สธ.แจง ประสิทธิภาพซิโนแวค 90% ได้มาจากการใช้งานจริง ไม่ได้คำนวณจากค่าตัวเลข

สธ.แจง ประสิทธิภาพซิโนแวค 90% ได้มาจากการใช้งานจริง ไม่ได้คำนวณจากค่าตัวเลข

สธ.แจง ประสิทธิภาพซิโนแวค 90% ได้มาจากการใช้งานจริง ไม่ได้คำนวณจากค่าตัวเลข
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

สธ. แจงวิธีหาประสิทธิภาพหลังฉีดซีโนแวค ครบ 2 เข็ม ป้องกันโควิดได้ 90%

นพ.ทวีทรัพย์ ศิรประภาศิริ นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ กรมควบคุมโรค เปิดเผยถึงสถานการณ์วัคซีนของประเทศไทย ว่า ผลการฉีดวัคซีนโควิด 19 จำนวน 3 ยี่ห้อ ได้แก่ ซีโนแวค แอสตรเซเนกา และซีโนฟาร์ม ในประเทศไทยช่วงวันที่ 28 ก.พ.- 22 ก.ค.ที่ผ่านมา ได้ดำเนินการฉีดไปแล้วทั้งสิ้น15,388,939 โดส โดยจะดำเนินการฉีดวัคซีนให้กับกลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่ม7โรคเสี่ยงและกลุ่มโรคประจำตัวก่อนเป็นกลุ่มแรง เพื่อลดความเสี่ยงในการเสียชีวิตหากได้รับเชื้อ ส่วนกลุ่มประชาชนทั่วไป 18-59 ปี ไม่มีโรคประจำตัวจะเป็นกลุ่มถัดไปที่จะได้รับการฉีดวัคซีน

นพ.ทวีทรัพย์ ได้กล่าวถึงประเด็นการศึกษาหาประสิทธิผลของวัคซีนซีโนแวคที่มีข้อมูลปรากฏออกมาตามสื่อต่างๆว่าการฉีดวัคซีนซีโนแวคสามารป้องกันโควิดได้ 90% นั้น ขอชี้แจงว่า การวัดประสิทธิผลของวัคซีนไม่ได้วัดที่ภูมิต้านทาน หรือการวัดค่าที่ตัวเลขต่างๆ แต่เป็นการวัดและทดสอบจากใช้งานจริงว่าวัคซีนสามารถมีประสิทธิผลป้องกันโรคได้จริงหรือ ซึ่งในช่วงที่มีการระบาดของสายพันธุ์อัลฟ่า ใน 3 พื้นที่ คือ ภูเก็ต สมุทรสาครและเชียงราย จากการคำนวณอัตราผู้สัมผัสเสี่ยงสูงที่ได้รับการการฉีดวัคซีนซีโนเวคครบ 2 เข็ม อย่างน้อย 14 วัน เปรียบเทียบกับผู้ที่ไม่ได้รับการฉีดวัคซีน พบว่าใน 3 พื้นที่ ผู้ที่ฉีดวัคซีนมีประสิทธิผลใกล้เคียงกันประมาณ 90% ส่วนประสิทธิผลในการป้องกันสายพันธุ์เดลตาที่กำลังระบาดอยู่ในขณะนี้ กำลังอยู่ในขั้นตอนการศึกษาและเก็บรวบรวมข้อมูล

ทั้งนี้ เป้าหมายหลักของการฉีดวัคซีน คือ ลดอัตราการป่วยรุนแรงหรือเสียชีวิตจากการติดเชื้อ, ปกป้องบุคลากรทางการแพทย์ให้สามารถดำเนินการด้านสุขภาพต่อไปได้และเป้าหมายการกลับไปใช้ชีวิตหลังติดเชื้อ แต่อย่างไรก็ตามวัคซีนถือเป็นเพียงเครื่องมือป้องกันการติดเชื้อ และป้องกันการป่วยรุนแรง แต่วัคซีนไม่ได้ช่วยป้องกันโรคได้ 100 % ดังนั้นต้องอาศัยการปฏิบัติตัวอย่างถูกต้องของประชาชนเพื่อควบคุมและลดการแพร่ระบาดเชื้อ

 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook