4 กรกฎาคมของทุกปี)  
  6. วันแรงงาน (วันจันทร์แรกของเดือนกันยายน) 
  7. วันโคลัมบัส (วันจันทร์ที่ 2 ของเดือนตุลาคม) 
  8. วันทหารผ่านศึก (วันที่ 11 พฤศจิกายนของทุกปี) 
  9. วันขอบคุณพระเจ้า (วันพฤหัสบดีที่ 4 ของเดือนพฤศจิกายน) 
  10. วันคริสต์มาส (วันที่ 25 ธันวาคมของทุกปี) 

เดิมทีนั้นประเทศสหรัฐอเมริกามีวันหยุดรัฐการอยู่เพียงปีละ 4 วันเท่านั้นคือวันขึ้นปีใหม่ วันประกาศอิสรภาพ วันขอบคุณพระเจ้าและวันคริสต์มาสเท่านั้น

จนกระทั่งปี 2422 จึงเพิ่มวันคล้ายวันเกิด จอร์จ วอชิงตัน ขึ้นมา และในปี 2431 กับปี 2437 ก็เพิ่มวันรำลึกผู้อุทิศชีวิตในสงครามกับวันแรงงานเข้ามาอีก และในปี 2497 จึงเพิ่มวันทหารผ่านศึกมาเป็นวันหยุดรัฐการเป็นวันที่ 9    

สำหรับวันหยุดรัฐการวันที่ 10 นั้น เมื่อปี 2526 ประธานาธิบดีเรแกนได้ลงนามในกฎหมายที่ผ่านรัฐสภามาแล้วประกาศให้วันคล้ายวันเกิดมาร์ติน ลูเธอร์ คิง จูเนียร์ เป็นวันหยุดรัฐการเมื่อ 38 ปีมาแล้ว 

ปรากฏว่าในวันพุธที่ 16 มิถุนายนที่ผ่านมานี้รัฐสภาสหรัฐอเมริกาได้ผ่านกฎหมายรับรองวันหยุดรัฐการใหม่ของสหรัฐอเมริกา คือวันที่ 19 มิถุนายนของทุกปี กำหนดให้เป็น "วันประกาศอิสรภาพแห่งชาติ จูนทีนธ์" 

ประธานาธิบดีโจ ไบเดนลงนามในวันพฤหัสบดีที่ 17 มิถุนายนและมีผลใช้บังคับทันทีในวันรุ่งขึ้นคือวันที่ 18 มิถุนายน จึงเป็นวันหยุดรัฐการใหม่เอี่ยมของสหรัฐอเมริกาเป็นครั้งแรกเนื่องจากวันที่ 19 มิถุนายนเป็นวันเสาร์ซึ่งเป็นวันหยุดอยู่แล้วจึงชดเชยให้บรรดาข้ารัฐการได้มีวันหยุดก่อนล่วงหน้า 1 วัน 

Drew Angerer/Getty Images

วันจูนทีนธ์ (Juneteenth) คือวันที่สหรัฐอเมริกา ร่วมฉลองการสิ้นสุดความเป็นทาสของชาวแอฟริกันอเมริกันที่ดำเนินมานานถึง 155 ปีก่อนจะยุติได้หลังสงครามกลางเมือง 

การประกาศเลิกทาสในสหรัฐอเมริกาที่เรียกชื่อเป็นทางการว่า Emancipation Proclamation เป็นคำประกาศที่ 95 ของประธานาธิบดีและคำสั่งของฝ่ายบริหารที่ออกโดยประธานาธิบดี อับราฮัม ลินคอล์น ที่มีผลบังคับใช้ในรัฐต่างๆ ทางภาคใต้ของประเทศเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2406 

แต่ในเวลานั้นสงครามกลางเมืองยังคงรบกันอยู่อีก 2 ปีจนกระทั่งทางฝ่ายใต้ผู้เป็นเจ้าของทาสได้ยอมแพ้ เมื่อกองทหารของฝ่ายเหนือคือสหรัฐอเมริกาผู้ชนะได้ เดินทางไปถึงเมืองแกลวิสตัน ของรัฐเทกซัส และประกาศยืนยันการเลิกทาสและปลดปล่อยทาสร่วม 250,000 คนในมลรัฐเทกซัส ให้เป็นอิสระ  

ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา บรรดาอดีตทาสทั้งหลายจะร่วมกันฉลองอิสรภาพในวันที่ 19 มิถุนายน ที่เมืองกัลเวสตัน ก่อนที่จะมีผู้รวมคำเรียกเดือนมิถุนายน หรือ June ในภาษาอังกฤษ และวันที่ 19 ซึ่งคือคำว่า Nineteeth เข้าด้วยกัน กลายมาเป็นวัน จูนทีนธ์ อันเป็นที่มาของวันหยุดรัฐการที่ใหม่เอี่ยมเป็นปีแรกของประเทศสหรัฐอเมริกา 

เนื่องจากสหรัฐอเมริกามีการปกครองแบบสหพันธรัฐดังนั้นบรรดามลรัฐต่างๆ ทั้ง 50 มลรัฐย่อมมีสิทธิที่จะกำหนดวันหยุดรัฐการในมลรัฐของตนเองได้ ดังนั้นวันหยุดรัฐการของมลรัฐต่างๆ ก็แตกต่างกันไปแต่ส่วนใหญ่แล้วก็มักจะใช้วันหยุดรัฐการของประเทศทั้ง 11 วันนี้เป็นหลักโดยเพิ่มเติมหรือตัดทอนดัดแปลงไปบ้างไม่มากนัก

 ภูมิใจเสรีภาพ: นางสาวคียา แทรมเมลล์ ศิลปินด้านการแสดง โบกธงอิสรภาพคนผิวดำระหว่างการเดินขบวนมิลเลียนแมน เมื่อวันที่ 19 มิ.ย. 2563 ในเมืองชิคาโก รัฐอิลลินอยส์ ในวันจูนทีนธ์ ที่รำลึกเหตุการณ์เมื่อวันที่ 19 มิ.ย. 2408 เมื่อกองทัพสหภาพ (ฝ่ายเหนือ) อ่านคำสั่งที่เมืองแกลวิสตัน รัฐเทกซัส ให้ปลดปล่อยทาสทั้งหมดในรัฐเทกซัสตามกฎหมายส่วนกลางของสหรัฐNatasha Moustache/Getty Imagesภูมิใจเสรีภาพ: นางสาวคียา แทรมเมลล์ ศิลปินด้านการแสดง โบกธงอิสรภาพคนผิวดำระหว่างการเดินขบวนมิลเลียนแมน เมื่อวันที่ 19 มิ.ย. 2563 ในเมืองชิคาโก รัฐอิลลินอยส์ ในวันจูนทีนธ์ ที่รำลึกเหตุการณ์เมื่อวันที่ 19 มิ.ย. 2408 เมื่อกองทัพสหภาพ (ฝ่ายเหนือ) อ่านคำสั่งที่เมืองแกลวิสตัน รัฐเทกซัส ให้ปลดปล่อยทาสทั้งหมดในรัฐเทกซัสตามกฎหมายส่วนกลางของสหรัฐ
 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook